พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
อ่านเรื่องเทพเจ้าของพราหมณ์-ฮินดูได้อีกมากมาย!!
โขน "วัฒนธรรมร่วม" ของสุวรรณภูมิ ในอุษาคเนย์
คอลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม
มติชนรายวัน ปีที่ 32 ฉบับที่ 11534


1. พระนารายณ์ อวตารเป็นพระรามทรงครุฑ ภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์ตรงพลับพลามุมตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทนครวัด เป็นต้นแบบโขน 2.กูรมาวตาร ชักนาคดึกดำบรรพ์ ระเบียงตะวันออกปีกด้านใต้ของปราสาทนครวัด เป็นต้นแบบท่าโขน 3.พระเจ้าสุริยวรมัน (ที่ 2) ประทับนั่งกลางกระบวนแห่ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ภาพสลักบนระเบียงประวัติศาสตร์ปราสาทนครวัด ราว พ.ศ. 1650 เป็นต้นแบบท่าโขนนั่งเมือง 4.ทศกัณฐ์นั่งเมือง (ภาพจากหนังสือ ละครฟ้อนรำ พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2546)




(ซ้าย บน) คนใส่หน้ากากหัวสามเหลี่ยมคล้ายผีตาโขน ราว 3,000 ปีมาแล้ว ภาพเขียนบนหน้าผาที่ผาแต้ม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี (ซ้ายกลาง) หน้ากากปู่เยอย่าเยอ ผีบรรพชนที่หลวงพระบางในลาว (ซ้ายล่าง) พระรามประทับบนบ่าหนุมาน พร้อมไพร่พลใส่หน้ากากรูปต่างๆ รูปสลักเรื่องรามเกียรติ์ที่ปราสาทนครวัด ราว พ.ศ.1650

(ขวาบน) หน้าพราน หรือหน้ากากโนรา เป็นหน้ากากที่จำอวดละครโนราชาตรีใส่ปรากฏเป็นตัวอย่างอยู่จนทุกวันนี้ เป็นไปได้ว่าเป็นเครื่องแต่งประกอบสำหรับตัวที่เล่นเป็นตัวกาก เช่น ยักษ์ มาร พราน ภูต เป็นต้น (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) (ขวากลาง) ทศกัณฐ์ประทับบนรถศึก ต้นแบบราชรถในโขน ภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์ที่ปราสาทนครวัด ราว พ.ศ.1650 (ขวาล่าง) ทศกัณฐ์โยกเขาไกรลาส ภาพสลักที่หน้าบันปราสาทบันทายสรีในเขมร ต้นแบบหน้ากาโขนรูปต่างๆ




(ซ้าย) ถีบเหลี่ยมกับเต้าเสา เป็นวิธีฝึกหัดโขนเบื้องต้นเพื่อให้ตั้งเหลี่ยมอัดหน้าตรงเหมือนท่ากบ (ขอฝน) เมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว (ลายเส้นจากหนังสือโขน ของ ธนิต อยู่โพธิ์ คุรุสภา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2508 หน้า 167)

(ขวา-3 แถวบน) รูปคนท่าต่างๆ จากภาพเขียนยุคดึกดำบรรพ์ บนหน้าผาหลายแห่งที่พบในเมืองกวางสี มีลักษณะอย่างเดียวกับท่ากบ เป็นต้นแบบให้ท่าโขน

(ขวา-2 แถวล่าง) รูปคนท่าต่างๆ เป็นต้นแบบท่าโขน จากภาพเขียนยุคดึกดำบรรพ์ที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย เช่น พบที่อุบลราชธานี อุดรธานี เลย ฯลฯ

 

"ฟ้อนรำระบำเต้น" คำคล้องจองแต่โบราณกาลที่เป็นต้นกระแสให้มีพัฒนาการเป็น โขน กับ ละคร (ฟ้อน คำลาว-ระบำ, รำ คำเขมร-เต้น คำลาว)

คำว่าโขนกับละคร เป็นคำเดียวกัน มีรากจากตระกูลชวา-มลายู ว่า lecon ในราชสำนักเขมรเขียน ละโขน อ่านว่า ละคอน นับเป็น "วัฒนธรรมร่วม" การละเล่นที่มีลักษณะเฉพาะของสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์

โขน การละเล่นรวมหมู่

โขน-ไม่น่าจะมีกำเนิดมาจากการละเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว (อย่างที่เคยอธิบายกันสืบมาว่าโขนมีกำเนิดมาจากชักนาคดึกดำบรรพ์ หรือโขนมีกำเนิดมาจากหนัง เป็นต้น) แต่โขนควรเป็นการละเล่นซึ่งก่อรูปขึ้นมาจากประเพณีหลายๆ อย่างที่มีอยู่ก่อนแล้วคือหนัง ระบำ รำเต้น ชักนาคดึกดำบรรพ์ และ ฯลฯ ให้รวมเข้าด้วยกันแล้วกลายเป็นสิ่งใหม่เรียกชื่อว่า "โขน"

