พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ
ประวัติพระพิฆเนศในประเทศไทย
จากหนังสือตรีเทวปกรณ์
คติการนับถือพระพิฆเนศ น่าจะเข้ามาถึงประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 โดยเข้ามาทางภาคใต้ก่อน แต่เทวาลัยของพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในเมืองไทยปรากฏที่ แหล่งโบราณคดีเขาคา จ.นครศรีธรรมราช มีอายุในพุทธศตวรรษที่ 12 เทวรูปพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดก็พบทางภาคใต้ของไทย และกำหนดอายุได้ในช่วงเวลานั้น เชื่อว่าบรรพชนในภาคใต้ของเราในยุคดังกล่าว คงจะนับถึอพระพิฆเนศตามแบบอินเดีย คือเป็นเทพผู้ขจัดอุปสรรค

เทวรูปพระพิฆเนศ เริ่มแพร่หลายมากขึ้นเมื่อถึงสมัยที่เมืองไทยเรา ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากขอม เทวรูปเหล่านี้พบในปราสาทหินหลายแห่ง ทั้งที่เป็นเทวรูปลอยองค์สำหรับบูชาภายในปราสาท และอยู่บนทับหลังหรือหน้าบันในลักษณะภาพแกะสลักนูนสูง คติการนับถือพระพิฆเนศในเมืองไทยเราช่วงนี้ น่าจะเป็นแบบเขมร คือ เป็นเทพองค์สำคัญในไศวะนิกาย คือจะต้องมีประจำในเทวสถานของลัทธินี้ รวมทั้งการบูชาในฐานะเทพแห่งอุปสรรค และเทพแห่งการประพันธ์ด้วย เพราะเท่าที่พบเทวลักษณะก็เป็นแบบเขมร คือประทับนั่งชันพระชานุข้างหนึ่งแบบมหาราชลีลาสนะ หรือประทับนั่งขัดสมาธิราบ ถ้าประทับยืนก็ประทับยืนตรงๆ ไม่ใช่ยืนเอียงพระโสณีหรือตริภังค์แบบอินเดีย

อย่างไรก็ตาม เทวรูปเหล่านี้ล้วนแต่สร้างอย่างงดงามมาก และอาจจะมีทั้งที่สร้างด้วยหินและสำริด หรือแม้แต่ทองคำ แต่ที่ตกทอดมาถึงยุคของเราส่วนมากมีแต่เป็นหินเท่านั้น ในจำนวนนี้องค์ที่เด่น ๆ ได้แก่พระคเณศทรงเครื่องจาก ปราสาทหินเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ ส่วนพระพิฆเนศจากปราสาทที่งามที่สุด อย่างเช่นปราสาทหินพนมรุ้งนั้น ปัจจุบันเราได้พบแต่ที่เป็นขนาดเล็ก

เทวลักษณะที่ประทับยืนตรงของพระพิฆเณศแบบขอม ได้ต่อเนื่องมาถึงพระพิฆเนศแบบเชียงแสนและสุโขทัยด้วย ปัจจุบันเรามีตัวอย่างของเทวรูปพระพิฆเนศแบบเชียงแสน ที่ทำอย่างงดงามหลายองค์ แต่ที่งามกว่าคือแบบสุโขทัย ซึ่งเท่าที่รู้จักกันเป็นสมบัติของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และมีการถ่ายแบบทำเป็นเทวรูปสำหรับบูชาทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 269 ซึ่งปัจจุบันก็หาดูยากแล้ว

ในสมัยสุโขทัย การนับถือพระพิฆเนศก็คงเป็นไปตามแบบทีได้อิทธิพลจากขอม แต่ก็น่าจะเสื่อมคลายลงมาก เพราะได้มีการให้ความสำคัญต่อศาสนาพุทธยิ่งกว่าศาสนาฮินดูที่นับถือกันมาแต่เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท ที่ศาสนาพุทธเฟื่องฟูมาก

ล่วงถึง สมัยกรุงศรีอยุธยา ศาสนาฮินดูได้กลับมามีความสำคัญในราชสำนักอีกครั้ง มีหลักฐานว่าได้มีการหล่อพระพิฆเนศ และ พระเทวกรรม คือพระพิฆเนศในฐานะที่เป็นครูช้างขึ้นมาหลายองค์ แต่หลักฐานที่ตกมาถึงเรามีแต่เทวรูปสำริดขนาดเล็กเพียงไม่กี่องค์ และเทวรูปสำริดขนาดใหญ่ที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า รวมทั้งเทวรูปศิลาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชวังจันทร์เกษม เป็นต้น พระพิฆเนศได้กลับมามีบทบาทสำคัญในราชสำนักกรุงศรีอยุธยาก็เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยการคชกรรมนี่เอง และก็ยังคงมีความสำคัญตามคติที่ได้รับจากขอม คือเป็นเทพผู้ขจัดอุปสรรค เป็นเทพที่จะต้องบูชาก่อนอื่นในพิธีกรรมสำคัญ และเป็นเทพแห่งการประพันธ์คัมภีร์ต่าง ๆ

