พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู ประเทศอินเดีย พระอิศวร ท้าวมหาพรหม พระวิษณุ พระนารายณ์ พระอุมาเทวี

บูชาดาวนพเคราะห์ที่วัดญวนบางโพ

(บทความจาก วารสารเมืองโบราณ)
เรื่อง/ภาพ : วิชญดา ทองแดง








เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปยังดาวดึงส์ พระโพธิสัตว์หม่านทู่เทิ๊กเหล่ย ได้อาราธนาให้พระองค์ชี้แจงถึงบารมีและบุญญาภิหารของดาวนพเคราะห์ที่ส่อง ทั่วถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก

พระพุทธองค์จึงได้ยกเอาพระนามของเทพเจ้าประจำดาวนพเคราะห์ทั้ง ๙ ดวง มาแสดง คือ ไท่เยือง (พระอาทิตย์) ไท่อ็อม (พระจันทร์) หมอกดึ๊ก (พระอังคาร) หวาดึ๊ก (พระพุธ) โถดึ๊ก (พระพฤหัสบดี) ไท่บัด (พระศุกร์) ถีดึ๊ก (พระเสาร์) ราโห้ว (พระราหู) เก้โด่ (พระเกตุ) และตรัสเสริมว่า

“ในอดีตกาลสมัยนั้น ตั้งแต่เทพเจ้าทั้ง ๙ พระองค์ยังไม่ได้เข้าสู่ปรินิพพาน ได้ทรงแผ่บารมีเมตตากรุณาแก่สรรพสัตว์คือ เราและท่านทั้งหลายที่อยู่ในโลกนี้ ครั้นปรินิพพานไปแล้วจึงไปจุติเป็นเทพยดาประจำดาวนพเคราะห์หมดทั้ง ๙ พระองค์

“อันสรรพสัตว์ที่เกิดอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าท่านท้าวพระยามหากษัตริย์หรือสมณชีพราหมณ์ คนทั้งหลายหรือสัตว์ที่มีดวงจิตและวิญญาณแล้ว ตกอยู่ในอำนาจปกครองของดวงดาวนพเคราะห์ทั้ง ๙ พระองค์นี้ทั้งสิ้น”






เช้าตรู่วันหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน แทนที่จะนอนหลับอย่างมีความสุขในเช้าวันอาทิตย์เฉกเช่นที่เคยเป็นมา ฉันกลับพบตัวเองเหยียบคันเร่งเกินการณ์ปกติ เพื่อไปให้ถึงวัดญวนบางโพตามที่ได้รับแจ้งว่า การตักบาตรจะมีขึ้นในเวลา ๐๗.๐๐ น.

บนถนนประชาราษฎร์ สาย ๑ ในเช้าวันหยุดมีรถราบางตา ความ ทรงจำเมื่อหลายปีก่อนฟื้นกลับมาลางๆ ถึงซอยที่มีโรงเลื่อยตั้งอยู่ตลอดซอย ป้ายบอกซอยสามเสน ๒๓ คือหมุดหมายให้เลี้ยวรถเข้าไปตามเสียงเพลงแปร่งหู ด้วยโสตประสาทแยกแยะไม่ออกว่าเป็นพากย์ญวนหรือจีน ลมเย็นๆ จากแม่น้ำเจ้าพระยาพัดมาสัมผัสผิวเมื่อจอดรถลงที่ข้างกำแพงวัด

หากสิ่งที่อยู่ตรงหน้า กลับอยู่เหนือความคาดหมาย …ภายในขอบขัณฑสีมาแห่งนี้แทบร้างไร้สิ่งมีชีวิต

ก่อนสติจะสั่งให้ทำอะไรต่อไป สิ่งที่ผุดพรายขึ้นมาในสมองก็คือเรื่องราวของประวัติศาสตร์ญวนที่เล่าขานและ อ้างอิงกันอยู่อย่างแพร่หลายในเมืองไทย เกือบทุกฉบับกล่าวเหมือนๆ กันถึงกำเนิดชาวญวนรุ่นแรกที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารว่า องเชียงซุนนำราษฎรอพยพเข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี

ก่อนจะก้าวเท้าเดินเข้าไปไต่ถามสามเณรที่เห็นเดินจีวรปลิวอยู่ไกลๆ ฉันก็ได้ยินประวัติศาสตร์ที่เคยอ่านแว่วขึ้นมาในใจว่า

