พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ รูปภาพ งานศิลปะ พระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ

"ระบบอาศรม"
ขอขอบพระคุณ : บทความจาก www.human.cmu.ac.th
บรรยายโดย อาจารย์พีรพล อิศรภักดี

ระบบอาศรม (อ่านว่า อา-ศะ-ระ-มะ) หรือ Asramas: The 4 stages of life เป็นคำอธิบายของพราหมณ์เกี่ยวกับขั้นตอนของชีวิตว่ามี 4 ส่วนหรือ 4 วัย อันได้แก่
1. วัยพรหมจาริน (Brahmacharin) หรือ วัยเรียน, วัยพรหมจรรย์
2. วัยคฤหัสถ์ (Grihastha) หรือ วัยครองเรือน
3. วัยวานปรัสต์ (Vanaprastha) หรือ วัยอยู่ป่า
4. วัยสันยาสิน หรือ สันยาสี (Sannyasin) หรือ วัยแสวงหาความสงบ
คำอธิบายเรื่องอาศรมทั้งสี่นี้ ในที่นี้จะขอยกคำอธิบายที่ปรากฏในปาฐกถาเรื่อง "หินทูธรรม" โดยนายตรีโลกนาถ ปาวา นายกสมาคมฮินดูสมาช เมื่อปี พ.ศ. 2507 ณ ห้องประชุมวิทยาการศาสนา กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ในหนังสือ อารยธรรมอินเดีย โดยคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 2515 หน้า 75-78 ดังนี้

1. พรหมจรยาอาศรม (วัยพรหมจารีย์) ในช่วงเวลา 25 ปีแรกนี้มนุษย์มีหน้าที่รับแต่การศึกษาไปตามวรรณะของตนเท่านั้น ผู้ที่เข้ามาอยู่ในอาศรมนี้เรียกว่า พรหมจารี เข้ามาอยู่โดยประกอบพิธีที่เรียกว่า อปนยนสนสการ ซึ่งจัดทำแก่เด็กในขณะมีวัยได้ 8 ขวบ ถึง 12 ขวบ กล่าวคือ ส่วนมากเด็กที่มีลักษณะพราหมณ์จะจัดทำพิธีนี้ในขณะ 8 ขวบกันแทบทั้งนั้น เด็กที่มีลักษณะวรรณะกษัตริย์ก็จะจัดทำพิธีนี้ล่าลงไป คือในประมาณอายุได้ 11-12 ขวบ ส่วนเด็กที่มีลักษณะตรงกับวรรณะไวศยะ ก็จะกระทำพิธีนี้ในอายุประมาณ 12 ขวบหรือล่าไปกว่านั้นเล็กน้อย แต่สำหรับเด็กที่มีลักษณะตรงกับวรรณะศูทรแล้ว ไม่มีการกำหนดอายุ เพราะพวกนี้ต้องรับการศึกษาทางภาคปฏิบัติมากกว่าวิชาหนังสือ บรรดาพรหมจารีจะต้องอยู่ในพรหมจรยาศรมจนถึงอายุ 25 ปีเต็มในระหว่างนั้น ผู้เป็นพรหมจารีจะต้องปฏิบัติตนดังต่อไปนี้

ก. เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ทุกประการ และต้องถือว่าตนเองนั้นคือทาสของครู

ข. ออกไปรับภิกษา (เหมือน ๆ กับพระภิกษุในพระพุทธศาสนาออกไปรับบิณฑบาตทุก ๆ เช้า) และสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้รับมาก็ต้องนำมาให้อาจารย์เสียก่อน ถ้าอาจารย์อนุญาตให้รับประทานได้แล้วจึงจะเริ่มรับประทานได้ ถ้าไม่อนุญาตก็รับประทานไม่ได้