แม้บริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จะยกย่องชื่อ "ทวารวดี" จากมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะมาเป็นชื่อบ้านเมืองและแว่นแคว้น แต่ก็มิได้หมายความว่าชนชั้นสูงยกย่องศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูไว้สูงสุด เพราะพุทธศาสนามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

แท้จริงแล้วทั้ง พุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูมีบทบาทสำคัญประสมประสานอยู่ด้วยกันดัง กรณีเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและเมืองละโว้ จังหวัดลพบุรี ล้วนมีศาสนวัตถุสถานที่เนื่องในพุทธและพราหมณ์อยู่พร้อมๆ กันมาตั้งแต่ยุคแรกรับแบบแผนจากอินเดีย และยังมีระบบความเชื่อดั้งเดิมคือผีอยู่ด้วย

เมื่อมีระบบความเชื่อ อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาย่อมเป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่ผู้เป็นใหญ่ในสังคมนั้นๆ จะต้องจัดให้มีการละเล่นเพื่อเสริมความขลังและศักดิ์สิทธิ์ ให้ระบบความเชื่อนั้นๆ เพราะฉะนั้นบ้านเมืองที่ยกย่องคติรามายณะ ก็ควรจะมีการละเล่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์ (ถือเป็นชื่อพื้นเมือง) แม้ว่าระบบความเชื่อในยุคแรกๆ จะยังปะปนกันระหว่างพุทธกับพราหมณ์ (หรือจะเรียกฮินดูก็ตามที) และผี แต่ลักษณะผสมดังกล่าวก็มิได้เป็นอุปสรรคที่จะจัดให้มีการละเล่น

น่าเชื่อว่ามีการละเล่นที่เกี่ยวข้องกับระบบความเชื่อ เช่น รามเกียรติ์หรือมหาภารตะเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วตั้งแต่ยุคทวารวดี เพราะชื่อบ้านเมืองว่าทวารวดีมีความศักดิ์สิทธิ์มาจากมหากาพย์ 2 เรื่องนี้

แต่ก็น่าเสียดาย เพราะยังไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับการละเล่นดังกล่าว

ที่พอจะเห็นร่องรอยความต่อเนื่องบ้างก็คือความเชื่อตามคติ "จักรพรรดิราช" ในราชสำนักเขมร ซึ่งแสดงออกในพระราชพิธี "อินทราภิเษก" เช่น สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1656-หลัง พ.ศ.1688 และเชื่อว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เกี่ยวดองเป็นวงศ์ญาติกับกษัตริย์ราชวงศ์มหิธรปุระแห่งลุ่มน้ำมูลละแวกพิมาย -พนมรุ้งในเขตอีสานใต้)

การชักนาคกวนน้ำอมฤตหรือกวนเกษียรสมุทรน่าจะเป็นการละเล่นมหึมาอยู่ในราชสำนักพระ เจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพราะมีภาพสลักเรื่องนี้อยู่ที่ปราสาทนครวัด และมีความสืบเนื่องมาเป็นการละเล่นอยู่ในราชสำนักสยามในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งตราไว้ในกฎมณเฑียรบาลชื่อ "ชักนาคดึกดำบรรพ์" ในพระราชพิธีอินทราภิเษกซึ่งยกย่องว่าเป็นแบบแผนที่พระเจ้าแผ่นดินกรุง ศรีอยุธยายุคแรกๆ จัดให้มีขึ้น

หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.1893 แล้ว พระราชพิธีอินทราภิเษก ที่มีการละเล่นเกี่ยวข้องกับชักนาคดึกดำบรรพ์มิได้จัดให้มีขึ้นทุกรัชกาล เท่าที่มีบันทึกอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาจะมีประมาณ 3 ครั้ง คือในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครั้งหนึ่ง ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิครั้งหนึ่ง และในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองอีกครั้งหนึ่ง (ความจริงอาจมีมากกว่านี้ แต่ก็ไม่ทุกรัชกาล)

หลังแผ่นดินสมเด็จพระ เจ้าปราสาททองแล้วไม่พบร่องรอยการละเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์อีกเลย แต่มีชื่อ "โขน" เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

เรื่องที่เล่นโขนมาจากรามายณะของอินเดีย เมื่อไทยรับรามายณะฉบับทมิฬ-อินเดียใต้มาแล้วจึงเรียกภายหลังว่ารามเกียรติ์


โขน-เป็นการละเล่นที่ค่อยๆ ก่อรูปขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ.2034-2072) กับแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.2172-2199)

