พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ
โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะ ศาล เทวาลัย วัด โบสถ์
องค์เทพพราหมณ์ฮินดู
"พื้นที่เขตภาคเหนือ"

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
เชิญร่วมส่งภาพถ่าย
ศาล เทวาลัย วัด ที่มีองค์เทวรูปใกล้บ้านท่าน
รูปภาพที่ผ่านการคัดเลือกจะได้ลงแนะนำในหมวด "สถานที่สักการะทั่วประเทศไทย"
พร้อม ชื่อ-นามสกุล ของผู้ถ่ายภาพ ติดอยู่กับภาพนั้นๆ ด้วย
วัตถุประสงค์เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ศรัทธา เป็นเสมือนคู่มือการเดินทางไปสักการะยังที่ต่างๆ

อาจจะเป็นไปได้ที่ในจังหวัดของท่านจะมีเทวรูปพระพิฆเนศหรือเทพเจ้าองค์สวยๆตั้งอยู่ โดยที่ไม่มีใครรู้
และจะดีกว่าไหม..ถ้าเราได้รวบรวมมาลงในเว็บไซต์ให้มากที่สุด เพื่อเป็นคู่มือการเดินทางแสวงบุญให้กับผู้ศรัทธา...

ท่านที่อยู่ในจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านต่างๆ
หากท่านพบเห็นหรือทราบว่าแถวบ้านของท่านมีเทวรูปประดิษฐานอยู่ (เฉพาะเทวรูปเทพเจ้าของพราหมณ์)
ขอเชิญถ่ายภาพแล้วส่งเมล์มาให้เราด้วยครับ จะได้นำลงเว็บ เพื่อแบ่งให้ผู้ศรัทธาท่านอื่นๆชม

ถ่ายมาได้เลยครับ ทั้งศาลพระพิฆเนศ เทวาลัยพระศิวะ ศาลพระแม่ต่างๆ เทวรูปพระนารายณ์ ศาลเจ้าต่างๆ ฯลฯ
วัดตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลความเจริญ อาจจะมีเทวาลัยเทพเจ้าขนาดเล็กๆ ตั้งอยู่ แต่ไม่มีคนสนใจ ถูกละเลยปล่อยทิ้งไว้
เมื่อเราได้ลงรูปในเว็บสยามคเณศนี้ อาจจะมีผู้สนใจไปกราบไหว้ ตลอดจนมีคนไปทำบุญ
หรือมีสมาชิกไปช่วยกันทำความสะอาด บูรณะซ่อมแซมเทวรูปหรือศาลนั้นๆให้ดูดีและสวยงามขึ้นก็ได้ครับ

วิธีการร่วมมือ : ถ่ายภาพด้วยวิธีใดก็ได้ครับ (กล้องดิจิตอล, กล้องมือถือ) เอาชัดๆอย่าเล็กเกินไปนะครับ
ถ่ายมาหลายๆมุมเลยครับ ด้านหน้า ด้านข้าง ป้ายชื่อเทวาลัย บริเวณโดยรอบ ฯลฯ
แล้วส่ง E-mail มาที่ siamganesh@gmail.com พร้อมแจ้งข้อมูลดังนี้...
- ชื่อ-นามสกุล ของผู้ถ่ายภาพ เพื่อเราจะได้ติดชื่อของท่านไว้บนรูปภาพทุกรูปครับ
- ชื่อสถานที่ เช่น ชื่อวัด ชื่อเทวาลัย ถนน สี่แยก หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด
- วิธีเดินทางไปสักการะ เวลาเปิดปิดของวัดหรือสถานที่นั้นๆ ฯลฯ (เอาเท่าที่จะหาข้อมูลได้ก็พอครับ)
- หากได้ข้อมูลมาจากหนังสือหรือเว็บใดโปรดแจ้งชื่อหนังสือหรือบอกชื่อเว็บนั้นๆกับเราด้วยครับจะได้ลงขอบคุณไปด้วย

เรายังยินดีลงประชาสัมพันธ์ศาลหรือเทวาลัยที่มีผู้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสาธารณะ หรือที่อยู่ในวัดต่างๆ
รวมทั้งศาลพระพิฆเนศ ศาลพระพรหม ฯลฯ ที่ตั้งอยู่บริษัทเอกชน หรืออยู่ในหน่วยงานราชการ
โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม สนามกีฬา มหาวิทยาลัย สถาบันองค์กรหน่วยงานต่างๆ เราก็ยินดีลงให้เต็มที่ครับ
เชิญส่งมาได้เลยนะครับ การแนะนำสถานที่สักการะแก่ผู้อื่นถือว่าได้กุศลด้วยครับ
(แต่ถ้าเป็นเทวรูปของตำหนักทรง เราอาจจะพิจารณาไม่ลงให้ครับ ยังไงลองส่งมาดูก่อนครับ)
ขอบพระคุณครับ / siamganesh

มีของรางวัลและวัตถุมงคลมอบให้ทุกท่านที่ส่งรูปภาพมาลงในหน้านี้ครับ!!
......................................................................................................................................................


วัดแขกเชียงราย วัดพระแม่อุมาเทวี เชียงราย
ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ (แนะนำโดย - โกเมน เชื้อเจ็ดตน)
ชื่อสถานที่ : มณเฑียรอุมาเทวี อ.เมือง จ.เชียงราย
ข้อมูลสถานที่ : มณเฑียรอุมาเทวี หรือ วัดพระศรีมหาอุมาเทวีเชียงราย หรือ วัดแขกเชียงราย จัดตั้งโดยกลุ่มพ่อค้าและชุมชนชาวอินเดียในจังหวัดเชียงราย ประสิทธิ์ประศาสตร์โดยพระครูลลิต โมหัน วยาส แห่งวัดเทพมณเฑียรกรุงเทพ โดยพระครูได้มอบหมายให้คณะพราหมณ์ที่ผ่านการบวชจากสมาคมฮินดูสมาช เดินทางมาประจำอยู่ที่วัดแห่งนี้เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ให้แก่ประชาชนในจังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่สักการะในลักษณะของวัดฮินดูแบบจดทะเบียนถูกต้องเพียงแห่งเดียวในจังหวัดเชียงราย ที่นี่จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงรายและผู้ศรัทธาชาวไทยจำนวนมาก

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ พระศิวะ พระแม่อุมาเทวี พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวดี พระหนุมาน วัดแห่งนี้มีพระแม่อุมาเทวีเป็นประธาน ซึ่งอยู่ในนิกายศักติ คือเทวสถานของกลุ่มคนที่นับถือเทพสตรีเป็นใหญ่

ตั้งอยู่ที่ : จากแยกพ่อขุนเม็งราย มุ่งหน้าไปทางสนามกีฬา สังเกตุป้ายมณเฑียรอุมาเทวี เลี้ยวเข้าซอยประมาณ 200 เมตร
เวลาเปิด : ทุกวัน 8.00-18.30 น. (ปิด 4 ชั่วโมงคือ 11.00-15.00 น. เพื่อประกอบพิธีภายใน)
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : พิทักษ์ โค้ววันชัย
ชื่อสถานที่ : สามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ข้อมูลสถานที่ : สามเหลี่ยมทองคำ คือชื่อเรียกของแนวตะเข็บชายแดนรอยต่อสามประเทศ (จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย, แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว และจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า) โดยมีแม่น้ำโขงตัดผ่านชายแดนไทยและลาว ที่นี่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สักการะขอพรมากมาย เช่น ลูบฆ้องที่แขวนอยู่ตรงช้างศึกขนาดใหญ่ให้มีเสียงดังเพื่อขอโชคลาภ สักการะพระพุทธรูปนวล้านตื้อที่มีผู้ศรัทธาจัดสร้างเพื่อมอบให้กับประเทศพม่า ลาว จีน สามารถนั่งเรือล่องแม่น้ำโขงไปยังประเทศลาว (ค่าเข้าประเทศคนละ 20 บาท ชมตลาดของที่ระลึก) นอกจากนี้สามเหลี่ยมทองคำยังมีวัดและจุดชมวิวให้นักท่องเที่ยวไปชมมากมาย เช่น หลวงพ่อเชียงแสนสิงห์หนึ่ง วัดพระธาตุปูเข้า มีศาลประดิษฐานที่พระพุทธรูป สำหรับให้ยกเสี่ยงทาย ผู้ศรัทธาลองยกน้ำหนักเพื่ออธิษฐานขอพรให้สมหวัง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ ปางตรีมุขคณปติ หรือ ปางสามเศียร จำนวน 2 องค์ และ ประติมากรรมหินทรายรูปพระพิฆเนศทรงดนตรี จำนวน 2 องค์ นอกจากนี้ยังมี พระพุทธรูปนวล้านตื้อ พญานาค พระโพธิสัตว์พระแม่กวนอิม ท้าวจตุคามรามเทพ พระสังกัจจายน์หยกขาวสี่แผ่นดิน รูปปั้นครูบาศรีวิชัย พระนางอัปสรสวรรค์ ฯลฯ

