พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรก
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ จ.เชียงใหม่
คลิก "ถูกใจ" เพจพระพิฆเนศได้ที่นี่
 
facebook.com/siamganeshfanpage
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนตรเชียงใหม่

(บทความโดย คมชัดลึก)

เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงไม่กี่ปีนี้ ในเมืองไทย ได้มีผู้สักการะบูชาพระพิฆเนศกันมากขึ้น จนมีการสร้างรูปเคารพของท่านออกมาอย่างต่อเนื่อง...

ขณะเดียวกัน หากใครอยากจะศึกษาเรื่องราวของ พระพิฆเนศ อย่างชนิดเจาะลึก ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงประเทศอินเดีย เพราะในเมืองไทย ได้มีผู้ชำนาญการด้านนี้โดยเฉพาะขึ้นมาแล้ว หลายๆ ท่านด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือ ปัณฑร ทีรคานนท์ (ไมค์) ผู้สร้าง พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ขึ้นเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทยที่ จ.เชียงใหม่


คุณไมค์ เป็นชาวกรุงเทพฯ ได้ขึ้นไปประกอบอาชีพอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ หลายปีมาแล้ว มีความสนใจในองค์พระพิฆเนศมานานกว่า 30 ปี โดยได้รับอิทธิพลมาจากพระพิฆเนศ ที่ได้รับมาจากคุณพ่อเมื่อตอนอายุ 19 ปี เป็นพระพิฆเนศแบบพระกริ่งของเขมร ขนาดห้อยคอได้

ความสนใจของคุณไมค์เริ่มแรกนั้น เกิดมาจากความสงสัยว่า ทำไมเศียรของพระพิฆเนศจึงเป็นเศียรช้าง จากนั้นก็ได้ติดตามศึกษาค้นคว้าจากหนังสือตำราต่างๆ ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ตให้ค้นหากัน ต้องศึกษาจากตำราต่างประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาฮินดู หรืออินเดีย ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมากถึงจะได้ข้อมูลต่างๆ อย่างหลากหลาย


ยิ่งศึกษามากก็ยิ่งเพิ่มความศรัทธามากขึ้นด้วย คุณไมค์ถึงกับเดินทางไปศึกษาหาข้อมูลในประเทศอินเดีย โดยไปเป็นระยะๆ ครั้งละหลายเดือน จนเรียกได้ว่ามีความแตกฉานในด้านนี้อย่างแท้จริง ก็ได้สะสมรูปเคารพองค์พระพิฆเนศตลอดเวลาที่ผ่านมา ไว้มากมายหลายร้อยองค์ จนถึงทุกวันนี้กำลังจะมีเพิ่มขึ้นเป็นพันองค์

เดิมทีเดียว คุณไมค์มีบ้านพักอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ พรรคพวกเพื่อนฝูงตลอดจนผู้สนใจ พอทราบข่าวว่าที่บ้านมีพระพิฆเนศมากมาย ก็มาขอชมกันเสมอๆ บ้างก็มาขอคำแนะนำ ขอร่วมสักการบูชา จนคุณไมค์เห็นว่าสถานที่คับแคบ เลยตัดสินใจมาซื้อที่ดินกลางทุ่งนา จำนวน 5 ไร่ เมื่อต้นปี 2547 จากนั้นได้ลงมือก่อสร้างตัวเรือนแบบง่ายๆ ให้เข้ากับธรรมชาติโดยรอบ พร้อมกับจัดตั้งขึ้นเป็น พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ซึ่งถือว่าเป็น แห่งแรก และ แห่งเดียว ในเมืองไทย

ผู้ศรัทธาเลื่อมใสพระพิฆเนศ เมื่อทราบข่าวก็พากันมาชม มาสักการะบูชา และร่วมกันประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่พิพิธภัณฑ์จัดขึ้น บางคนก็มาศึกษาหาความรู้กันอย่างจริงจัง จนทุกวันนี้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นประจำทุกวันไม่ขาดสาย และนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

การเข้าชมองค์พระพิฆเนศไม่ต้องเสียค่าเข้าชม เพราะคุณไมค์มีความประสงค์ที่เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของ พระพิฆเณศวรมากกว่า

ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีพระพิฆเณศประมาณ 1,000 กว่าองค์ มีปางต่างๆ มากมาย วัสดุที่สร้างมีตั้งแต่เนื้อทองคำ เงิน นาก ทองแดง ทองเหลือง แก้ว หิน ดิน ผง ไม้ ฯลฯ โดยมีผู้บรรยายให้ทราบหรือตอบข้อสงสัย

ในส่วนของการประกอบพิธีกรรมสักการบูชา พระพิฆเนศ มีทุกวันอาทิตย์ เวลา 10.00 น. และวันสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับองค์ พระพิฆเนศ ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ได้แจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน

นอกจากนี้ ผู้ที่มีความศรัทธาสนใจแก่กล้ามากขึ้น อยากจะเดินทางไปสักการบูชา พระพิฆเนศว์ ที่ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะ พระพิฆเนศวร ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 8 แห่งในอินเดีย คุณไมค์ก็มีโครงการนำคณะศรัทธาเดินทางไปประเทศอินเดีย ปีหนึ่งๆ หลายคราวด้วยกัน

พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ตั้งอยู่ที่ ถนนเชียงใหม่-ฮอด (อินทนนท์) หลัก กม.35 ต.ยางคราม กิ่ง อ.ดอยหล่อ (เขตติดต่อ อ.สันป่าตอง) จ.เชียงใหม่ โทร.0-5326-9101, 08-9855-5852, 08-9430-4050 เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00-17.00 น. หรือเปิดหาข้อมูลได้ที่ www.ganeshmuseum.com

(ขอขอบคุณ - หนังสือพิมพ์คมชัดลึก)

สยามคเณศ นำชมพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศวร์จังหวัดเชียงใหม่

การเดินทางไปพิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ จ.เชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศ ตั้งอยู่ที่ 277 ม.10 ตำบลยางคราม อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

หากขับรถจากแยกเซ็นทรัลแอร์พอร์ต ให้วิ่งไปทาง อ.หางดง ตรงไปเรื่อยๆ ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร
ผ่าน อ.หางดง อ.สันป่าตอง...ก่อนถึงปั๊มบางจากจะเห็นป้ายพิพิธภัณฑ์อยู่ขวามือครับ (สอบถามทางคนแถวนั้นไปเรื่อยๆก็ได้ครับ)
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ป้ายหน้าพิพิธภัณฑ์พระคเณศ เชียงใหม่
ป้ายหน้าพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
องค์พระพิฆเนศร์ในพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ จังหวัดเชียงใหม่
มองจากลานจอดรถ เห็นองค์พระพิฆเนศหินทรายเรียงรายอยู่
การเดินทางไปพิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศ จ.เชียงใหม่
เครื่องหมายโอม สัญลักษณ์แห่งศาสนาพราหมณ์

พระพิฆเนศปั้นจำลองแบบจากอัสตะวินายัก
(เทวรูปพระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประเทศอินเดีย)

อัสตะวินายัก มีจำนวน 8 องค์ครับ
(อัสตะ = แปด / วินายัก = พระคเณศ)

นางอัปสร ทางเข้าสู่พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ

พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ห้ามเข้าทรงเด็ดขาดครับ
ก็เช่นเดียวกับที่เว็บไซต์สยามคเณศ เราไม่แนะนำให้ทรงเจ้า

เดินเข้ามาภายในจะพบกับหอเวทวิทยาคม
ใช้เป็นที่ประกอบพิธีบูชาพระพิฆเนศในวันคเณศจตุรถี
...เริ่มชมเทวรูปต่างๆกันได้เลยนะครับ...
รูปนี้คือพระพิฆเนศปางกอดศิวลึงก์

พระพิฆเนศปางเหรัมภะคณปติ
มีห้าเศียร ประทับบนสิงโต มีอานุภาพประทานความยิ่งใหญ่
มอบความสำเร็จในการงาน การปกครองผู้คน การบริหารงาน

พระพิฆเนศประทับบนหนูที่ชื่อ มุสิกะ (พญาหนู)

พระพิฆเณศปาง "บาละคเณศ" หรือ ปางเด็ก
ถือขนมโมทกะ ซึ่งเป็นขนมที่พระคเณศโปรดปรานที่สุด
ปางเด็กนี้สังเกตุให้ดีจะยังมีงาครบทั้ง 2 ข้างอยู่ครับ