ค. สงวนหรือรักษาน้ำกามอันเป็นสาระสำคัญของร่างกายไว้ให้จงดี ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
(1) รับประทานแต่อาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ผัก ผลไม้ ข้าวสาร ข้าวสาลี นมวัว ฯลฯ ในทำนองตรงข้ามก็ไม่ควรจะรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรือเป็นเหตุให้ไปเพิ่มความร้อนขึ้นในร่างกาย เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ สุรายาเสพย์ติด ทุกชนิด ฯลฯ
(2) ก. ไม่ควรอ่านหนังสือเรื่องเพศและเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ
ข. ไม่ควรดูละครหรือภาพยนตร์ที่มีการแสดงเรื่องเพศ และเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ
ค. ไม่ควรแต่งตัวมากเกินไป(เดิมนั้นถึงกับไม่ให้ตัดผมและไม่ให้โกนหนวดเสียด้วยซ้ำไป)
(3) ควรอยู่เสียให้ห่างไกลจากเพศตรงข้าม เช่น
ก. ไม่ควรมีจินตนาการถึงเพศตรงข้าม
ข. ไม่ควรสนทนากันด้วยเรื่องเพศ
ค. ไม่ควรเล่นสนุกกับเพศตรงข้าม
ง. ไม่ควรสนทนากับเพศตรงข้ามโดยไม่มีผู้อื่นอยู่ด้วย
จ. ไม่ควรมองหน้าเพศตรงข้าม
ฉ. ไม่ควรมีความปรารถนาแต่ประการใดเกี่ยวกับเรื่องเพศ
ช. ไม่ควรพยายามพบปะหรือคบหาสมาคมกับเพศตรงข้าม
ซ. ไม่ควรมีการร่วมเพศ
(4) ต้องไม่ทำประการใดประการหนึ่งที่จะให้น้ำกามมีอันเป็นหลั่งล้นเสียหายไป
(5) ควรตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียนอยู่เสมอและควรพำนักอยู่ที่อาศรมของอาจารย์ โดยตลอด

ผู้เป็นพรหมจารีพึงปฏิบัติดังกล่าวมานี้อย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีเวลาว่างเว้น จนกระทั่งเมื่ออายุถึง 25 ปีเต็มหรือใกล้เคียงกัน สำเร็จการศึกษาแล้วจึงขออนุญาตจากอาจารย์ ทำพิธี "เกศานตสนสการ" คือ ตัดผมที่ไว้ยาวออกให้หมด แล้วก็ถวายสิ่งของแก่ครูอาจารย์เป็นค่าของสิ่งที่เรียกกันว่า "คุรุทกษิณา" เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็เป็นอันเรียบร้อย ร่ำลาครูอาจารย์กลับบ้านได้


2. คฤหสถาศรม (วัยคฤหัสถ์) เป็นช่วงระยะที่ 2 แห่งชีวิต กล่าวคือเมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาแล้ว ก็มาช่วยแบ่งเบาภาระจากบิดามารดาด้วยการช่วยทำงาน และจัดแจงพิธีสมรสเพื่อรักษาวงศ์ตระกูลให้มั่นคงยืนนานต่อไป กับทั้งย่างก้าวเข้าสู่ความเป็น คฤหัสถ์ หรือ ฆราวาส แล้วเข้าจัดการงานไปตามวรรณะของตนเพื่อการครองชีพต่อไปเป็นระยะเวลานานอีกประมาณ 25 ปี (คือต่อจากพรหมจรยาศรมไปจนถึงอายุประมาณ 50 ปี) หรือจนถึงบุตรธิดาของตนเป็นคฤหัสถ์ไปแล้ว ดังนั้นท่านจะเห็นได้ว่าเขาทำทุกสิ่งทุกอย่างโดยมีวรรณะและธรรมะเป็นหลักอย่างแน่นแฟ้น


3. วานปรสถาศรม (วัยวานปรัสต์) เป็นช่วงระยะที่ 3 แห่งชีวิต กล่าวคือเมื่อบุตรธิดาได้สำเร็จการศึกษาออกไปเป็นคฤหัสถ์แล้ว ตัวบิดามารดาผู้ชราก็ควรจะยกทรัพย์สมบัติมอบให้แก่บุตรธิดา แล้วตนเองก็ออกไปอยู่ที่อาศรมอันตั้งอยู่ในป่าเพื่อเสียสละอุทิศกำลัง ร่างกายของตนออกทำงานให้แก่สังคมส่วนรวม ด้วยการเป็นครูอาจารย์ทำหน้าที่ให้การศึกษา และนึกคิดแต่ในทางที่จะทำให้สังคมเจริญ แล้วก็ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนั้น สำหรับสตรีถ้าไม่มีความประสงค์จะไปอยู่ในอาศรมในป่ากับสามี ก็อาจจะอยู่กับบุตรธิดาต่อไปได้ ส่วนผู้ใดที่ไม่ต้องการจะออกไปอยู่ ณ อาศรมในป่า ก็อาจจะอยู่ที่บ้านได้ แต่ต้องบำเพ็ญกิจเพื่ออุทิศตนให้แก่สังคมต่อไปจนกว่าจะมีอายุถึง 75 ปี