ตั้งอยู่ที่ : สามเหลี่ยมทองคำ ในส่วนของประเทศไทย อยู่ในเขต บ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
เวลาเปิด : ท่องเที่ยวได้ทุกวัน ตลอดเวลา ร้านค้าของที่ระลึกต่างๆในฝั่งไทยจะเริ่มปิดบริการประมาณ 18.00 น.
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : เป็นพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศแห่งเดียวในประเทศไทย ก่อตั้งโดย คุณปัณฑร ทีรคานนท์ ผู้เดินทางไปรอบโลกเพื่อเสาะแสวงหาเทวรูปพระพิฆเนศและองค์เทพต่างๆ ที่มีลักษณะพิเศษ แปลก ปางหายาก มารวมกันไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศแห่งนี้นับพันองค์

เทวรูปที่ประดิษฐาน : ครบทุกพระองค์ เน้นที่พระคเณศ ชมหอยสังข์ทักษิณาวัตรที่แกะสลักลายเป็นรูปพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยอัสตะวินายักจำลองมาจากเทวรูปพระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งแปดแห่งของอินเดีย เข้าสักการะเทวรูปพระพิฆเนศและครอบครัวของพระองค์ (ชายา-บุตร) ชมแมนดาล่าเมล็ดข้าว (ยันต์ขนาดใหญ่ที่สร้างจากเมล็ดข้าวย้อมสี) สัมผัสรองพระบาท (รองเท้า) แห่งพระพิฆเนศและพระแม่ลักษมีเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

ตั้งอยู่ที่ : ถนนเชียงใหม่-ฮอด (อินทนนท์) หลัก กม.35 ต.ยางคราม กิ่ง อ.ดอยหล่อ (เขตติดต่อ อ.สันป่าตอง) จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00-17.00 น. คลิกดูเพิ่มเติมในหน้าพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ | อัสตะวินายักที่อินเดีย
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : วัดเทพมณเฑียร จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : เป็นเทวสถานของอินเดียฝ่ายเหนือ แตกสาขาออกมาจากวัดเทพมณเฑียรที่กรุงเทพ ภายในประดิษฐานเทวรูปแกะสลักจากหินอ่อน มีความงดงามตามแบบศิลปะอินเดียเหนือ สามารถนำเทวรูปไปให้พราหมณ์ที่นี่เบิกเนตรให้ได้ (ทำบุญตามศรัทธา)
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ พระวิษณุ พระแม่ลักษมี พระแม่สุรัสวดี พระพรหม พระศิวะ พระแม่ทุรกา พระพุทธเจ้า พระกฤษณะ พระราม ศิวลึงก์ หลุมศพพระนางสตี สถานที่แห่งนี้มีส่วนพิเศษคือ ศิลปะภาพนูนต่ำบนฝาผนัง แสดงภาพมหาเทพในศาสนาฮินดู ทั้งพระนารายณ์ปางเปิดโลก พระตรีมูรติ พระแม่คายตรี พระกฤษณะ ฯลฯ เรียงรายตามฝาผนังเป็นแนวยาว
ตั้งอยู่ที่ : เยื้องสนามกีฬาเทศบาลเชียงใหม่ บริเวณคูเมือง ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : ทุกวัน 6.00-19.00 (ปิดสามชั่วโมงระหว่าง 12.00-15.00) ควรไปหลังบ่ายสาม ร่วมบูชาไฟตอน 18.30
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : วัดชัยศรีภูมิ (วัดปันต๋าเกิ๋น) อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : วัดชัยศรีภูมิ สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว พระกษัตริย์ราชวงศ์มังรายลำดับที่ 11 โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2062 วัดชัยศรีภูมิแห่งนี้เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งศรีเมืองตามคัมภีร์มหาทักษา กล่าวกันว่าวัดนี้มีทหารชื่อ "ปันต๋าเกิ๋น" เป็นประธานสร้าง ชาวเชียงใหม่จึงเรียกว่าวัดปันต๋าเกิ๋น บริเวณที่ตั้งเคยมีต้นนิโครธอันถือเป็นไม้เสื้อเมือง เป็นที่มาของสิริมงคล ความอุดมสมบูรณ์และเดชานุภาพ ต่อมาวัดนี้ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2380 สมัยเจ้าหลวงพุทธวงศ์และได้เจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับจนถึงปัจจุบัน
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศองค์สีทอง ถือตรีศูล วัชระ งาหัก ประทับในเทวาลัยบนบัลลังก์สีแดงลายทอง
ตั้งอยู่ที่ : ติดกับถนนชัยศรีภูมิ และ ถนนสิทธิวงศ์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิดตามเวลาวัด 6.00 - 18.00 น.
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ เป็นที่รวบรวมศิลปวัฒนธรรมขงลานนาไทย ประกอบด้วยบ้านทรงไทยสร้างด้วยไม้สักหลายหลัง ร้านขายของที่ระลึก และหมู่บ้านชาวเขา นอกจากนี้ยังมีการจัดขันโตกดินเนอร์ การแสดงฟ้อนพื้นเมือง และการแสดงของชาวเขาเผ่าต่างๆ ทุกวัน
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศปางยืน ยืนบนพระบาทข้างเดียว มีสี่พระกร ทรงบ่วง ขอช้าง งา
ตั้งอยู่ที่ : กิโลเมตรที่ 2 ถนนเชียงใหม่-ฮอด อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : สักการะพระพิฆเนศและชมการแสดง บ้านทรงไทยไม้สัก เลือกซื้อของที่ระลึกได้ทุกวัน เวลา 19.00-22.00 น.
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : วัดหัวข่วง (วัดแสนเมืองมาหลวง) อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : พญาเมืองแก้วกษัตริย์ในราชวงศ์มังรายที่ 11 ทรงสร้างขึ้นแก่ชาวเชียงใหม่ วัดแห่งนี้มีศักดิ์เป็นวัดประจำเมืองเชียงใหม่ กษัตริย์ล้านนามักใช้วัดนี้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันสำคัญของพุทธศาสนา เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธรัตนบุรีแสนเมืองมาหลวง" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศภายในวัดหัวข่วงนี้ เป็นเทวรูปหล่อด้วยโลหะ ปางประทับนัง ทรงเครื่องเทวะพัสตราภรณ์แบบเทวดาไทย พระกรทั้ง 4 ทรงวัชระ บ่วงบาศ ทันตะ(งา) และหม้อน้ำ
ตั้งอยู่ที่ : ถนนพระปกเกล้า บริเวณคูเมือง ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิดตามเวลาวัด 6.00 - 18.00 น.
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : วัดโลกโมฬี
ข้อมูลสถานที่ : เมืองนั่งรถผ่านวัดโลกโมฬี (อ่านว่า วัด-โลก-โม-รี) แห่งนี้ จะมองเห็นซุ้มประตูที่มีลวดลายวิจิตรสวยงาม วิหารไม้สักสร้างแบบล้านนา แสดงถึงภูมิปัญญาของช่างเมืองเหนือ วิหารแห่งนี้ได้สร้างจำลองมาจากวัดพระธาตุลำปางหลวง แต่นำมาประยุกต์ใส่กลิ่นอายของศิลปะร่วมสมัยลงไปด้วย เชิญชมความสวยงามของลายไทยปูนปั้นที่ละเอียดอ่อนทุกตารางนิ้ว ชมพระเจดีย์อันเป็นสถาปัตยกรรมช่วงพุทธศตวรรษที่ 21
วัดเครื่องวัดน้ำใจคนในหล้า โลกโสภาเพราะวัดดัดนิสัย
โมฬีปิ่นจอมธรรมผู้นำชัย โลกโมฬียิ่งใหญ่ในล้านนา
ประวัติศาสตร์โลกโมฬีวัดนี้เด่น ดั่งเดือนเพ็ญแจ่มสว่างกลางเวหา
มหาเทวีทรงพระนามจิรประภา สตรีแกร่งกล้าแห่งล้านนาไทย

