พระพิฆเณศ
อินเดีย ประเทศอินเดีย รูปพระพิฆเนศ รูปภาพ งานศิลปะ พระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ

"คัมภีร์พระเวท หรือ วรรณคดีพระเวท"
ขอขอบพระคุณ : บทความจาก www.human.cmu.ac.th
บรรยายโดย อาจารย์พีรพล อิศรภักดี

คัมภีร์ทางศาสนาของอินเดียที่ประกอบกันขึ้นเป็นพระเวทนั้น
ประกอบด้วยงานเขียน 4 ประเภท คือ
1. มันตระ
2. พราหมณะ
3. อารัณยกะ
4. อุปนิษัท

1. มันตระ (ภาษิต, บทเพลง, มนตร์) จัดว่าเป็นคำประพันธ์ที่เก่าที่สุดของวรรณคดีพระเวท เป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นศาสนาฮินดู คัมภีร์นี้ไม่ปรากฏผู้แต่งและเวลาแต่ง สันนิษฐานว่าเริ่มแต่งขึ้นประมาณ 1500 ปี ก่อนคริสตกาล และท่องจำเล่าสืบต่อกันมาโดยไม่มีการเขียน ต่อมาได้มีการรวบรวมเข้าด้วยกัน โคลงกลอนซึ่งประกอบเป็นพระเวทนั้นใช้สำหรับร้องสรรเสริญบูชาเทวดาในพิธีบวงสรวงเทพยดา ซึ่งคงจะเป็นเทพยดาประจำเผ่า นอกจากนี้ยังใช้ท่องบ่นในพิธีแต่งงาน พิธีศพมันตระประกอบด้วยคัมภีร์ 4 เล่ม คือ

ฤคเวท จัดว่าเป็นคัมภีร์ทางศาสนาที่เก่าที่สุดในโลก รวบรวมเอาบทสวดแด่เทพยดาต่างๆ เข้าไว้ คงจะเป็นการรวบรวมบทสวดของเผ่าต่างๆ เข้าด้วยกันจึงมีการกล่าวถึงพระเจ้าหลายองค์ โดยมิได้ระบุอย่างแน่ชัดว่าองค์ใดเป็นประมุขของทวยเทพ บทสวดเหล่านี้จะถูกจดจำสืบต่อกันมาหลาย ชั่วอายุคน โดยไม่มีการหลงลืมหรือบิดเบือน เนื่องจากความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความศักดิ์สิทธิ์ของคำสวดทุกพยางค์ จนกระทั่งมาถึงเมื่อประมาณศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลจึงมีการจดบันทึกฤคเวทลงเป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ฤคเวทนี้ถือว่าเป็นคัมภีร์ของพวกนักบวชอย่างแท้จริงเพราะ นอกจากจะเป็นผู้แต่งขึ้นแล้วก็ยังเป็นผู้ใช้ในการประกอบพิธีกรรมสังเวยเทพยดาอีกด้วย

สามเวท แต่งขึ้นเพื่อรวบรวมบทสวดที่เลือกมาจากฤคเวท เพื่อประโยชน์ในการสวดเท่านั้น จึงไม่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับพวกอารยันนอกเหนือไปจากที่ฤคเวทได้ให้ไว้

ยัชุรเวท คัมภีร์นี้รวบรวมมนตร์ที่นักบวชประเภทหนึ่ง ต้องท่องในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งประพันธ์ไว้เป็นทั้งร้อยกรองและร้อยแก้ว คัมภีร์นี้เองที่เป็นต้นเค้าให้แก่คัมภีร์พราหมณะเพราะ มีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ "ฉบับดำ" คือตัวมนตร์กับคำอธิบายอย่างสังเขปในการประกอบพิธี ส่วน "ฉบับขาว" เป็นการอธิบายอย่างละเอียดถึงเนื้อหาแห่งพิธีกรรม ตลอดจนเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง การประกอบพิธีแต่ละขั้นตอน "ฉบับขาว" นี้เรียกว่า พราหมณะ (เข้าใจว่ามาจากคำ พรหมะ ในฤคเวทซึ่งมีความหมายหนึ่งในหลายๆ ความหมายว่า "สาระแห่งการสวด" ดังนั้นผู้ทำการสวดจึงถูกเรียกว่าพราหมณ์) ในบรรดาพระเวททั้งสามซึ่งบางทีเรียกว่า ไตรเวท จะสะท้อนให้เห็นถึงความคิดพัฒนาการของความคิดในหมู่อารยันชั้นสูง ซึ่งมีนักบวชเป็นผู้นำ แต่เนื่องจากพวกอารยันมีหลายเผ่า จึงทำให้บางกลุ่มไม่ยอมรับความเชื่อที่ปรากฏในฤคเวท นอกจากนี้การที่พวกอารยันอพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนของชนชาติอื่น ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะต้องปรากฏลักษณะความเชื่อของผู้คนดั้งเดิมอยู่บ้าง จะถือเอาไตรเวทเป็นตัวแทนของความเชื่อทั้งหมดไม่ได้ ดังนั้นคัมภีร์เล่มสุดท้ายของมันตระคือ อาถรรพเวท นี้จึงมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ด้วยเหตุดังกล่าว

อาถรรพเวท รวบรวมขึ้นหลังฤคเวท บรรจุเรื่องราวของ การสาป-การเสก การท่องมนตร์ที่เป็นคำประพันธ์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความเชื่อผีสางเทวดาแบบง่ายๆ และ เรื่องไสยศาสตร์ ที่ไม่ลึกซึ้งเหมือนอย่างเรื่องราวที่ปรากฏในฤคเวท จึงเหมาะสำหรับคนที่มีระดับวัฒนธรรมต่ำกว่าคนที่เชื่อในฤคเวท เข้าใจว่าอาถรรพเวทสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของประชาชนส่วนใหญ่ จึงมีร่องรอยของวัฒนธรรมที่ไม่ใช่อารยันผสมผสานอยู่อย่างมาก