สมัยแรกๆ นั้น มีวัดญวน ๒ วัด ตั้งอยู่ในย่านบ้านหม้อสองวัด คือ วัดกามโล่ตื่อ ซึ่งต่อมาพระจีนได้เข้าจำพรรษาจนกลายเป็นวัดจีน และรู้จักกันในชื่อปัจจุบันว่า วัดทิพยวารี และวัดโหยคั้นตื่อ อยู่ที่บ้านญวน หลังวังบูรพาภิรมย์ พอจะตัดถนนพาหุรัด รัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ผาติกรรมมาที่ถนนแปลงนาม หรือในชื่อที่รู้จักกันดีในปัจจุบันว่า วัดมงคลสมาคม

ส่วนอีก ๒ วัดในรุ่นถัดมา คือวัดคั่นคั้นเยิงตื่อหรือวัดญวนตลาดน้อยวัดหนึ่ง และวัดกว๋างเพิ๊อกตื่อ หรือวัดอนัมนิกายาราม …

ก็ตรงหน้านี่ไงล่ะ วัดกว๋างเพิ๊อกตื่อ วัดอนัมนิกายาราม หรือวัดญวนบางโพ

โชคดีที่ฉันจำกำหนดวันบูชาดาวฯ ผิด เลยแวะเข้ามาที่นี่ก่อนวันงานหนึ่งวัด และโชคดีเป็นสองชั้นเมื่อได้พบกับท่านเจ้าคุณพอดี เลยได้ฟัง “บรรยายสรุป” ก่อนวันงานจริง

พระคณานัมธรรมวิธานาจารย์ ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายขวา หรือท่านเจ้าคุณสว่าง ว่างเยียน เจ้าอาวาสวัดญวนบางโพ ได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า พิธี บูชาดาวนพเคราะห์นั้นมีกำหนดในช่วงหลังตรุษจีน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บุคคลทั่วไป แต่ระยะหลังมานี้ เลื่อนเลยมาตามความสะดวกของศรัทธาวัด ซึ่งมักจะกำหนดให้เป็นวันอาทิตย์ที่พุทธศาสนิกชนว่างเว้นจากหน้าที่การงาน

พิธีบูชาดาวนพเคราะห์ของวัดญวนบางโพ เริ่มจากการตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งในราวเจ็ดโมงเช้า ต่อจากนั้นจะมีพิธีกวนข้าวกระยาทิพย์ เพื่อเตรียมไว้บูชาดาวนพเคราะห์ทั้ง ๙ ในตอนค่ำ การกวนข้าวทิพย์นี้พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนตร์ พุทธศาสนิกชนควรนุ่งขาวห่มขาวเข้าร่วมพิธี



นอกจากเต๊นท์ผ้าใบสองสามหลังที่กางอยู่หน้าโบสถ์และเสียงเพลงผ่านเครื่องขยายเสียงที่บ่งบอกว่า “วันนี้มีงาน” แล้ว วัดญวนบางโพวันนี้ก็ดูไม่แตกต่างไปจากเมื่อวานซืนนัก พอแดดสายเริ่มจับตามผนังโบสถ์สะท้อนกระเบื้องเงินแวววาว นาฬิกาที่ข้อมือบอกเวลาใกล้แปดนาฬิกา รถบัสคันใหญ่ก็แล่นเข้ามาในวัด สามเณรเด็กๆ ราวยี่สิบสามสิบคนทยอยลงจากรถมาฉันอาหารเช้าที่ทางวัดจัดเตรียมไว้…ลองเตร่ไปดูที่รถบัสก็เห็นป้ายทะเบียนว่าเป็นกาญจนบุรี ก็ จำได้ทันทีว่านอกจากในเขตกรุงเทพฯ ที่มีวัดญวนอยู่ ๗ วัดแล้ว รองลงมาคือจังหวัดกาญจน์ มีวัดญวนอยู่ ๒ วัด และหนึ่งในสองนี้เคยเป็นวัดเดิมของท่านเจ้าคุณด้วย

ระหว่างเดินวนไปวนมารอบๆ วัด ก็เริ่มใจชื้นขึ้นเมื่อเห็นผู้คนหอบข้าวสารอาหารแห้งทยอยกันเข้ามา

เข็มนาฬิกาชี้บอกว่าเลยเวลาแปดโมงเช้าไปไม่นานนัก ท่านเจ้าคุณได้เป็นหัวหน้าแถวนำพระและเณรเด็กเล็กๆ ที่ลงจากรถบัสและฉันข้าวอยู่เมื่อครู่เดินลงจากโบสถ์มารับบาตรสาธุชน ก็พระเณรในวัดนี้มีเพียงสองสามรูป เมื่อมีงานอย่างนี้ก็ต้อง “ออเดอร์” พระญวนจากวัดพันธมิตรมาช่วยรับบาตร ฉันรีบเข้าประจำตำแหน่งหน้าโต๊ะวางอาหารแห้งที่เตรียมไว้ใส่บาตรกับเขาด้วย

ไม่นานนักพิธีกรรมช่วงนี้ก็สิ้นสุดลง....