เชิญร่วมโครงการปี๋ใหม่เมือง ระยะเวลา 14-15 เมษายน ของทุกปี
เชิญร่วมโครงการสวดมนต์แปล ระยะเวลา 19.00-20.00 น. ของทุกวัน
เชิญร่วมโครงการปฏิบัติธรรมวันพ่อแห่งชาติ วันศุกร์-วันอาทิตย์ ก่อนวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศองค์ที่ 1 ประดิษฐานอยู่ในศาลาฝั่งซ้ายมือ ปางยกพระบาทขึ้นข้างหนึ่ง องค์สีดำรมเงา อีกองค์หนึ่งประทับนั่งสีทอง ทรงบ่วงบาศ งาหัก และขนมโมทกะ พระพิฆเนศองค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่ในศาลาเดียวกับองค์แรก องค์สีทอง ปางสัมปทายะ หรือ ปางประทานพร พระพิฆเนศองค์ที่ 3 ประดิษฐานใน เทวาลัยสถานพระพิฆเนศ สร้างจากโลหะปิดทอง ปางนฤตยะคณปติ (ปางร่ายรำ) มี 4 พระกร ทรงสังข์ ตรีศูล ดอกบัว ประทานพร ด้านนอกศาลาแห่งนี้ยังมีพระโพธิสัตว์กวนอิม และท้าวจตุคามรามเทพ
ตั้งอยู่ที่ : ถนนมณีนพรัตน์ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง เชียงใหม่ อยู่ใกล้กับประตูช้างเผือก (ติดคูเมือง)
เวลาเปิด : เปิดตามเวลาวัด 6.00 - 18.00 น.
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : วัดนันทาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : วัดนันทาราม แต่เดิมเป็นป่าไม้ไผ่ ตามตำนานนั้นกล่าวว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเมื่อออกพรรษาแล้ว พร้อมด้วยพระอานนท์ พระโสณะเถรเจ้า พระอุตตระเถรเจ้า พระรตนะเถรเจ้า ได้เสด็จออกจากเมืองกุสินารา ซึ่งขณะนั้นพญาอโศกราชครองเมืองกุสินาราอยู่ พร้อมด้วยพญาอินทร์ก็มาอุปฐากพระพุทธเจ้าและพระเถรเจ้าทั้ง 4 องค์นั้น ก็ได้เสด็จเทศนาธรรมสั่งสอนแก่คนและเทวดาทั้งหลาย ในบ้านน้อยเมืองใหญ่ตามลำดับ จนกระทั่งเสด็จมาถึงเมืองเชียงใหม่ ขณะนั้นเมืองเชียงใหม่เป็นที่อยู่อาศัยของพวกบ้านธะมิระทั้งหลาย พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระเถรเจ้าทั้ง 4 องค์ได้เสด็จมาถึงวัดบุพผารามหรือวัดสวนดอกก่อน พระพุทธองค์ก็ไว้ เกศา 1 เส้น แล้วเสด็จไปวัดอโศการาม ก็ไว้เกศา 1 เส้น เสด็จไปวัดปิจาราม ก็ไว้เกศา 1 เส้น เสด็จไปวัดสังฆาราม ก็ไว้เกศา 1 เส้น เสด็จไปวัดโชติการาม ก็ไว้เกศา 1 เส้น พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระเถรเจ้าก็เสด็จไปทางทิศหรดีหรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขณะนั้นมีนายธะมิระผู้หนึ่งสร้างตูบ หรือกระต๊อบหลังหนึ่งอยู่รักษาสวนในป่าไผ่นั้น พระพุทธองค์และพระเถระเจ้าก็เสด็จไปยังที่แห่งนั้น นายธะมิระจึงอาราธนาพระพุทธเจ้าและพระเถรเข้าอยู่สำราญในตูบของตนคืน หนึ่ง พอรุ่งเช้านายธะมิระก็ถวายภัตตาหารแก่พระพุทธองค์และพระเถระ เมื่อภัตกิจเสร็จแล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทำนายว่า “ฐานะที่นี้จะเป็นอารามอันหนึ่งในภายภาคหน้า ได้ชื่อว่า นันทาราม หรือนันตาราม” แล้วพระพุทธองค์ก็ถอดเกศาเส้นหนึ่งไว้แก่นายธะมิระ เมื่อนั้นนายธะมิระก็อาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถรเจ้าไปประทับชั่ว คราวในสวนของตน แล้วก็ทำมณฑปอันใหญ่ประกอบด้วยเครื่องประดับทั้งหลาย เป็นต้นว่า ดอกไม้นานาชนิด เพื่อเป็นที่สำราญแก่พระพุทธองค์ บรรจุไว้ในที่ประทับชั่วคราวแห่งนี้ ก่อเจดีย์สูงสามศอก ณ ที่แห่งนี้ปัจจุบันคือวัดนันทาราม นั้นแล (ขอขอบคุณ lannatalkkhongdee.com)
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศปูนปั้น เป็นเทวรูปที่มีสภาพเก่าแก่มาก ประทับนั่ง มีสี่พระกร ทรงจักร ตรีศูล งาหัก และชามขนมที่มีลักษณะคล้ายกับบาตรพระ
ตั้งอยู่ที่ : วัดนันทาราม ถ.นันทาราม ใกล้กับ ถ.วัวลาย ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิดตามเวลาวัด 6.00 - 18.00 น.
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : วิทยาลัยนาฏศิลป์ทุกแห่งเป็นสถาบันที่ให้ความเคารพศรัทธาต่อองค์พระพิฆเณศวร วิทยาลัยนาฎศิลป์เชียงใหม่นี้ก็เช่นกัน ในทางนาฎศิลป์นั้นพระพิฆเณศวร์เป็นสัญลักษณ์แห่งศิลปะ เป็นบรมครูทางการ่ายรำ การดนตรี วาทศิลป์ จิตรกรรม ฯลฯ
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศหล่อด้วยสำริด รมสีดำ เป็นลักษณะเดียวกับพระพิฆเนศที่วิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแบบมาตรฐานของกรมศิลปากร ประทับนั่งแยกพระชงฆ์ หันฝ่าพระบาทเข้าหากัน มีสี่พระกร ทรงบ่วงบาศ งา วัชระ และครอบน้ำ บริเวณฐานเป็นรูปหนูบริวาร นับเป็นองค์เทวรูปพระพิฆเนศวร์ที่งดงามอีกองค์หนึ่งของไทย
ตั้งอยู่ที่ : วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ถ.สุริยวงศ์ ใกล้ตลาดประตูก้อม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิดตามเวลาสถานศึกษา 6.00 - 20.00 น. (กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ รปภ. ว่าจะเข้ามาไหว้พระพิฆเนศ)
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : ในสถาบันราชภัฏเชียงใหม่นี้ ได้สร้างเทวาลัยเพื่อประดิษฐานองค์พระพิฆเนศ เป็นศาลทรงจตุรมุขแบบไทย ตั้งอยู่ด้านหน้าหอดนตรีพื้นบ้านหรือเรือนอนุสารสุนทร
เทวรูปที่ประดิษฐาน : เทวรูปพระพิฆเนศ จำนวน 2 องค์ ได้แก่
- องค์ที่ 1 สร้างจากสำริด มีสี่พระกร ทรงวัชระ บ่วง งา และครอบน้ำ ประทับนั่งในท่าแยกพระชงฆ์หันฝ่าพระบาทเข้าหากัน
- องค์ที่ 2 สร้างจากปูนปั้น มีสี่พระกร ทรงตรีศูล บ่วง งา และสังข์ ประทับนั่งในท่าลลิตาอาสนะ
ตั้งอยู่ที่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิดตามเวลาสถานศึกษา 6.00 - 20.00 น. (กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ รปภ. ว่าจะเข้ามาไหว้พระพิฆเนศ)
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : วัดศรีสุพรรณ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : วัดศรีสุพรรณแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมอันวิจิตรตระการตาลำดับต้นๆของเชียงใหม่ มี "อุโบสถเงิน" ซึ่งตั้งอยู่เป็นจุดเด่นสร้างความอลังการให้แก่ผู้ศรัทธา ภายในบริเวณอื่นๆของวัดยังนำเครื่องเงินมาตบแต่งอย่างสวยงาม บริเวณวัดศรีสุพรรณนี้ยังเป็นที่ตั้งของตลาดถนนคนเดิน "วัวลาย" ที่มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งแผงขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อหากันยามค่ำคืน
เทวรูปที่ประดิษฐาน : เป็นพระพิฆเนศขนาดตั้งเทวาลัยที่หล่อด้วยเงินแท้องค์แรกของประเทศไทย มี 4 พระกร ทรงตรีศูล บ่วงปาศะ งา และถ้วยขนมโมทกะ
ตั้งอยู่ที่ : ถนนวัวลาย ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (อยู่ใกล้ ถ.นันทาราม และ ถ.สุริยวงศ์)
เวลาเปิด : เปิดตามเวลาวัด 6.00 - 18.00 น.
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : วัดพระธาตุดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่ สิ่งสำคัญที่สุดของวัดพระธาตุดอยสุเทพก็คือ "พระธาตุดอยสุเทพ" อันเก่าแก่เป็นสมบัติสำคัญที่สุดของชาวเชียงใหม่
เทวรูปที่ประดิษฐาน : ภายในวัดพระธาตุดอยสุเทพนี้ มีเทวรูปพระพิฆเนศจำนวน 3 องค์ ได้แก่
- บริเวณทางขึ้นพระธาตุ จำนวน 2 องค์ สีเขียวและสีฟ้า เป็นศิลปะแปลกตา มีงาครบทั้งสองข้าง ดูเผินๆคล้ายยักษ์ มีสี่พระกร องค์หนึ่งถือดอกบัว พระขรรค์ อังกุศะและหม้อน้ำ องค์ที่สองถือดอกบัว พระขรรค์ งา และถ้วยขนมโมทกะ
- องค์ที่ 3 ตั้งอยู่ข้างบน ด้านหลังอุโบสถ เป็นองค์สีทอง ปางยืน ถือบ่วง วัชระ งาและหอยสังข์
ตั้งอยู่ที่ : พระธาตุดอยสุเทพ ถ.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิด-ปิด ตามเวลาวัด
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ
ชื่อสถานที่ : โครงการ The Ring ถ.นิมมานเหมินทร์ 17 อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : เป็นสถานที่ของเอกชน The Ring คืออาคารคอมมูลนิตี้มอลล์ หรือ สถานที่ที่จะตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน ที่ทันสมัยแปลกใหม่และโดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ ด้วยโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเหมือนวงแหวนเป็นวงกลม ซึ่งปัจจุบันได้เปิดให้บริการแล้ว โดยโครงการนี้จะเป็นแหล่งรวมร้านค้าชั้นนำ ศูนย์การศึกษา งานศิลปะ ความบันเทิงและสุขภาพ และร้านอาหารที่หลากหลายของเมืองเชียงใหม่
เทวรูปที่ประดิษฐาน : เทวาลัยพระพิฆเนศตั้งอยู่ด้านหน้าริมถนน พระพิฆเนศทรงตรีศูล ดอกบัวก้านยาว พระหัตถ์ข้างหนึ่งประทานพร
ตั้งอยู่ที่ : ศูนย์การค้า The Ring ถนนนิมมานเหมินทร์ 17 อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : 24 ชั่วโมง (ตั้งอยู่ริมถนน จึงสักการะได้ตลอดเวลา)
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : จาตุพัจน์ รัฐกิจรุ่งโรจน์
ชื่อสถานที่ : วัดพระบาทปางแฟน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : วัดพระบาทปางแฟน เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนเม็งราย กาลต่อมาได้พบรอยพระบาทจึงได้มีการสร้างพระเจดีย์ครอบรอยพระบาทนั้นไว้ เมื่อพระครูปลัดกฤต ฐิตวิริโย หรือ ครูบาโต เกจิชื่อดังมาเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี 2546 ก็ทำให้วัดพระบาทปางแฟนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก วัดแห่งนี้จึงเจริญขึ้น มีผู้มาทำบุญและกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นจำนวนมาก