เพราะเมื่อถึงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ โขนที่เคยศักดิ์สิทธิ์อยู่ในราชสำนักก็กลายเป็นมหรสพเล่นอยู่ในโรงเพื่อต้อน รับอัครราชทูตลาลูแบร์เรียบร้อยแล้ว

รามเกียรติ์จากทมิฬ-อินเดียใต้

ละคร-เล่นเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องอื่นๆ ได้ทุกเรื่อง เมื่อประกาศเล่นละครจึงต้องบอกว่าเล่นเรื่องอะไร

โขน-เล่น รามเกียรติ์เรื่องเดียวเท่านั้นไม่เล่นเรื่องอื่น ฉะนั้น จึงไม่ต้องประกาศว่าโขนเรื่องรามเกียรติ์ เพราะโขนเล่นเรื่องอื่นไม่ได้ การประกาศโขนจะบอกชื่อตอนหรือชุดจากเรื่องรามเกียรติ์ เช่น โขนชุดนางลอย โขนชุดนาคบาศ โขนชุดจองถนน เป็นต้น

เรื่อง "รามเกียรติ์" ที่แพร่หลายอยู่ในดินแดนสยามมาแต่โบราณ (รวมทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) มิได้มีต้นตอมาจาก "รามายณะ" ฉบับของมหากวีวาลมีกิโดยตรง เพราะมีข้อแตกต่างกันมาก ดังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการในหนังสือ บ่อเกิดรามเกียรติ์

แท้ ที่จริงแล้ว รามเกียรติ์ฉบับชาวสยามมีต้นเรื่องมาจากรามายณะฉบับของชาวทมิฬในอินเดียภาค ใต้ ดังที่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ทรงพระนิพนธ์ไว้ (เมื่อ พ.ศ.2479 และ พ.ศ.2499) แล้วทรงอธิบายเพิ่มเติมต่อไปอีกว่าชาวอินเดียใต้สมัยราชวงศ์ปัลลวะและคุปตะ นำเรื่องนี้เข้ามาเผยแพร่ ต้นเรื่องรามเกียรติ์น่าจะเป็นรามายณะฉบับท้องถิ่นอินเดียใต้ ตลอดจนหนังสือปุราณะประจำถิ่นนั้น

นอกจากนี้เมื่อไทยรับนับถือพระ ศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพแห่งไสยผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแล้ว บรรดาปุราณะของพวกไศวะคือพวกที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่ ได้แก่ ลิงคปุราณะ และศิวปุราณะ ก็ได้มามีอิทธิพลต่อเรื่องพระรามในไทยด้วย

หน้ากากรามเกียรติ์

ในกฎมณเฑียรบาลมิได้ระบุแบบแผนการแต่งเครื่องของผู้เล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ที่เป็นเทวดา วานร ยักษ์ และทวยเทพชั้นสูงต่างๆ

แต่ก็มีภาพสลักรูปอสูรและเทวดาตลอดจนรูปต่างๆ เป็นต้นเค้าอยู่บนผนังปราสาทหินในเขมรและภาคอีสานของไทย เช่น ปราสาทพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทนครวัด ฯลฯ

เอกสารของลาลูแบร์รายงานว่าผู้ เล่นโขน (และระบำ) นุ่งผ้าแต่ไม่สวมเสื้อจึงแต่งเครื่องประดับกับตัวเปล่า แต่มีเทริดสวมหัวอย่างเครื่องแต่งตัวขุนนางสมัยนั้น

พระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงแปลเอกสารลาลูแบร์ที่รายงานเรื่องโขนตอนหนึ่ง ทรงถอดคำว่า Mask เป็นไทยว่า "หน้าโขน" ทุกครั้ง มิได้ทรงใช้ว่า "หัวโขน" เลย

หน้าโขน -หมายถึงหน้ากากใช้ในการละเล่นโขนสมัยแรกๆ ที่ยังไม่มีหัวโขน หน้าโขนใช้ปิดหน้าเป็นรูปต่างๆ มีตัวอย่างคือ หน้ากากพรานบุญในโนราชาตรี

ตำรา ไหว้ครูและครอบโขนละครฉบับหลวงสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ตกทอดมาจากกรุงศรีอยุธยาไม่เรียก "หัว" แต่ล้วนเรียก "หน้า" ทั้งหมด เช่น หน้าฤๅษี หน้าทศกัณฐ์ หน้าพระราม หน้าพระลักษมณ์ หน้าหนุมาน หน้าช้าง หน้าม้า ฯลฯ

ลักษณะหน้าโขนอาจมีพัฒนาการมาจากหน้ากากผีบรรพบุรุษใน การละเล่นดั้งเดิม เช่น หน้ากากปู่เยอญ่าเยอที่เล่นในวันสงกรานต์แถบล้านช้าง และอาจสัมพันธ์กับการพอก (แต่ง) หน้าในการละเล่น "กถากลิ" เรื่องรามายณะ (รามเกียรติ์) ของแคว้นทมิฬในอินเดียภาคใต้