ก่อนที่จะทันถามว่า แล้วจะมีพิธีใดต่อ เสียงโฆษกวัดก็ดังขึ้นที่เต็นท์กวนข้าวทิพย์หน้าโบสถ์ ที่นี่มีเก้าอี้ตั้งอยู่ราวห้าหกสิบตัว ในเต็นท์มีเตาถ่านตั้งหม้อนึ่งข้าวที่กำลังได้ที่ ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง

พระเณรที่รับบาตรเมื่อสักครู่มาพร้อมกันที่เต๊นท์นี้ บวกกับญาติโยมในชุดขาวอีกราวสี่ห้าสิบคน พิธีกวนข้าวทิพย์กำลังจะเริ่ม

ฉันเห็นกะละมังสีขาวใบใหญ่สองใบแยกกันอยู่คนละโต๊ะ เมื่อพระสงฆ์โยงสายสิญจน์และเริ่มสวดมนตร์ ตัวแทนญาติโยมประจำดาวต่างๆ ที่ตระเตรียมกันไว้ล่วงหน้าก็มาร่วมกันกวนข้าวทิพย์โดยเอาไม้พายผสมข้าวกับ กะทิในกะละมัง แล้วตักใส่ถ้วยเล็กๆ ที่ใช้เป็นพิมพ์ก่อนกดลงในพาน

เมื่อผู้แทนศรัทธาดาวทั้งเก้าถือพานใส่ข้าวพร้อมทุกคนแล้ว ก็ตั้งแถวรออยู่ พระญวนรูปหนึ่งประพรมน้ำมนตร์ให้ จากนั้นก็พากันเดินแถวกันไปยังวิหารเจ้าแม่กวนอิมเพื่อถวายข้าวต่อหน้ารูป ปั้นเทพเจ้าประจำดาวนพเคราะห์…เป็นอันว่าเสร็จพิธี

พิธีกรรมช่วงนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วและดูขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์ แม้บางช่วงบางตอนออกจะดูจับจังหวะไม่ค่อยถูกไปบ้าง แต่ก็ลุล่วงลงด้วยด

ดาวนพเคราะห์ ที่ชาวญวนเคารพนับถือถึงขั้นมีพิธีบูชาทุกปีนี้ จะมีเรื่องราวความเป็นมาอย่างไรนั้น สำนวนหนึ่งคงต้องลองไปค้นหาดูจากคัมภีร์นพเคราะห์ ซึ่งองสุตบทบวร ปลัดซ้าย เจ้าอาวาสวัดถาวรวราราม จังหวัดกาญจนบุรี ได้แปลและเรียบเรียงขึ้นเป็นบทความในหนังสือคราฉลองวัดอุภัยราชบำรุงเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ มีใจความอยู่ว่า

“เมื่อบูชาก็ให้จัดรูปเทพยดาประจำดาวนพเคราะห์กับเครื่องดอกไม้ธูปเทียนทำการ สักการบูชาอยู่เป็นนิจ จะก่อให้เกิดความเจริญซึ่งยศถาบรรดาศักดิ์ ให้อายุยืนยาวนาน จะได้ผลานิสงส์มากหาที่ประมาณมิได้”

ผลานิสงส์และสรรพคุณของการบูชาดาวนพเคราะห์นั้น มีแจกแจงไว้ในคัมภีร์นพเคราะห์อย่างละเอียด ว่าด้วยขั้นตอน ช่วงเวลา และจำนวนจบของบทสวด เพื่ออ้อนวอนขอให้เกิดสิ่งดีงาม หรือขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายแต่ละประเภท อาทิ ผู้สวดหรือสร้างคัมภีร์อุทิศเป็นทาน สามารถอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติโยมที่ล่วงลับ ผู้ไม่มีบุตรก็ขอให้มีบุตร หากมีครรภ์อยู่ก็ขอให้ได้บุตรดี เลี้ยงง่าย แข็งแรง ขอให้ผลิตผลการเกษตรเจริญงอกงาม หรือปลุกขวัญให้ทหารยามออกศึกสงครามก็จะได้ชัย แม้เมื่อเคราะห์ร้าย ถูกภูติผีเข้าสิง มีโรคภัยมาเบียดเบียน เช่นตาแดง ร้อนใน มีเหตุให้ต้องติดคุก ฝันร้าย หรือพบเจอลางร้าย ลางสังหรณ์ต่างๆ กระทั่งเกิดจลาจลในบ้านเมือง