เชิญสักการะ หลวงพ่อทันใจ และ หลวงพ่อเศียร ซึ่งขุดเจอเฉพาะเศียรฝังอยู่ในดิน ต่อมาท่านได้เข้านิมิตพระอาจารย์โต ให้ช่วยขุดตัวองค์พระ เพื่อมาต่อกับเศียร แรกๆท่านก็ไม่เชื่อ แต่อยากจะพิสูจน์ความจริง จึงได้เกณฑ์ชาวบ้าน ให้ช่วยกันขุดตามที่นิมิต ก็พบความจริง จึงได้ทำการต่อองค์พระกับเศียร จนสมบูรณ์ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่เคราพสักการะของชาวบ้านมาจนถึงทุกวันนี้
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ สร้างจากปูนปั้น ประทับนั่งแบบลลิตาสนะ มีสี่พระกร ทรงวัชระ งาหัก บ่วงบาศ อีกพระหัตถ์ประทานพร ที่โดดเด่นคือพระองค์ประทับอยู่บนหอยสังข์ขนาดใหญ่มาก บริเวณที่ประทับมีรูปปั้นเด็กซ้ายขวา สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆก็มี รอยพระบาท หลวงพ่อทันใจ หลวงพ่อเศียร (ซึ่งขุดเจอเฉพาะเศียรฝังอยู่ในดิน) ฯลฯ
ตั้งอยู่ที่ : ต.ป่าเมื่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิด-ปิด ตามเวลาวัด
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : อุดร มาลารัตน์
ชื่อสถานที่ : วัดป่าแดด ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : วัดป่าแดด สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ วาดโดยช่างแต้มชาวไทยใหญ่ เรื่องพุทธประวัติและชาดกต่างๆ วิหารหลังนี้สร้างขึ้น พร้อมกับการสร้างวัด เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2400
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศองค์ประธาน สร้างจากโลหะสัมฤทธิ์ รมดำ มีสี่พระกร ทรงวัชระ บ่วง งา ถ้วยขนม พระพิฆเนศองค์สีทอง สร้างจากโลหะทาสีทองทั้งองค์ มีสี่พระกร ทรงขวาน ถ้วยขนมโมทกะ พระพิฆเนศหินทรายปางยืนจำนวน 2 องค
ตั้งอยู่ที่ : ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิด-ปิด ตามเวลาวัด
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : religiouspark.org
ชื่อสถานที่ : ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4 (สาขาเชียงใหม่)
หรือ วัดเจ้าแม่กวนอิมเชียงใหม่
ข้อมูลสถานที่ : ด้วยพระเดชพระคุณพระอาจารย์ใหญ่ต้องการให้ประชาชนซึ่งอยู่ห่างไกลจากเมืองหลวง ได้พุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่งทางใจ ได้มีโอกาสในการปฏิบัติธรรม สวดมนต์ บำเพ็ญบารมี ดังนั้นตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4 (สาขาเชียงใหม่) จึงเกิดขึ้น และได้เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมีพระเดชพระคุณพระอาจารย์เสริมศักดิ์ อธิปัญโญ ให้ความเมตตาช่วยเหลือในการควบคุมดูแลการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด การก่อสร้างเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นการลงแรงร่วมใจระหว่างคณะสงฆ์และคณะศิษย์ จนกระทั่งพุทธสถานแห่งนี้เสร็จสมบูรณ์ งดงาม ดั่งที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้