ถ้าผู้เล่นชักนาคดึกดำ บรรพ์ใส่หน้ากากหรือหน้าโขนเป็นรูปยักษ์-ลิง ย่อมสอดคล้องกับรายงานลาลูแบร์ที่ว่าสวมเทริดอยู่บนหัว เพราะยังไม่มีหัวโขน

ถ้ามีหัวโขนแล้ว และเมื่อผู้เล่นสวมหัวโขนก็ไม่ต้องสวมเทริดซ้อนหัวโขนเข้าไปอีก

เพราะฉะนั้นก็เชื่อได้ว่าการละเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ในพระราชพิธีอินทราภิเษกนั้น ผู้เล่นใส่หน้ากากหรือหน้าโขนเป็นวานร อสูร และเป็นตัวต่างๆ ที่ระบุไว้ในเรื่องรามเกียรติ์แล้วสวมเทริดอยู่บนหัวอีกชั้นหนึ่ง

ต่อมาจึงพัฒนาหน้าโขนให้ยึดติดกับเทริดแล้วสวมหัวปิดหน้าปิดหัวมิดชิดเป็นรูปร่างหน้าตาต่างๆ จึงเรียกหัวโขน

หัวโขน-อาจจะเริ่มก่อรูปขึ้นเมื่อสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ราวแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศหรือหลังๆ มาเล็กน้อย แล้วเจริญมากขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังที่ทรงประดิษฐ์หัวโขนเรียก "พระยารักน้อย-พระยารักใหญ่"

ท่าเต้นโขน ยักษ์, ลิงได้จากท่ากบขอฝน 2,500 ปีมาแล้ว

ถีบเหลี่ยม เป็นศัพท์โขน ใช้เรียกการฝึกหัดเบื้องต้นเพื่อดัดส่วนขาให้อยู่ในท่าตั้งเหลี่ยมที่ต้อง การ คนที่หัดเป็นยักษ์และลิงต้องย่อให้ได้เหลี่ยมตรง หมายถึงยืนหลังตรง ย่อขา แบะเข่าทั้งสองข้างให้เป็นเส้นตรงออกไป เข่าซ้ายแบะไปทางซ้าย เข่าขวาแบะออกไปทางขวา จนส่วนโค้งของเข่าเป็นมุมฉาก

ท่าโขนตั้ง เหลี่ยมตรงหรือตั้งเหลี่ยมอัดหน้าตรง ไม่มีในท่าฟ้อนรำต่างๆ 93 ท่า ที่จิทัมพรัมในอินเดีย (ดูลายเส้นในหนังสือละครฟ้อนรำ พระนิพนธ์ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2546)

แต่ท่าโขนเหล่านี้มีตรงกับท่ากบ (ขอฝน) ในภาพเขียนสีทั้งที่พบในมณฑลกวางสีกับที่พบในภาคอีสานของไทย อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ผมเขียนเล่าไว้ในหนังสือคนไทยอยู่ที่นี่ ที่อุษาคเนย์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2537) ว่าภาพเขียนสีบนผาลายในมณฑลกวางสีเป็นรูปคนจำนวนนับพัน ทำท่าเดียวกันคือยืนย่อเข่า ถ่างแข้งถ่างขาสองข้าง เหมือนท่ายักษ์ ท่าลิงในโรงโขนกรมศิลปากร

ท่ากบ หมายถึงคนทำท่าเป็นกบที่ยกย่องเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้มีน้ำฝนไว้ทำไร่ไถนา เกิดความอุดมสมบูรณ์ ประเพณีอย่างนี้มีทั่วไปทุกชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์

ภาพสลักบนปราสาท หินในกัมพูชาและในอีสาน มีกองทหารนุ่งโจงกระเบนทำท่าเดินทัพ (หรือสวนสนาม) ตัดไม้ข่มนามก่อนออกรบในสมรภูมิ ล้วนตั้งเหลี่ยมอัดหน้าตรงไปในทิศทางเดียวกันเหมือนท่ากบ แสดงว่าเป็นแบบแผนพื้นเมืองอุษาคเนย์ที่ได้จากท่ากบ (ขอฝน) อันเป็นท่าเต้นศักดิ์สิทธิ์

แบบแผนภาพสลักจากท่ากบนี่เอง เป็นต้นแบบให้ท่ายักษ์ท่าลิงของโขนสืบมาจนถึงทุกวันนี้

ถ้าดูดีๆ จะเห็นว่าท่าเซิ้งบั้งไฟกับท่ารำมวยโบราณของอีสานก็มีต้นเค้ามาจากท่ากบเดียวกันนี่แหละ...

(ที่มา : คอลัมน์สยามประเทศไทย ในมติชน ฉบับวันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2552)


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.