ส่วนคติที่นับถือพระพิฆเนศวรเป็น เทพแห่งศิลปวิทยา อันเป็นการแทนที่คติเดิมของพระสรัสวดีที่มีมาแต่อินเดียนี้ ยังไม่ปรากฏว่ามีในเมืองไทย จนกระทั่งผ่านพ้นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพราะใน 4 รัชกาลแรกภาพเขียนพระพิฆเนศในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม และ วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือแม้แต่ภาพแกะสลักบนประตูไม้ที่ วัดเพลงวิปัสสนา บางกอกน้อย ยังเป็นเรื่องจากนารายณ์สิบปางอยู่ ภาพเหล่านี้คงมีที่มาจากตัวอย่างพระเทวรูปในตำราภาพเทวรูปและเทวดานพเคราะห์ ซึ่งเป็นแบบอย่างภาพลายเส้นรูปเทพเจ้าแทบทุกพระองค์ สำหรับช่างเขียนใช้เป็นต้นแบบ ตำราภาพดังกล่าวสร้างในรัชกาลที่ 3-4 และคงมีมาแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ที่เป็นหลักฐานทางเอกสาร โดยเฉพาะในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังเป็นคติเก่าที่มีอยู่ในเรื่อนารายณ์สิบปางเช่นกัน และองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนั้น โดยส่วนพระองค์ก็ดูจะทรงนับถือพระพิฆเนศอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อเสด็จประพาสชวาก็ทรงนำพระพิฆเนศขนาดใหญ่ของที่นั่นมาด้วย (ปัจจุบันยังจัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร)


image from photobucket.com

นอกจากนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงมีพระราชประวัติที่เกี่ยวข้องกับพระพิฆเณศวรอีก คือเมื่อครั้งยังทรงกรม ก็ได้พระนามกรมครั้งแรกเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ และยังได้รับพระราชทานเทวรูปพระพิฆเนศ มาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย แต่พระองค์ท่านก็มิได้ทรงนับถือพระพิฆเนศในด้านศิลปวิทยาแต่อย่างใด เพราในรัชกาลของพระองค์นั้น ยังมีพระสรัสวดีเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาอยู่ ตามที่นับถือกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

จึงต้องนับว่า การนับถือพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งศิลปวิทยา เป็นการริเริ่มโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง เนื่องจากพระองค์ท่านโปรดการประพันธ์กวีนิพนธ์ และศิลปศาสตร์ จึงทรงยกย่องพระพิฆเนศเป็นพิเศษ โดยทรงนำคุณสมบัติที่เป็นของพระสุรัสวดีมาแต่เดิมมารวมเข้าเป็นของพระพิฆเนศด้วย พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวาลัยพระพิฆเนศสำหรับกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม และทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับพระพิฆเนศไว้สำหรับการนาฏศิลป์โดยเฉพาะ เมื่อทรงตั้งวรรณคดีสโมสร ก็พระราชทานเทวรูปพระพิฆเนศเป็นตราประจำสถาบันนั้น เมื่อกรมศิลปากรเกิดขึ้นและรับตราดังกล่าวมาเป็นตราประจำกรมต่อมา พระพิฆเนศจึงกลายมาเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาของไทยเราโดยสมบูรณ์


การนับถือพระพิฆเนศในทางศิลปะของไทยเรา จึงเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดในเมืองไทยโดยเฉพาะ ขณะที่คติเดิมที่ได้จากอินเดียและขอมนั้นก็ยังมีอยู่บ้าง คือยังคงเป็นเทพแห่งอุปสรรค และปัจจุบัน เมื่อเราได้คุ้นเคยกับวัฒนธรรมภารตะมากขื้น จึงมีการหันกลับไปบูชาพระพิฆเนศตามแบบฮินดูกันอีกครั้งหนึ่ง แต่คติการนับถือพระองค์ในฐานะครูช้างตามแบบอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น เวลานี้ได้ลดความสำคัญไปมากแล้ว