พุทธสถานแห่งนี้มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ นอกจากห้องโถงใหญ่ซึ่งเป็นสถานที่สวดมนต์และปฏิบัติธรรม พุทธสถานแห่งนี้ยังประกอบไปด้วย เก๋งเสด็จพ่อพระศิวะเทพแห่งฟ้าดิน เก๋งพระสังกัจจายน์ เก๋งเหล่าพระโพธิสัตว์ และศาลาปฏิบัติธรรมซึ่งมีพระพุทธรูปศิลปะพม่าเป็นองค์ประธาน รายรอบด้วยระฆังกว่าร้อยลูก มีประติมากรรมรูปมังกรและรูปเสือขนาดใหญ่ ซึ่งสาธุชนผู้มาเยือนพุทธสถานแห่งนี้สามารถเดินเข้าทางปากมังกร (ซึ่งเปรียบเสมือนได้กราบขอพรจากองค์เจ้าปู่มังกรมหาสมุทร) เพื่อขึ้นไปสักการะและเวียนเทียนรอบองค์พระมหาโพธิสัตว์กวนอิมและเจ้าชาย อั้งไฮ้ยี้ ซึ่งตลอดทางเดินภายในยังประกอบไปด้วยจิตกรรมฝาผนังภาพพุทธประวัติ และเดินออกทางปากเสือ (ซึ่งเปรียบเสมือนได้กราบขอพรจากองค์เจ้าพ่อเสือ)

เทวรูปที่ประดิษฐาน : เทวาลัยพระศิวะ พระพิฆเนศ พระขันทกุมาร พระโพธิสัตว์กวนอิม และเทพเจ้าจีนมากมาย
ตั้งอยู่ที่ : เลขที่ 120/3 ถนนมหิดล ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เวลาเปิด : เข้าสักการะได้ทุกวัน
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : พิทักษ์ โค้ววันชัย และ กุลจิรา โรจน์สุวณิชกร
ชื่อสถานที่ : วัดคีรีวงศ์ ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์

ข้อมูลสถานที่ : เมื่อ พ.ศ. 2504 พระธุดงค์ได้มาปักกลดอยู่บริเวณที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ได้พบวัตถุโบราณ เช่น อิฐเก่า ใบเสมาเก่า พระพุทธรูปเก่าและฐานอุโบสถเก่า เป็นต้น สงสัยว่าจะเป็นวัดร้างจึงได้ แจ้งให้กรมการศาสนาทราบและได้ชักชวนประชาชน สร้างกุฎิเล็ก ๆ ที่เชิงเขา 4-5 หลังสมัยนั้นยังกันดารไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา

ปี พ.ศ. 2507 กรมการศาสนา ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาสำรวจรังวัดจากหลักฐานวัตถุ โบราณและจากการบอกเล่า ของคนเก่าแก่ที่เคยทำไร่อยู่บริเวณวัดคีรีวงศ์ ยืนยันว่าบริเวณนี้เป็นวัดร้างจริงและพบบ่อกรุน้ำซึมด้วยกรมการศาสนา สมัย พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ เป็นอธิบดีกรมการ ศาสนา ได้สำรวจรังวัดและทำแผนที่ไว้ได้พื้นที่วัดทั้งบนเขาและที่ราบประมาณ 280 ไร่

และในที่สุด พ.ศ. 2508 คณะกรรมการผู้ริเริ่มสร้างวัดคีรีวงศ์ ซึ่งมีนายเปงซ้ง แซ่ตั้ง เป็นหัวหน้า ได้ไปนิมนต์พระสงฆ์จากเจ้าคณะ อำเภอเมืองฯ ที่ วัดนครสวรรค์ เพื่อมาร่วมกันสร้างวัดคีรีวงศ์แห่งนี้

เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่บนเขาที่สูง จึงมีจุดชมวิวเมืองนครสวรรค์ให้นักท่องเที่ยวได้ชมทัศนียภาพอันสวยงาม

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพรหม พระอินทร์ พระพิฆเนศ ท้าวจตุคามรามเทพ พระสีวลี พระสังกัจจายน์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปจำลองจากวัดที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ พระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธี พระพุทธชินราช พระพุทธสิหิงค์ หลวงพ่อโตวัดป่าเรไลย์ หลวงพ่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง หลวงพ่อวัดบ้านแหลม พระสยามเทวาธิราช ฯลฯ นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆให้กราบสักการะขอพรอีกมากมาย ปิดทองรอยพระพุทธบาท 12 ราศี ชมทิวทัศน์เมืองนครสวรรค์ ณ พระจุฬามณีเจดีย์

ตั้งอยู่ที่ : ถ.มาตุลี และ ถ.ดาวดึงส์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ (ตรงข้ามวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์)
เวลาเปิด : เข้าชมได้ทุกวัน ตามเวลาวัด ดูข้อมูลที่เว็บไซต์ของวัดคีรีวงศ์นครสวรรค์ได้ที่ www.kiriwong.net
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : รัชศักดิ์ ละออง
ชื่อสถานที่ : วัดไชยอาวาส อ.เมือง จ.พะเยา

ข้อมูลสถานที่ : วัดไชยอาวาส เดิมชื่อว่า วัดปักคำ เป็นวัดร้างมาก่อน ปัจจุบันวัดไชยอาวาส ตั้งอยู่เลขที่ ๒ บ้านประตูเหล็ก ถนนราชวงศ์ หมู่ ๑ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ว่ากันว่าวัดไชยอาวาสตั้งอยู่ใกล้ประตูเมืองซึ่งทำด้วยเหล็กล้วนชาวบ้านจึง นิยมเรียกชื่อว่า วัดประตูเหล็ก หรือวัดไชยอาวาส ประตูเหล็ก ปัจจุบันประตูเหล็กได้ชำรุดไปนานแล้ว

วัดไชยอาวาส และวัดหลวงราชสัณฐาน เป็นวัดพี่วัดน้องมาแต่โบราณกาล เนื่องสมัยข้าหลวงวงค์ ได้มาปกครองเมืองพะเยา และได้มาบูรณะซ่อมแซมวัดไชยอาวาสหรือประตูเหล็กและวัดหลวงในราชสัณฐานเสร็จ ได้นิมนต์พระอินทจักร์ วัดปงสนุกด้านใต้มาเป็นเจ้าอาวาสประตูเหล็กและนิมนต์พระภิกษุอินทร์ อินโธ วัดปงสนุกด้านเหนือ จากเมืองลำปาง มาเป็นเจ้าอาวาส วัดหลวงราชสัณฐาน วัดทั้งสองนี้ จึงเป็นวัดพี่วัดน้องตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เมื่อถึงเวลาเทศกาลสำคัญ เช่น วันพระเข้าพรรษาก็ดี วันพญาวันปีใหม่เมืองก็ดี เดือนสี่เป็งก็ดี วันพระออกพรรษาก็ดี วัดทั้งสองก็จะมีการเอา “ ช้าบาตร” หรือข้าวปลาอาหารข้าวต้มข้าวหนมมาไขว่กัน (แลกเปลี่ยนกัน) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และทำเป็นประเพณี ทุก ๆ ปี ตลอดไป เพื่อรักษาความเป็นวัดพี่วัดน้อง เมื่อมีอะไรแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ตามประสาพี่และน้องดังนี้ฯ
http://pyo.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=158&Itemid=125

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ ปางประทับยืน ทาสีทองทั้งองค์ มีสี่พระกร

ตั้งอยู่ที่ : อ.เมือง จ.พะเยา
เวลาเปิด : เข้าชมได้ทุกวัน ตามเวลาวัด
...................................................................................................................................................