ยังมีเทวรูปพระพิฆเนศอีกหลายองค์ในหอเวทนี้ครับ

พระพิฆเนศ ปางเอกเขนก หรือ ปางเสวยสุข
ประทานความสุขสมบูรณ์ ไม่เครียด ไร้ซึ่งปัญหาใดๆมากวนใจ

หนูมุสิกะ บริวารเอกแห่งพระพิฆเนศ
เมื่อขอพรพระพิฆเนศเสร็จแล้ว
ให้นำคำขอพรนั้นไปกระซิบบอกที่ข้างๆหูของหนูด้วยนะครับ
เวลากระซิบให้เอามือปิดหูของหนูอีกข้างด้วย
เพื่อไม่ให้คำขอพรเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาของหนูไปนั่นเอง ^_^

เทวรูปพระพิฆเณศวร์หน้าอาคารบูชา
เป็นปาง 5 เศียร หรือ ปัญจมุขคเณศ , ปัญจมุขคณปติ

ภายในอาคารบูชา เป็นที่ประดิษฐานพระพิฆเนศและครอบครัว
ซึ่งมีพระชายาของท่าน (พุทธิ , สิทธิ)
และบุตรทั้งสอง (ชุก , ลัฟ หรือ โชค-ลาภ)
ซึ่งเทวรูปครบทั้งครอบครัวแบบนี้หาได้ยากยิ่ง

รองพระบาทแห่งพระศรีคเณศ (รองเท้า)
ใช้มือแตะที่รองพระบาทแล้วมาแตะหน้าผากตัวเองเพื่อขอพร

พระพิฆเนศปางปัญจมุข หรือ ปางห้าเศียร
สุดยอดของเทวรูปพระพิฆเนศเหนือทุกๆปาง
(ตรงจุดนี้มีเจ้าหน้าที่คอยนำสวดมนต์ให้ด้วยครับ)

พระแม่ลักษมี 8 ภาค
เทวีแห่งความมั่งคั่งร่ำรวยอุดมสมบูรณ์
ด้านล่างรูปภาพมี เมล็ดข้าว ธัญพืช เหรียญ ธนบัตร
สามารถโกยเหรียญและเมล็ดข้าวขึ้นมาโปรยต่อหน้าพระแม่
บูชาเพื่อขอความมีกินมีใช้

แมนดาล่าสวัสติกะ
เป็นยันต์หรือแผนผังจักรวาล สร้างจากเมล็ดข้าวย้อมสี
ทำขึ้นเพื่อถวายพระพิฆเนศ
ออกแบบโดย อ.ปัณฑร ซึ่งจะเปลี่ยนแบบใหม่ทุกๆปี

เดินออกจากอาคารบูชา จะพบกับเทพนพเคราะห์ทั้ง 9 ครับ

ตรงเทพนพเคราะห์นี้
สามารถจุดเทียนและธูปปักลงกระถางบูชาได้

เทวรูปพระศิวะมหาเทพ บิดาแห่งพระพิฆเนศวร

ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
โยนี (ฐาน) สัญลักษณ์แทนองค์พระอุมาเทวี

พระพิฆเนศแกะสลักจากไม้ ประดิษฐานใกล้เทวรูปพระศิวะ

พระแม่ลักษมีเทวี (ซ้าย)
พระแม่ทุรคาเทวี (ขวา)

เมื่อเข้าสู่เทศกาล "ดุเซร่า" หรือ นวราตรี
ทางพิพิธภัณฑ์จะอัญเชิญเทวรูปพระแม่ทุรกาออกมาทำพิธี

เมื่อเข้าสู่เทศกาล "ดีปาวาลี" หรือ ดีวาลี่
ทางพิพิธภัณฑ์จะอัญเชิญเทวรูปพระแม่ลักษมีออกมาทำพิธี

เทวรูปเล็กๆภายในตู้กระจกที่ประดิษฐานพระแม่ทุรกา

เทวรูปพระพิฆเนศ ด้านหน้าพระแม่ทุรคาเทวี

พระคเณศอีกรูปแบบหนึ่งที่งดงามมากๆครับ

หนูอีกตัวหนึ่ง ยิ้มน่ารักเชียว

เทวาลัยพระคเณศ
สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาสูงสุดของผู้ก่อตั้ง
อิฐทุกก้อนผ่านการสวดและเขียนอักขระก่อนนำไปประกอบเป็นเทวาลัย
ภายในเทวาลัยได้จำลองคณปติโลก (โลกอันเป็นที่ประทับของพระพิฆเนศ)
ซึ่งกล่าวไว้ในคัมภีร์ว่า พระองค์ทรงประทับอยู่บนเกาะกลางมหาสมุทรที่เต็มไปด้วยน้ำอ้อย
เวลาที่ลมพัดจะเกิดคลื่นซัดเอาเพชรพลอยและอัญมณีเข้าหาฝั่ง
การได้เข้าสักการะพระพิฆเนศในเทวาลัยนี้ เปรียบเสมือนได้สักการะถึงในวิมานของพระองค์ทีเดียว