การสวดบูชาดาวนพเคราะห์นี้จะว่าไปแล้วก็เหมือนคาถาครอบจักรวาลเลยทีเดียว ในตอนท้ายของคัมภีร์ถึงกับมีพุทธวาจาว่า “ส่วนบารมีของดาวนพเคราะห์นี้มีอำนาจอภินิหารมาก ถ้าจะพรรณนาให้ละเอียดในเวลานี้ก็ไม่หมด”

กระนั้นพระพุทธองค์ก็ได้แสดงพระคาถาไว้ว่า “อ๊านฮักนา ด้างนา กรากราเด้ มาฮาเด้ ทั๊กกรา ทักกราเด๊ ฮักบั๊ดนาเหย่ ตาบ้าฮา” ซึ่งผู้เลื่อมใสใช้คาถาบทนี้สวดบูชากันอย่างแพร่หลาย

เมื่อพิธีช่วงเช้าและช่วงสายเสร็จสิ้น ก็ว่างเว้นไปให้พักผ่อน รอรัตติกาลมาเยือน

ในช่วงหัวค่ำ จะมีพุทธศาสนิกชนมาวัดอีกรอบ เมื่อมาถึงก็จะตรวจสอบดวงชะตาตนเองจาก “ตารางเทียนสะเดาะเคราะห์” ที่ทางวัดเตรียมไว้ให้ ตารางเทียนนี้จะกำหนดตามปฏิทินจีน ผู้ร่วมพิธีต้องตรวจดวงชะตาตามปีนักกษัตรที่เกิดจากตารางระบุจำนวนเทียน ทางวัดได้จัดเตรียมเทียนให้โดยขอบริจาคเล็กน้อย

เมื่อได้เวลา พระสงฆ์ก็จะนำสวดมนตร์และเวียนเทียนรอบโบสถ์สามรอบ ก่อนนำเทียนไปปักในกระบะที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ในหน้าโบสถ์ เป็นอันเสร็จพิธี

แม้ว่าในช่วงค่ำ จะมีผู้เข้าร่วมพิธีมากกว่าช่วงเช้าถึงสองสามเท่าตัว แต่หากเทียบกับพิธีบูชาสะเดาะห์เคราะห์กับวัดโดยทั่วไปแล้ว ก็นับว่าบางตา

ท่านเจ้าคุณเล่าว่าวัดญวนมีพระน้อย ทั้งประเทศมีอยู่เพียงราว ๑๖๐ รูป ในจำนวนสิบกว่าวัดที่สังกัดอนัมนิกายเท่านั้น ซึ่งนับเป็นดัชนีชี้วัดถึงความนิยมและการดำรงอยู่ของวัดในอนัมนิกายได้ดี



ขอขอบพระคุณ : วารสารเมืองโบราณ



บทความจาก - อ.ส.ท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ศูนย์รวมโบราณวัตถุ วัฒนธรรมภาคตะวันออก


- หุ่นละครเล็ก ฟื้นฟูชีวิตหุ่นละครเล็ก ณ โรงละครโจหลุยส์

- อรรธนารีศวร ศิลปะชิ้นเยี่ยม
ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี


- พระพิฆเนศทรงช้างเอราวัณ ที่บ้าน ๑๐๐ อัน ๑๐๐๐ อย่าง
ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่


- พระอิศวร มหาเทพนับพันชื่อ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


- โขนชักรอก สมบัติศิลป์ที่เกือบจะสูญสิ้น

บทความจาก - วารสารเมืองโบราณ

- มหาภารตะในอารยธรรมเขมร
และภาพสลักที่ระเบียงคด ปราสาทนครวัด


- สุริยัน จันทรา และราหู ที่ปราสาทพนมรุ้ง
ข้อสังเกตทางโบราณดาราศาสตร์


- ตาควาย - ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ

- มัณฑละเชิงเขาหลวง :
หนึ่งในฐานเศรษฐกิจของรัฐตามพรลิงค์


- ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ กับความเป็นสากล

- บูชาดาวนพเคราะห์ที่ "วัดญวนบางโพ"

- ชุมชนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดทองนาปรัง
ย่านบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี


- วัดวิษณุ - พลิกปูมวัดวิษณุ สมาคมฮินดูธรรมสภา
ศูนย์กลางชุมชนชาวอุตตรประเทศในกรุงเทพมหานคร


- วัดวิษณุ - นวราตรี : ทุรคาบูชา ณ วัดวิษณุ ยานนาวา

- เขายักษ์ - แหล่งภาพสลักพระศิวะกลางป่าตาพระยา

- เทวาลัยไม้สมัยคุปตะที่หิมาจัลประเทศ

- ศาลาแก้วกู่ : มหัศจรรย์สถานแห่งหนองคาย


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.