ภาพโดย : รัชศักดิ์ ละออง
ชื่อสถานที่ : ศาลพระพิฆเนศ ตรงข้ามโลตัสพะเยา

ข้อมูลสถานที่ : อาณาจักรมาเก็ตเซ็นเตอร์ ตรงข้ามเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ ปางปัญจมุขคเณศ หรือ ปางห้าเศียร หรือ ปางเปิดโลก อันเป็นปางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระพิฆเนศ
ประทับนั่ง

ตั้งอยู่ที่ : อาณาจักรมาเก็ตเซ็นเตอร์ ตรงข้ามเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา
เวลาเปิด : เข้าชมได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
...................................................................................................................................................
ขอเชิญร่วมส่งภาพถ่ายของเทวาลัยแห่งนี้
ด้วยฝีมือการถ่ายของคุณ มาลงเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
(มีวัตถุมงคลหายาก มอบให้ผู้ที่ส่งรูปเข้ามาครับ)

ชื่อสถานที่ : วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์

ข้อมูลสถานที่ : วัดสิริวัฒนวิสุทธิ์ รู้จักกันในนครสวรรค์ว่า "วัดพระพี่นาง" เป็นพุทธสถานที่คณะศิษย์สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม กทม. นำโดย พระเทพโมลี (สุนทร สุนฺทราโภ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม เจ้าคณะเขตดุสิต (ธรรมยุติ) สร้างถวายสมเด็จฯ ในโอกาสที่ได้เจริญชนมายุศม์ครบ ๘๐ ปี

วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ สร้างเป็นรูปเรือหลวง มีความหมายถึงพาหนะที่จะช่วยขนสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงแห่งสังสารวัฎ (ทะเลวน) ให้พ้นจากโอฆะสงสาร ห้วงน้ำคือกิเลส เรือที่ตั้งอยู่บนเกาะหรือภูเขา หมายถึงเป็นสถานที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง หรือท่วมทับแก่บุคคลที่มีปัญญาไม่ได้ ผู้มีปัญญา มีความขยัน ไม่ประมาทตามกิเลส มีความสำรวมระวังดี ก็จะอยู่บนเรือลำนี้ได้โดยปลอดภัย

ภายในศาสนสถานแห่งนี้ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างอันเป็นมงคลมากมาย อาทิ มณฑปเรือนแก้ว ซึ่งเป็นอุโบสถของวัดแห่งนี้ เป็นสถาปัตยกรรมประยุกต์ไทยอินเดีย พระประธานของวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ปางสมาธิ ซึ่งทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จมาถวายไว้

เชิญชม ศาลาเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ในฐานะทรงเป็นพระบิดาแห่งราชนาวีไทย พระภควัมบดี (พระอยู่เย็นเป็นสุข พระไม่มีหน้า) เป็นพระพุทธรูปที่มีรูปลักษณ์เหมือนพระสังกัจจายน์ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ชมห้องสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรังสี) พระพุทธเอกนพรัตน์ ประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณหัวเรือราชญาณฑีฆายุมงคล ฯลฯ นอกจากนี้วัดแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และวัตถุมงคลต่างๆ (ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://travel.sanook.com)

เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ สร้างจากศิลาทราย ปางประทับนั่ง มีสี่พระกร ทรงตรีศูล งาหัก บ่วง ถ้วยขนมโมทกะ ปลายงวงตวัดมาเสวยขนมในถ้วย ด้านหลังองค์พระพิฆเณศวร์มี พระธรรมจักร สัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาประดิษฐานไว้อย่างโดดเด่นงดงาม
ตั้งอยู่ที่ : บ้านเขาโคกแผ่น ต.ทำนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
เวลาเปิด : เปิดปิดตามเวลาวัด
...................................................................................................................................................
ขอเชิญร่วมส่งภาพถ่ายของเทวาลัยแห่งนี้
ด้วยฝีมือการถ่ายของคุณ มาลงเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
(มีวัตถุมงคลหายาก มอบให้ผู้ที่ส่งรูปเข้ามาครับ)

ชื่อสถานที่ : วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ข้อมูลสถานที่ : วัดพระธาตุผาเงา เดิมมีชื่อว่า วัดสบคำ ในช่วงสมัยของอาณาจักรโยนก วัดร้างแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสุดขีด สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัด ที่สำคัญและ ประจำกรุงเก่าแห่งนี้ก็เป็นได้ จะเห็นได้ ว่าพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาที่ขุดค้นพบแห่งนี้ถูกสร้างและฝังอยู่ใต้ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ (พระประธาน) จะปิดบังซ่อนเร้นกลัวถูกโจรกรรมจากพวกนิยมสะสม ของเก่า ตอนแรกได้สันนิษฐานว่าบริเวณเนินเขาเล็กๆ ลูกนี้ที่กำลังแผ้วถางอยู่นี้จะต้องเป็นวัดเก่าแน่ เพราะได้พบเห็นซากโบราณวัตถุ ุกลาดเกลื่อนไปทั่วบริเวณในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 จึงได้ลงมือแผ้วถางป่า แต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำ เรียกว่า ถ้ำผาเงา ปากถ้ำถูกปิดไว้นาน ทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารก เต็มไปด้วย ซากโบราณวัตถุกระจัดกระจายอยู่กลาดเกลื่อน การค้นพบพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2519 เวลา 14.00 น. เมื่อคณะศรัทธาได้ปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างตื่นเต้นและปีติยินดีเมื่อ ได้พบว่าใต้ตอไม้นั้น (หน้าฐานพระประธาน) มีอิฐโบราณก่อเรียงไว้ เมื่อยกอิฐออกก็พบหน้ากาก จึงได้พบพระพุทธรูป มีลักษณะสวยงามมาก ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณวัตถุได้วิเคราะห์ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุระหว่าง 700-1,300 ปี คณะทั้งหมดจึงได้พร้อมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อผาเงา” และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดพระธาตุผาเงา” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา / ข้อมูลจาก www.watphradhatphangao.org
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ สร้างจากปูนปั้น ทาสีทองทั้งองค์ ประทับนั่งห้อยพระบาทข้างหนึ่ง มีสี่พระกร ทรงคฑา งาหักและท่าวิตรรกมุทรา ส่วนอีกพระหัตถ์ศาสตราวุธหายไป เทวรูปองค์นี้ตั้งอยู่ตรงบันไดทางขึ้นพระธาตุผาเงา
ตั้งอยู่ที่ : บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ
ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย (ห่างจากสามเหลี่ยมทองคำประมาณ 15 กม.)
เวลาเปิด : เปิดปิดตามเวลาวัด
...................................................................................................................................................
ขอเชิญร่วมส่งภาพถ่ายของเทวาลัยแห่งนี้
ด้วยฝีมือการถ่ายของคุณ มาลงเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
(มีวัตถุมงคลหายาก มอบให้ผู้ที่ส่งรูปเข้ามาครับ)