ปัจจุบันนี้ ในเมืองไทยเรามีความนิยมประดิษฐ์เทวรูปพระพิฆเนศสำหรับบูชาโดยวัดและองค์กรต่างๆ เป็นจำนวนมากตั้งแต่ภายหลัง พ.ศ 2529 เป็นต้นมาและมาแพร่หลายอย่างแท้จริงก็เมื่อภายหลัง เหตุการณ์เทวรูปดื่มนม เมื่อปลายปี 2538 เทวรูปพระพิฆเนศขนาดบูชาของไทย มักเป็นแบบที่ประทับนั่งบนฐานธรรมดา และฐานหัวกะโหลก และมีอีกแบบหนึ่งที่ค่อนข้างหายากคือประทับบนบัลลังก์เมฆ ซึ่งเป็นตราของกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากร เทวรูปองค์พระพิฆเนศที่หน้า ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน (เซ็นทรัลเวิลด์) ก็ประทับบนบัลลังก์เมฆนี้เหมือนกัน และมักจะมี 4 พระกร ถืองา วัชระ ปาศะ และผลมะนาวหรือขนมโมทกะ โดยใช้วัสดุคือ ดินเผา เซรามิค หิน หินอ่อน แก้ว สำริด และทองเหลือง บางทีมีซิลิกาและเรซินด้วย ซึ่งแม้เป็นวัสดุทางวิทยาศาสตร์ ก็ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน

ส่วนที่เป็นเทวรูปขนาดเล็กหรือวัตถุมงคลนั้น จะมีรูปแบบที่หลากหลายมาก และออกให้บูชาโดยองค์กรและวัดทั่วทุกภาคในเมืองไทย โดยเฉพาะวัดในกรุงเทพฯ จะจัดสร้างออกมามากที่สุด


นอกจากนี้ ยังมีคตินิยมในการตั้งศาลพระพิฆเนศขึ้นตามสถานที่ราชการ และบริษัทห้างร้านของเอกชนขึ้นมากมายหลายแห่งทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย จังหวัดไกลที่สุดที่มีการประดิษฐานเทวรูปพระพิฆเนศเท่าที่ผู้เขียนจำได้ในภาคเหนือก็คือ จ.เชียงราย แต่ที่มีเป็นจำนวนมากคือ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีอยู่ตามวัดต่างๆ เช่น วัดท่าสต๋อย วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดชัยศรีภูมิ และวัดนันทาราม ทั้งหมดอยู่ในเขต อ.เมือง ส่วนจังหวัดที่ไกลที่สุดทางภาคใต้คือ จ.สงขลา ที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพอสมควร ส่วนที่มีมากที่สุดคือภาคกลางและภาคใต้ตอนบน เฉพาะในกรุงเทพฯ ก็มีแล้วไม่น้อยกว่า 50 แห่ง ส่วนมากจะมีรูปแบบที่น่าสนใจกว่าในต่างจังหวัด ถึงกระนั้นพระพิฆเนศองค์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ คือที่ วิทยาลัยนาฏศิลป์ (วัดพระแก้ววังหน้า) ก็ยังไม่เท่ากับองค์ที่ วัดเขาเข้เทพนิมิตวนาราม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีความสูงกว่า ๒๐ เมตร นับว่าเป็นพระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนี้

เทวรูปพระพิฆเนศของโบราณ ซึ่งเคยประดิษฐานไว้ ณ เทวสถานสมัยต่างๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ปัจจุบันจะหาชมได้ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในจังหวัดต่า ๆ ตลอดจนร้านขายของโบราณก็ยังมีอยู่อีกมาก

ที่จะเว้นกล่าวถึงมิได้ คือในวงการตำหนักทรงที่แอบอ้างว่าเป็นตำหนักของพระพิฆเนศนั้น มีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 3 ของจำนวนตำหนักทั้งหมดกว่า 200,000 ตำหนักเลยทีเดียว!!!

ขอขอบคุณ : หนังสือตรีเทวปกรณ์ (พระคเณศ พระลักษมี พระสรัสวดี)
เขียนโดย : กิตติ วัฒนะมหาตม์ / ราคาเล่มละ 160 บาท
สำนักพิมพ์: สร้างสรรค์บุ๊คส์ / หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป


ตรีเทวปกรณ์ หนังสือที่จะนำเสนอเรื่องราวของเทพเจ้าทั้งสามพระองค์ คือ พระพิฆเนศ พระลักษมี พระสรัสวดี ในหลายแง่มุมให้เราได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของกำเนิด สาระสำคัญของแต่ละพระองค์ พิธีกรรมบวงสรวงอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เราได้เข้าใจความหมายที่แท้จริง จะได้บูชาได้ถูกต้องตามประสงค์ ไม่ผิดเพี้ยนไปเพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจ... http://www.aromamodaka.com
โฆษณาหนังสือฟรี!!! สำหรับสำนักพิมพ์ที่ต้องการโปรโมทหนังสือเกี่ยวกับเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ติดต่อได้ที่ siamganesh@gmail.com

คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา