พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ
"สวัสดิกะ" สัญลักษณ์แห่งความเจริญ
เครื่องหมายเฉพาะแห่งองค์พระพิฆเนศ
***สงวนลิขสิทธิ์บทความ***

เครื่องหมายสวัสดิกะ (สวัสติกะ) อันเป็นรูปกากบาทปลายหัก คนส่วนใหญ่เมื่อเห็นแล้วก็นึกถึงพรรคนาซีและฮิตเลอร์ ซึ่งแท้จริงแล้วเครื่องหมายสวัสดิกะนี้ เป็นเครื่องหมายอันเป็นมงคลสูงยิ่ง ที่น้อยคนนักจะรู้จัก เป็นส่วนหนึ่งในเทพปกรณัมที่ควรศึกษา และถูกบันทึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ มาอย่างยาวนาน

สวัสดิกะ หรือ สวัสติกะ คือ เครื่องหมายแห่งพลวัตร การเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง ความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นเครื่องหมายแห่งการหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต

เครื่องหมายสวัสดิกะ ได้ปรากฏในงานศิลปะมาหลายยุคสมัย โดยเฉพาะในสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาฮินดู ศาสนาเชน แม้แต่ศาสนาพุทธ หลายๆประเทศในแถบเอเชีย กรีก ยุโรป และอเมริกันพื้นเมือง จะใช้เครื่องหมายสวัสดิกะเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสาร โดยเฉพาะการใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาและเทพเจ้า

ในภาพเขียนพระพิฆเนศ ของอินเดียส่วนใหญ่ จะมีเครื่องหมายสวัสดิกะ วาดไว้ให้อยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพเขียนนั้นๆ เช่น กลางหน้าผาก บริเวณงวง ฝ่าพระหัตถ์ หรือปรากฏในส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่บนพระวรกายของพระพิฆเณศ เช่น บนหนังสือ ฝาผนัง ที่ประทับนั่ง ฯลฯ เมื่อชาวฮินดูพบเห็นสัญลักษณ์สวัสติกะนี้ ก็จะให้ความเคารพ เฉกเช่นเดียวกับ เครื่องหมายโอม

ความหมายของสวัสดิกะในแรกเริ่มนั้น จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ความอุดมสมบูรณ์ เป็นเครื่องหมายแทนตัวของเทพเจ้า แต่ภายหลังก็ถูกเปลี่ยนแนวคิดไปโดยสิ้นเชิง เมื่อมันกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของพรรคนาซีในเยอรมนี ที่ก่อตั้งโดยฮิตเลอร์ ทำให้คนทั่วไปมองว่าเครื่องหมายนี้เป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการ และนำไปสู่ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับความหมายของสวัสดิกะ ในประเทศอื่นๆ อีกด้วย

เครื่องหมายสวัสติกะของพรรคนาซี เครื่องหมายสวัสติกะขององค์พระพิฆเณศ

ความแตกต่างของเครื่องหมายพรรคนาซี และเครื่องหมายพระพิฆเนศ

เครื่องหมายสวัสติกะของพรรคนาซี จะเอียง 45 องศา และไม่มีจุด
ส่วนเครื่องหมายสวัสติกะของพระพิฆเนศ จะตั้งตรง ไม่เอียง และมีจุด 4 จุดอยู่ระหว่างแขนทั้ง 4

สำหรับแขนที่หักออกนั้น จะหักไปทางซ้ายหรือขวา ก็แล้วแต่จิตรกรจะวาดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะมีแขนหักชี้ไปทางขวา (ชี้ไปตามเข็มนาฬิกา)

สัญลักษณ์สวัสติกะ ถือเป็นเครื่องหมายที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งของโลก มีมาไม่ต่ำกว่า 5 พันปี บางตำราจะให้ความหมายว่า 4 แฉกของสัญลักษณ์สวัสดิกะนั้นหมายถึงพระกรทั้ง 4 ของพระพิฆเนศ หรือหมายถึงคัมภีร์พระเวททั้ง 4 เล่ม ส่วนในตำราของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็ว่า 4 แฉกของสวัสดิกะนั้นหมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งนิยมใช้คู่กับเครื่องหมาย หยิน-หยาง ตลอดจนการเป็นตัวแทนของธรรมจักร และอีกมากมายหลายตำรา ที่กล่าวถึงสวัสดิกะในแง่ของเครื่องหมายอันเป็นมงคล

เครื่องหมายสวัสติกะ สามารถนำมาใช้แก้ฮวงจุ้ยได้ โดยการแขวนหรือประดับไว้ในส่วนใดส่วนหนึ่งของที่พักอาศัย เช่น ประตู ผนัง โต๊ะทำงาน ฯลฯ เพราะโบราณเชื่อว่าจะช่วยสลายพลังร้าย และทำให้ธาตุต่างๆในบ้านเรือนเกิดการหมุนเวียนอย่างสมดุล นำมาซึ่งความสวัสดิมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย

ฉะนั้น การประดับเครื่องหมายสวัสติกะไว้ในบ้านเรือน หรือบริษัทห้างร้าน ควบคู่กับเครื่องหมายโอมอันศักดิ์สิทธิ์ ย่อมจะนำมาซึ่งความโชคดี ความสำเร็จและชัยชนะต่อศัตรู


***สงวนลิขสิทธิ์บทความ***
การนำเนื้อหานี้ไปใช้ที่อื่น กรุณาอ้างอิงหรือขอบคุณเว็บไซต์สยามคเณศ
และทำลิงก์กลับมาที่ http://www.siamganesh.com


สวัสดิกะในวัดแห่งหนึ่งของเกาหลี
image from : heathenworld.com

จี้เพชรสวัสดิกะ เครื่องประดับอันทรงคุณค่า
image from : omved.com

สวัสดิกะในศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
image from : fraughtwithperil.com & Photobucket.com

ศิลปะกระเบื้อง Mosaic เครื่องหมายสวัสดิกะใน ปารีส ฝรั่งเศส
image from : wikipedia

บทความเรื่อง "สวัสดิกะ" จากหนังสือพิมพ์มติชน

คำ ""สวัสดิกะ"" ท่านว่ามาจาก สุ + อัสดิ + กะ แปลประมาณว่า ""ความสุขสวัสดีจงมี"" คล้ายๆ กับคำว่า สวัสดี หรือโสตถิ ที่มีใช้กันมาเนิ่นนานมากนับพันๆ ปีที่อินเดียโบราณ รวมทั้งในประเทศไทยเราด้วยโดยมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลายหลัก

เช่น หลักที่ 23 วัดศาลามีชัย เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อพุทธศตวรรษที่ 14 ที่ขึ้นต้นว่า "โสตถิ" อันเป็นที่มาของคำว่า "สวัสดี" ที่ใช้กันเป็นปกติทั่วทั้งประเทศไทยทุกวันนี้ แต่ก็มีปัญหาที่ไม่ค่อยพบคำว่าสวัสดิกะในพระคัมภีร์ซึ่งมักมีแต่คำสวัสดี ท่านว่ามีพบคำสวัสดิกะในมหากาพย์รามายานะ รวมทั้ง มหาภารตะ และอื่นๆ ซึ่งมีการให้นิยามความหมายโดยสรุปว่าคือ "เครื่องหมายแห่งมงคล พร โชค ลาภ และอายุยืน"

ส่วน "รูปสัญลักษณ์กากบาทต่อหางตั้งฉากในทางเดียวกันทั้ง 4" ไม่ว่าจะตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกานั้น พบได้ทั่วทั้งโลกโบราณบนชิ้นส่วนภาชนะหรือเครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่ง ไม่ว่าจะที่ซูซาในเปอร์เซียโบราณ ฮารัปปาและโมเหนโชดาโรในปากีสถานโบราณ และสุเมอเรียในดินแดนเมโสโปเตเมียโบราณ รวมทั้งในดินแดนกรีก โรมันและอียิปต์โบราณด้วย

แม้ในโลกปัจจุบันนี้ก็พบมีการใช้ตราสวัสติกะอย่างแพร่หลายทั้งในดินแดนแห่งศาสนาฮินดูทั้งที่อินเดียและอินโดนีเซีย และดินแดนแห่งพุทธศาสนาทั่วทั้งเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนทิเบต จีน เกาหลีและญี่ปุ่น