ชื่อสถานที่ : วัดท่าสะต๋อย (วัดศรีสร้อยทรายมูล) อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ข้อมูลสถานที่ : วัดท่าสะต๋อย ชุมชนท่าสะต๋อย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง ระหว่างตลาดสันป่าข่อยกับค่ายกาวิละ บ้านสะตอยเป็นชื่อหมู่บ้านในหัวเมืองไทยใหญ่ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำสาละวิน ปรากฏหลักฐานว่าในสมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2324-2358)ได้กวาดต้อนชุมชนในเขตบ้านสะต๋อยเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเชียงใหม่ถึง สองครั้งคือ เมื่อ พ.ศ. 2342 และ 2345 ตามลำดับ เมื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเชียงใหม่ ชาวบ้านสะต๋อยยังคงใช้ชื่อบ้านของตนเองมาตั้งชื่อบ้านใหม่ที่อพยพมาตั้งอยู่ เข้าใจว่าเพื่อจะแยกกลุ่มของตนออกจากกลุ่มอื่น เพราะในระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการกวาดต้อนและการอพยพชุมชนของหมู่บ้านต่างๆ ในบริเวณเดียวกันเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเชียงใหม่เป็นจำนวนมากและตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน เช่น บ้านเมืองกาย และบ้านเมืองสาด เป็นต้น

ปัจจุบันคนเชียงใหม่เรียกชุมชนตรงนี้ว่า บ้านท่าสะต๋อย มี วัดท่าสะต๋อย หรือ วัดศรีสร้อยทรายมูล เป็นศูนย์กลางของชุมชน เข้าใจว่าวัดนี้คงจะสร้างพร้อมกับการตั้งชุมชนและมีการบูรณะต่อมาอีกหลายครั้ง (ข้อมูลจาก library.cmu.ac.th และ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (2516). พระนคร)
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ สร้างจากทองเหลือง ปิดทองทั้งองค์ เป็นศิลปะแบบล้านนา มีลักษณะพิเศษคืองวงม้วนเข้าด้านใน มีสี่พระกร ทรงบ่วงบาศ งาหัก ดอกบัว ครอบน้ำ ทรงเครื่องประดับเป็นเชือกสีดำถักเป็นรูปงู
ตั้งอยู่ที่ : ชุมชนท่าสะต๋อย ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิดปิดตามเวลาวัด
...................................................................................................................................................
ขอเชิญร่วมส่งภาพถ่ายของเทวาลัยแห่งนี้
ด้วยฝีมือการถ่ายของคุณ มาลงเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
(มีวัตถุมงคลหายาก มอบให้ผู้ที่ส่งรูปเข้ามาครับ)

ชื่อสถานที่ : หอศิลปวัฒนธรรม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ข้อมูลสถานที่ : หอศิลป์วัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เนื่องจากเคยเป็นที่ตั้งเสาอินและเสาหลักเมือง อีกทั้งยังเคยเป็นศาลากลางเชียงใหม่อีกด้วย ภายในหอศิลปวัฒนธรรมนี้เป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่มีความสวยงาม
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ ลักษณะปางเสวยสุข หรือ ปางเอกเขนก สร้างจากศิลาสีเขียวอมเทา ประทับนั่งพิงหมอนอิง มีสองพระกร ไม่ทรงศาสตราวุธใดๆ ลักษณะท่าทางสบายๆ ผู้บูชาปางนี้จะทำให้เกิดความสุขสบาย ความไม่เครียด ปัญหาเคราะห์กรรมต่างๆถูกบรรเทาให้ลดน้อยลง อีกทั้งยังประทานความร่ำรวยสมบูรณ์ในชีวิตแก่ผู้ศรัทธาอีกด้วย
ตั้งอยู่ที่ : ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิดให้เข้าชมได้วันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 8.30 - 18.00 น.
...................................................................................................................................................
ขอเชิญร่วมส่งภาพถ่ายของเทวาลัยแห่งนี้
ด้วยฝีมือการถ่ายของคุณ มาลงเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
(มีวัตถุมงคลหายาก มอบให้ผู้ที่ส่งรูปเข้ามาครับ)

ชื่อสถานที่ : วัดดอนจั่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ข้อมูลสถานที่ : วัดดอนจั่น เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านมากราบสักการะกันเป็นประจำแล้ว ยังมีเทวรูปพระพิฆเนศขนาดใหญ่ให้ผู้ศรัทธาเข้ามากราบสักการะเป็นจำนวนมากหลายสิบองค์ วัดดอกจั่นยังมีโครงการจัดสร้างเทวรูปพระพิฆเณศประทับยืนขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในอนาคตอีกด้วย เพื่อเป็นสถานปฏิบัติธรรมและเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งคู่เมืองเชียงใหม่ต่อไป
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ เทวรูปขนาดใหญ่ สร้างจากปูนปั้น ทาสีแดงทั้งองค์ ตรงเครื่องทรงทาสีทอง มีสี่พระกร ทรงขวาน ถ้วยขนม ประทานพร อีกพระหัตถ์ทรงดอกบัวและบ่วงบาศในพระหัตถ์เดียวกัน มีเครื่องเทวพัสตราภรณ์ที่นำรูปแบบการสร้างมาจากการวาดรูปของศิลปะอินเดีย ช่างเพ้นท์ได้วาดเครื่องหมายโอมไว้ทั่วพระวรกาย และยังมีพระพิฆเนศขนาดเล็กๆอีกจำนวนมาก
ตั้งอยู่ที่ : ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิดปิดตามเวลาวัด
...................................................................................................................................................
ขอเชิญร่วมส่งภาพถ่ายของเทวาลัยแห่งนี้
ด้วยฝีมือการถ่ายของคุณ มาลงเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
(มีวัตถุมงคลหายาก มอบให้ผู้ที่ส่งรูปเข้ามาครับ)

ชื่อสถานที่ : วัดศรีนวรัฐ (วัดทุ่งเสี้ยว) อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

ข้อมูลสถานที่ : วัดศรีนวรัฐ หรือ วัดทุ่งเสียว (วัดหลวงทุ่งเสี้ยว) สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2145 ต่อมาเมื่อพม่าได้ยึดครองเมืองเชียงใหม่ก็กลายเป็นวัดร้าง จนเจ้ากาวิละได้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ อีกทั้งในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐซึ่งในปัจจุบันมีพระครูวินัยธรสุเทพ ฐานวโร เป็นเจ้าอาวาส ก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ได้ทำการสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสำหรับอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของล้านนา มีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของชาวล้านนา ต่อมามีการสร้างเทวาลัยพระพิฆเณศวรขึ้นเพื่อให้ปกปักรักษาวัดและผู้ศรัทธาที่เข้ามากราบสักการะขอพร
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ ประดิษฐานในศาลหน้าจั่วทรงไทย สร้างจากโลหะ ทาสีทองทั้งองค์ ประทับนั่งแบบลลิตาสนะ ห้อยพระบาทขวา มีสี่พระกร ทรงขอช้าง บ่วง งาหัก ด้านหน้าเทวรูปองค์ประธาน มีเทวรูปพระพิฆเนศหินทรายขนาดเล็กประดิษฐานอยู่ด้วย
ตั้งอยู่ที่ : ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
เวลาเปิด : เปิดปิดตามเวลาวัด
...................................................................................................................................................
ขอเชิญร่วมส่งภาพถ่ายของเทวาลัยแห่งนี้
ด้วยฝีมือการถ่ายของคุณ มาลงเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
(มีวัตถุมงคลหายาก มอบให้ผู้ที่ส่งรูปเข้ามาครับ)