2. พราหมณะ ปลายสมัยพระเวทความสำคัญของตัวพิธีกรรมสังเวยเทพยดามีมากขึ้น ในขณะที่ตัวเทพยดากลับลดความสำคัญลง จึงเกิดคัมภีร์เพื่ออธิบายความหมายของพิธีกรรมต่างๆ ที่ปรากฏในพระเวท คัมภีร์พราหมณะแต่งขึ้นราว 800-600 ปี ก่อน ค.ศ. ซึ่งยังเป็นผลงานของนักบวช (พราหมณ์) ดังนั้น จึงสอดคล้องกับหลักการใหญ่ๆ ของพระเวท คือ เน้นการกระทำสังเวยแก่เทพยดา อย่างไรก็ตามคัมภีร์พราหมณะก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในความคิดเกี่ยวกับศาสนาอยู่เหมือนกัน


3. อารัณยกะ หรือหนังสือคำสอนสำหรับใช้ในป่า ซึ่งเป็นภาคผนวกของพราหมณะ มีภาษาสำนวนและแม้แต่เนื้อความคล้ายกับพราหมณะ แต่ให้ความสนใจแก่ความหมายของพิธีกรรมและความหมายในสัมหิตา มากกว่าพราหมณะที่สนใจแต่กฎเกณฑ์ของการประกอบพิธีกรรม


4. อุปนิษัท ในปลายสมัยพราหมณะ ความเชื่อทางศาสนาของพวกพราหมณ์ไม่เป็นที่เพียงพอแก่สภาพของประชาชนอินเดีย ซึ่งได้ผ่านความเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง และสังคมไปมากแล้วความไม่รู้สึกเพียงพอต่อคำอธิบายทางศาสนาในพระเวท และพราหมณะนี้ทำให้อินเดียก้าวเข้าสู่ยุคหนึ่ง ของการคิดค้นทางด้านศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก คัมภีร์อีกประเภทหนึ่งเริ่มปรากฏขึ้นเรียกว่า อุปนิษัท ความสนใจของคัมภีร์ประเภทนี้มิใช่อยู่ที่พิธีสังเวยอีกต่อไป แต่อยู่ที่การคิดค้นหาทางอภิปรัชญาอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะการค้นหาทางแห่งความหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงจากการเวียนว่ายตายเกิด ในสมัยนี้มีคนจำนวนมากออกกระทำทุกขกริยา หรือมิฉะนั้นก็ออกไปแสวงหาสมณธรรมตามป่าเขา โดยตัวคนเดียวบ้างเป็นหมู่คณะบ้าง แล้วเที่ยวประกาศคำสอนอย่างใหม่ในที่ต่าง ๆ คำสอนนี้แม้ว่าจะมีความสำคัญต่างไปจากพระเวท แต่ก็หาได้ปฏิเสธพระเวทยังไม่ยอมรับความสำคัญของ พิธีกรรมสังเวยเทพยดาของพราหมณ์อยู่ เป็นแต่เพียงไม่เห็นว่าจะเป็นช่องทางนำไปสู่ความหลุดพ้นเท่านั้น คำสอนของอนาคาริกหรือ ของเรียกง่าย ๆ ในที่นี้ว่าฤษีเหล่านี้รวมเรียกว่าอุปนิษัทซึ่งแปลว่าการเข้ามานั่งใกล้ (เพื่อรับการสอน) อุปนิษัท ที่แต่งรุ่นแรก ๆ เป็นร้อยแก้ว อธิบายคำสอนอย่างสั้น ๆ ด้วยบทสนทนาซักถาม อุปนิษัทรุ่นหลังแต่งเป็นคำประพันธ์ก็มี ถึงแม้อุปนิษัททั้งหลายไม่เกี่ยวเนื่องกันเอง (เพราะรวบรวมจากคำสอนของคนหลายกลุ่ม) และไม่มีเอกภาพแต่มีสาระสำคัญตรงกันในด้านคำสอนดังจะอธิบายข้างหน้า


คัมภีร์ทั้ง 4 ประเภทที่กล่าวนี้เรียกว่า ศรุติ คือได้ยินได้ฟังมาโดยนิมิตจากเทพเจ้า จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ยังมีคัมภีร์อีกประเภทหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่แต่งขึ้นในภายหลังจากยุคพระเวท แต่ถือเป็นส่วนต่อของพระเวทจึงเรียกว่า เวทางค์ (คือส่วนแห่งเวทะ) เวทางค์เป็นเรื่องของความรู้อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวรรณคดีพระเวทส่วนที่เป็นศรุติ แต่ไม่ถือว่าศักด์ิสิทธิ์เท่าเรียกว่า สัมฤติ (คือจดจำกันต่อๆ มาแปลตามศัพท์ว่า ระลึกได้) วิชาที่จัดอยู่ในเวทางค์คือ ศึกษา (สัททศาสตร์) กัลปะ (พิธีกรรม) วยากรณะ (ไวยากรณ์) นิรุกตะ (รากศัพท์) ฉันทะ (หลักคำประพันธ์) และ ชโยติษะ (ดาราศาสตร์)

ขอขอบพระคุณ : บทความจาก www.human.cmu.ac.th
บรรยายโดย อาจารย์พีรพล อิศรภักดี

คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกประเทศอินเดียและพระพิฆเนศ


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระคเณศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.