มีการตีความและตั้งสมมติฐานกันอย่างมากมายทั้ง เรื่องนิยามความหมายและที่มาของรูปสัญลักษณ์ นับได้เป็นร้อยพันสมมติฐาน โดยจำนวนมากเวียนวนอยู่กับ "ความหมายแห่งการเคลื่อนไหวหรือพลวัตที่หมุนวน โดยมีศูนย์กลางเป็นหนึ่งกับอีกสี่สาแหรก ซึ่งมีการตีความตามหมวด 4 ได้มากมาย" ไม่ว่าจะเป็น 4 ทิศ 4 เทพ 4 โลก 4 วรรณะ 4 อาศรม เช่น เป็นสัญลักษณ์ของการรวมกันของทั้ง 4 วรรณะ

ที่ยืนยันนั้น มีการใช้อย่างแพร่หลายใน 3 ศาสนาสำคัญคือ "ฮินดู พุทธ และ เชน" โดยใน ศาสนาฮินดู นั้นเชื่อถึงขนาดว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งชนเผ่าอารยันที่เก่า แก่ที่สุด หมายถึง พระพรหม พระวิษณุ และ พระศิวะ ผู้สร้าง ผู้ปกปักรักษาและผู้ทำลายล้าง ในขณะที่ของ ศาสนาพุทธ นอกจากพบใช้ในจารึกที่นิยมนำมาขึ้นต้นหรือตอนจบแล้ว ยังพบใช้เป็นหนึ่งใน 65 ตรามงคลที่ฝ่าพระพุทธบาท ส่วนศาสนาเชนนั้นยกให้เป็นสัญลักษณ์สำคัญอันดับแรกใน 8 สัญลักษณ์มงคล

ที่ถูกใช้ครั้งใหญ่และเป็นที่จดจำกันทั้งโลกนั้นเกิดขึ้นเมื่อร้อยปีที่แล้ว (ตั้งแต่ พ.ศ.2450) เมื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพลพรรค นาซี เยอรมัน เรียนรู้ว่าสัญลักษณ์นี้มีความหมายดี แล้วตีความหมายว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งบรรพชนเยอรมันแห่งเผ่าพันธุ์อารยันที่ เข้ามาจากอินเดียพร้อมลัทธิถือชั้นวรรณะ แล้วยึดมั่นการฟื้นคืนเผ่าพันธุ์พร้อมกับการกำจัดและชำระความแปดเปื้อนจน เกิดเป็นมหาโศลกโศกนาฏกรรมสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยฮิตเลอร์ใช้ "ดวงตราสวัสดิกะนี้เป็นสัญลักษณ์พันธกิจแห่งชัยชนะของเผ่าพันธุ์อารยันผู้ริเริ่มและสร้างสรรค์" ซึ่งลงเอยอย่างที่รู้กันทั่วทั้งโลกว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น

จนเมื่อปี 2548 ได้มีการเสนอต่อที่ประชุมประชาคมยุโรปให้มีการห้ามใช้ตราสวัสดิกะนี้ทั่ว ทั้งยุโรปในฐานะซากเดนของนาซีที่ไม่พึงประสงค์ ร้อนถึงพี่น้องชาวฮินดูทั้งหลายต้องออกมาร้องทุกข์ว่า ดวงตรานี้ที่แท้แล้วเป็นตรามงคลแห่งสันติที่แพร่หลายมาแล้วกว่า 5,000 ปี

"กลับมาที่เขาสามแก้ว นอกจากพบลูกปัดหินผลึกคริสตัลใสรูปสวัสดิกะแล้ว ยังพบลูกปัดรังผึ้งเขียนลายสวัสดิกะอีกชิ้นหนึ่ง รวมทั้งหลักฐานอื่นร่วมสมัยประมาณพุทธศตวรรษต้นๆ ซึ่งเวลาสอดคล้องพอดีกับข้อสรุปข้างต้นจนอาจตั้งเป็นอีกสมมติฐานได้ว่า รอยสวัสดิกะนี้ที่มีหมายถึงสวัสดีและสันติภาพนี้ อาจเข้ามาจากอินเดียเมื่อสมัยนั้นซึ่งยังไม่มีนิยามอย่างนาซีแน่นอน"



---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา

ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ

สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.