ชื่อสถานที่ : วิทยาลัยอาชีวะศึกษาแพร่ อ.เมือง จ.แพร่

ข้อมูลสถานที่ : เนื่องจากพระพิฆเนศวร์เป็นเทพแห่งศิลปะวิทยาการและความสำเร็จ วิทยาลัยอาชีวะแพร่ หรือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ จึงได้จัดสร้างเทวาลัยเพื่อประดิษฐานเทวรูปพระพิฆเณศวร์ ให้เป็นที่เคารพศรัทธาของคณะอาจารย์ นักศึกษา และพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในวิทยาลัย เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อยู่ในสถาบันทุกคน บุคคลภายนอกก็สามารถเข้ามากราบสักการะพระพิฆเนศวร์ได้เช่นกัน
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ สร้างจากปูนปั้น มีขนาดใหญ่ ทาสีดำทั้งองค์ เดินสีทองเฉพาะเทวพัสตราภรณ์ มีสี่พระกร ทรงงขวานขนาดใหญ่ งาหัก บ่วง ถ้วยขนมโมทกะ มีงูจงอางเป็นสร้อยสังวาล ที่บริเวณฐานมีรูปปั้นหนูมุสิกะบริวารตัวใหญ่ตั้งอยู่ด้วย
ตั้งอยู่ที่ : วิทยาลัยอาชีวะแพร่ ถ.ยันตรกิจโกศล อ.เมือง จ.แพร่
เวลาเปิด : เปิดปิดตามเวลาสถาบัน (กรุณาแจ้งกับเจ้าหน้าที่ รปภ.ด้านหน้าก่อนว่าจะเข้ามากราบสักการะพระพิฆเนศวร์)
...................................................................................................................................................
ขอเชิญร่วมส่งภาพถ่ายของเทวาลัยแห่งนี้
ด้วยฝีมือการถ่ายของคุณ มาลงเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
(มีวัตถุมงคลหายาก มอบให้ผู้ที่ส่งรูปเข้ามาครับ)

ชื่อสถานที่ : วัดอนาลโยพิทยาราม อ.เมือง จ.พะเยา

ข้อมูลสถานที่ : วัดอนาลโยพิทยาราม สร้างขึ้นโดยพระครูปลัดสัมมพิพัฒนตญาจารย์ หรือ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ลูกศิษย์ของหลวงปู่ขาว อนาลโย พระสายป่าที่มีชื่อเสียง โดยท่านได้ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2543 ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจน่าชมหลายอย่าง เช่น รัตนเจดีย์แบบพุทธคยา เจ้าแม่กวนอิม เก๋งจีน พระพุทธรูปต่างๆ

เทวรูปที่ประดิษฐาน : จากข้อมูล..พบว่ามีพระพิฆเนศประดิษฐานจำนวน 3 องค์ องค์ที่หนึ่ง ประดิษฐานในเทวาลัย ปางนริตยะ หรือ ปางร่ายรำ สร้างจากสัมฤทธิ์ มีแปดพระกร ทรงงาหัก บ่วง คฑา ธำมรงค์ ขวาน ขอช้าง ถ้วยขนมโมทกะ องค์ที่สอง สร้างจากโลหะ ทาสีทองทั้งองค์ มีสี่พระกร ทรงขวาน ดอกบัว ถ้วยขนมโมทกะ ประทานพร ประทับนั่งในท่าลลิตาสนะ ห้อยพระบาทขวา ทรงเทวพัสตราภรณ์แบบศิลปะอินเดีย องค์ที่สาม สร้างจากโลหะ ทาสีเขียว และสีทองบางส่วน มีสองพระกร

ตั้งอยู่ที่ : ยอดดอยบุษราคัม ห่างจากตัวเมืองพะเยา 20 กม. ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา
เวลาเปิด : เปิดปิดตามเวลาวัด
...................................................................................................................................................
ขอเชิญร่วมส่งภาพถ่ายของเทวาลัยแห่งนี้
ด้วยฝีมือการถ่ายของคุณ มาลงเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
(มีวัตถุมงคลหายาก มอบให้ผู้ที่ส่งรูปเข้ามาครับ)

ชื่อสถานที่ : วัดจันทร์ตะวันตก ต.วัดจันทร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ข้อมูลสถานที่ : วัดจันทร์ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2400 พัฒนาขึ้นมาจากความเป็นป่าดง บริเวณเดียวกันมีวัดรังเงินเป็นวัดเก่าที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองพิษณุโลก ปัจจุบันวัดรังเงินได้กลายเป็นโรงเรียนวัดจันทร์ตะวันตก ภายในวัดจันทร์นี้มีองค์พระพิฆเนศประดิษฐานให้ผู้ศรัทธามากราบไหว้ขอพร
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศ สร้างจากศิลาทราย ทาสีดำทั้งองค์ สร้างโดยช่างฝีมือจากด่านเกวียน นครราชสีมา องค์พระพิฆเณศวร์มีสี่พระกร ทรงขวาน บ่วง ถ้วยขนมโมทก อีกพระหัตถ์ประทานพร สวมมงกุฎยอดแหลมแบบเทวดาไทย
ตั้งอยู่ที่ : ต.วัดจันทร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
เวลาเปิด : เปิดปิดตามเวลาวัด
...................................................................................................................................................
 
ศาลพระพิฆเนศ ศาลพระศิวะ พระแม่อุมาเทวี พระพรหม ศาลพระพรหม ศาลท้าวมหาพรหม
อัพเดตสถานที่ล่าสุด คลิกที่นี่
ยังขาดรูปภาพอีกเยอะครับ
ท่านที่ต้องการแนะนำศาลพระพิฆเนศหรือองค์เทพแห่งอื่นๆ
เพื่อเป็นวิทยาทานกับผู้ศรัทธาทั่วไป
สามารถส่งภาพถ่ายสถานที่พร้อมข้อมูลมาได้ตามอีเมล์นี้ครับ
siamganesh@gmail.com

ลิขสิทธิ์ภาพถ่ายเป็นของช่างภาพผู้ถ่ายภาพนั้นๆ การนำไปใช้ทางการค้ากรุณาติดต่อไปยังช่างภาพตามชื่อที่ปรากฎ
การนำรูปภาพในหน้านี้ไปใช้ที่อื่นกรุณาอ้างอิงหรือขอบคุณเว็บไซต์สยามคเณศ พร้อมทั้งระบุชื่อช่างภาพ
และทำลิงก์กลับมาที่ http://www.siamganesh.com ด้วยครับ



---------------- อ่านเรื่องเทพเจ้าเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

-------------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อการกราบไหว้ขอพร --------------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง











วิธีการบูชาเจ้าแม่กาลี พระแม่กาลี การไหว้พระแม่การี
จำหน่ายหนังสือบูชาองค์เทพ คู่มือบูชาเทพ
หนังสือบูชาพระพิฆเณศวร์ หนังสือธรรมะศาสนาพุทธ ธรรมะในศาสนาฮินดู
ความรู้เรื่องการบูชาองค์เทพของอินเดีย หนังสือศาสนาพราหมณ์


สั่งพิมพ์หนังสือสวดมนต์ พิมพ์หนังสือธรรมะ
สั่งพิมพ์หนังสือองค์เทพ เพื่อแจกจ่าย ทำบุญด้วยหนังสือสวดมนต์













ตำนานองค์เทพ วิธีบูชา แนวทางการปฏิบัติ พิธีกรรมบูชา คำสอนต่างๆ
รวมรูปภาพองค์เทพ รูปองค์เทพต่างๆ
แหล่งสักการะ ศาลพระพรหม เทวาลัย ศาลพระพิฆเนศต่างๆ
งานบุญ การทำบุญ กิจกรรมการกุศลต่างๆ
ตำนานพระเกจิ ประวัติหลวงพ่อต่างๆ
รวมข้อมูลวัดไทย การเดินทางไปวัด การท่องเที่ยว ไหว้พระ 9 วัด แผนที่วัด

ข่าวงานบุญ การทำบุญ พระราชพิธีต่างๆ / บทความ ศาสนาพราหมณ์ งานวิจัย โบราณคดี เทววิทยา /
รูปภาพพระพิฆเณศวร์ พระคเณศวร องค์พระพิฆเณศ / รูปภาพพระศิวะ พระอิศวร /
รูปพระแม่อุมาเทวี พระแม่กาลีเทวี พระแม่ทุรกา พระแม่ทุรคาเทวี /
รูปภาพพระแม่ลักษมีเทวี พระลักษมี / รูปพระวิษณุ พระนารายณ์
รูปภาพในศาสนาพราหมณ์ พิธีกรรมของศาสนาฮินดู ชาวอินเดีย ชาวฮินดู พราหมณ์ /
ความรู้เรื่องเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ การประกอบพิธีกรรมวิธีบูชาองค์เทพ / ความรู้เรื่ององค์เทพ การบูชาเทพ


ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.