ทางขึ้นเทวาลัยพระคเณศ

มองขึ้นไปจะเห็นเทวาลัยพระคเนศ

หน้าบันเทวาลัยพระคเณศ

พระพิฆเนศประดิษฐานอยู่ภายในเทวาลัย
กราบไหว้จากตรงนี้ได้ แต่ห้ามเดินเข้าไปครับ

เทวรูปพระพิฆเนศประดิษฐานรอบๆเทวาลัยพระคเนศ

เทวสถานอัตสตะวินายะกา (อัสตวินายัก)
จำลองเทวรูปพระพิฆเณศมาจาก สวยัมภูคเณศ หรือพระพิฆเณศที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
ซึ่งมีจำนวน 8 แห่งในประเทศอินเดีย
ผู้ศรัทธาที่ได้กราบไหว้อัสตะวินายักกะครบทั้งแปดแห่ง จะได้รับศุภมงคลยิ่งแก่ชีวิต
ทางพิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศจึงได้สร้างเทวาลัยจำลองขึ้นทั้งแปดแห่ง
ให้ผู้ศรัทธาได้มาสักการะเพื่อเป็นสิริมงคล
โดยในหนึ่งเทวาลัย จะมีพระคเณศประดิษฐานอยู่หนึ่งองค์

รูปนี้คือ เทวรูปพระศรีบัลลาเลชวา
จำลองมาจากเทวรูปพระพิฆเนศที่ เมืองปาลี ประเทศอินเดีย

รูปนี้คือ เทวรูปพระศรีจินดามณี
จำลองมาจากเทวรูปพระพิฆเนศที่ เมืองเทอูร์ ประเทศอินเดีย

...แวะตีฆ้องเพื่อขอชัยชนะครับ...

รูปปั้นโยคี ผู้บำเพ็ญตนเพื่อการเข้าถึงเทพเจ้าที่ตนศรัทธา
และเพื่อการหลุดพ้นไปสู่โมกษะ เป้าหมายสูงสุดของชาวฮินดู

เทวรูปพระพิฆเนศอีกองค์หนึ่ง
ตะไคร่น้ำเกาะ จึงดูเหมือนของโบราณ งดงามยิ่งครับ

พระแม่ลักษมี เทวีแห่งความสมบูรณ์มั่งคั่งร่ำรวย

รอยพระบาทแห่งพระลักษมี
ให้เอานิ้วนางข้างขวาแตะผงสีส้มแดง แล้วมาแตะำหน้าผากตนเอง
เพื่อขอพรจากพระแม่ลักษมีให้คุ้มครองประทานพรให้โชคดี

พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย
หากผู้ศรัทธามีโอกาส ก็แวะไปเยี่ยมชมได้นะครับ
หนึ่งเดียวในไทยไม่ไปไม่รู้จริงๆครับ

ขอขอบพระคุณ
คุณปัณฑร ทีรคานนท์ (ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์)
คุณพวงพกา จงสอน
คุณต้อม (เจ้าหน้าที่นำสวดมนต์)
คุณมิกซ์ (เว็บมาสเตอร์พิพิธภัณฑ์)
ที่อำนวยความสะดวกทีมงานสยามคเณศในการถ่ายภาพครั้งนี้


พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ตั้งอยู่ที่ ถนนเชียงใหม่-ฮอด (อินทนนท์)
หลัก กม.35 ต.ยางคราม กิ่ง อ.ดอยหล่อ
(เขตติดต่อ อ.สันป่าตอง) จ.เชียงใหม่
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00-17.00 น.



facebook.com/siamganeshfanpage



สยามคเณศ ได้สร้างแฟนเพจแล้ว
เชิญ "ถูกใจ" ได้ที่นี่ครับ
facebook.com/siamganeshfanpage


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา

 

ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.