4. สนยสตาศรม (วัยสันยาสิน) เป็นระยะสุดท้ายแห่งชีวิต คืออายุย่างเข้า 75 ปี ผู้ชราในวัยนี้ย่อมรู้สึกได้ด้วยตนเองว่าตนมีอายุมากแล้ว เพราะฉะนั้นก็พาตนเองเข้าสู่สนยสตาศรม คือบวชเป็นสันยาสีเสียในอาศรมนี้ บำเพ็ญสมาธิ และพยายามแสวงหาโมกษธรรมหรือความจริงว่า ตนเองเป็นใคร? พระพรหมคือใคร? ในโลกนี้มีสารวสตุอะไรบ้าง? ฯลฯ เมื่อได้คำตอบสำหรับตนเองแล้ว ก็เผยแพร่ให้คำตอบนั้นได้เป็นที่รู้กันไปทั่ว ๆ โดยถือว่ามนุษย์ทั้งปวงเป็นประดุจสมาชิกในครอบครัว(บริวาร)ของตนเอง และในทำนองเดียวกันก็เป็น อนส (ส่วนหนึ่ง) ของพระพรหมด้วย สรุปก็คือว่าในอาศรมที่ 4 นี้ เหมือนกับอาศรมที่หนึ่งมากเหลือเกินเพียงแต่ว่าไม่มีการเรียนเหมือนอย่างอาศรมที่ 1 เท่านั้น หากมีจินตนาการหรือการเข้าสมาธิมาบรรจุอยู่แทนที่

ขอขอบพระคุณ : บทความจาก www.human.cmu.ac.th
บรรยายโดย อาจารย์พีรพล อิศรภักดี

คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกประเทศอินเดียและพระพิฆเนศ

---------------- อ่านเรื่องเทพเจ้าเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

-------------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อการกราบไหว้ขอพร --------------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง











วิธีการบูชาเจ้าแม่กาลี พระแม่กาลี การไหว้พระแม่การี
จำหน่ายหนังสือบูชาองค์เทพ คู่มือบูชาเทพ
หนังสือบูชาพระพิฆเณศวร์ หนังสือธรรมะศาสนาพุทธ ธรรมะในศาสนาฮินดู
ความรู้เรื่องการบูชาองค์เทพของอินเดีย หนังสือศาสนาพราหมณ์


สั่งพิมพ์หนังสือสวดมนต์ พิมพ์หนังสือธรรมะ
สั่งพิมพ์หนังสือองค์เทพ เพื่อแจกจ่าย ทำบุญด้วยหนังสือสวดมนต์












ตำนานองค์เทพ วิธีบูชา แนวทางการปฏิบัติ พิธีกรรมบูชา คำสอนต่างๆ
รวมรูปภาพองค์เทพ รูปองค์เทพต่างๆ
แหล่งสักการะ ศาลพระพรหม เทวาลัย ศาลพระพิฆเนศต่างๆ
งานบุญ การทำบุญ กิจกรรมการกุศลต่างๆ
ตำนานพระเกจิ ประวัติหลวงพ่อต่างๆ
รวมข้อมูลวัดไทย การเดินทางไปวัด การท่องเที่ยว ไหว้พระ 9 วัด แผนที่วัด

ข่าวงานบุญ การทำบุญ พระราชพิธีต่างๆ / บทความ ศาสนาพราหมณ์ งานวิจัย โบราณคดี เทววิทยา /
รูปภาพพระพิฆเณศวร์ พระคเณศวร องค์พระพิฆเณศ / รูปภาพพระศิวะ พระอิศวร /
รูปพระแม่อุมาเทวี พระแม่กาลีเทวี พระแม่ทุรกา พระแม่ทุรคาเทวี /
รูปภาพพระแม่ลักษมีเทวี พระลักษมี / รูปพระวิษณุ พระนารายณ์
รูปภาพในศาสนาพราหมณ์ พิธีกรรมของศาสนาฮินดู ชาวอินเดีย ชาวฮินดู พราหมณ์ /
ความรู้เรื่องเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ การประกอบพิธีกรรมวิธีบูชาองค์เทพ / ความรู้เรื่ององค์เทพ การบูชาเทพ


ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
ขออำนาจแห่งพระคเณศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.