พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู ประเทศอินเดีย พระอิศวร ท้าวมหาพรหม พระวิษณุ พระนารายณ์ พระอุมาเทวี


มองปราสาทหินจากมุมสูง

โดย : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
(บทความจาก นิตยสารสารคดี)


เมื่อคราวนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเดินทางมาเยือนไทย เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพื่อหาเสียงสนับสนุนในการเป็นตัวแทนเอเชียสำหรับการประชุมจีแปด ซึ่งจะจัดขึ้นที่ญี่ปุ่นปีนี ้ มีกลยุทธ์ทางวัฒนธรรมที่น่าประทับใจ และทำให้คนไทยรู้สึกสนิทใจสองอย่าง คือ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นไปร่วมอวยพรคู่บ่าวสาวในโรงแรมที่เข้าพัก โดยไม่ได้รับเชิญ และกล่าวว่าเจ้าบ่าวคงทำบุญร่วมชาติกับตนมาเมื่อชาติก่อน อีกเหตุการณ์หนึ่งคือไปตอบข้อซักถาม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างเป็นกันเอง ทั้งสองเหตุการณ์ต้องอาศัยการวางแผนโดยผู้ซึ่งเข้าใจ และรู้จักวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างดี
กลยุทธ์ทางการทูตโดยใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ เสมือนขนมหวานสำหรับประเทศไทยตลอดมา ผลลัพธ์ของการรับประทานโดยไม่รู้เท่าทันก็เป็นดังเช่นอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เปรียบเปรยไว้ว่า
"ประเทศเล็ก ๆ ที่ไม่มีปัญญาเป็นนักเลงโต และไม่รู้จักคุณค่าของวัฒนธรรมในทางการทูต จึงเป็นเพียงเบี้ยให้คนอื่นเขาจับเดิน" เท่านั้น (นิธิ เอียวศรีวงศ์. วัฒนธรรมและนักเลงโต. มติชนสุดสัปดาห์, ๒๕ มกราคม ๒๕๔๓)

----------------------------------------

การเสียปราสาทพระวิหารแก่กัมพูชาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นเหตุการณ์ที่แสดงถึงการขาดความรู้เรื่องคุณค่า ของวัฒนธรรมในทางการทูตครั้งสำคัญที่สุดเช่นเดียวกัน
เมื่อฝรั่งเศสได้จุดชนวนปัญหาเรื่องเขาพระวิหารใน พ.ศ. ๒๔๙๒ ก่อนกัมพูชาได้รับเอกราชหนึ่งปี โดยประท้วงที่รัฐบาลไทยเข้าครอบครองปราสาทพระวิหาร ต่อมารัฐบาลโดยการนำของเจ้าสีหนุยื่นฟ้องต่อศาลโลก ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียปราสาทพระวิหารในที่สุด ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่ได้ประท้วงแผนที่ ซึ่งฝรั่งเศสทำขึ้นตามสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๗ และ พ.ศ. ๒๔๕๐ ทั้ง ๆ ที่อยู่ภายในเขตสันปันน้ำฝั่งไทยซึ่งถือว่าเป็นหลักการแบ่งเขตแดนสากล
กรณีปราสาทพระวิหารนี้ มีแต่นักเดินทางและนักวิชาการชาวฝรั่งเศสเท่านั้น ที่ถือว่าเป็นของกัมพูชาอันเป็นอาณานิคมของพวกตน ความรู้ทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศส ที่มีต่ออาณานิคมของตนอย่างลึกซึ้ง และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของรัฐบาลไทยในอดีต คือคำตอบสำหรับการสูญเสียปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชา ทั้งที่ความเป็นจริงจะตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทยก็ตาม จักรวรรดินิยมอย่างฝรั่งเศส พยายามเข้าใจบ้านเมืองที่ตนต้องการเข้าไปครอบงำ และปกครองทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งสำคัญกว่าการใช้เพียงกำลังทหารและอาวุธเท่านั้น จึงมีการจัดตั้งสถาบันทางวิชาการอย่างเป็นทางการ โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ศึกษาทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ โบราณคดี และชาติพันธุ์วรรณา ส่งนักวิชาการสาขาต่าง ๆ เข้ามาศึกษาค้นคว้า พิมพ์ผลงานอย่างเป็นระบบ และจัดตั้ง "สถาบันฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ" (BEFEO) ซึ่งยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
บุคคลที่มีบทบาทในการศึกษา สำรวจ ถ่ายภาพ สเกตช์ ทำแผนผัง ปราสาทหินในเขมร ลาว และไทย ดังเช่น นายเอเตียน แอมมอนิเยร์ พันเอก เอเตียน เอ็ดมองค์ ลูเนต์ เดอลาจองกิแยร์ รวมถึงศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึก ที่สามารถลำดับกษัตริย์ขอมสมัยก่อน และหลังเมืองพระนครได้น่าเชื่อถือกว่าผู้อื่น จนเป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลา ต่อมา

ด้วยการให้ความสำคัญและความเข้าใจทางประวัติศาสตร์โบราณคดี สังคมวัฒนธรรมดังกล่าวนี่เอง เมื่อเกิดกรณีพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหาร กัมพูชาจึงใช้ข้อมูลเหล่านี้จากนักวิชาการฝรั่งเศส สร้างความได้เปรียบให้แก่ตน ในขณะที่ฝ่ายไทยมองไม่เห็นความเชื่อมโยง ระหว่างการศึกษาทางสังคมวัฒนธรรม กับการใช้เพื่อการเมืองและการทูตนัก
แนวทางของนักวิชาการจากสถาบันฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการศึกษาด้านโบราณคดี และประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน เพราะนักวิชาการไทยยุคแรก ๆ ได้บุกเบิกการเรียนการสอน โดยเฉพาะในวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ในแนวทางเดียวกับที่นักวิชการจากสำนักนี้ได้เริ่มต้นไว้อย่างมั่นคง และถ่ายทอดสู่นักศึกษารุ่นต่อมาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นแนวทางหลักของการเรียนการสอน และการทำงานทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดีในประเทศไทย
แต่ดูเหมือนเราจะได้เทคนิค และวิธีการศึกษามามากว่าจะทำความเข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สังคม กับการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่สุดในการเข้าใจวัฒนธรรมอย่างถึงแก่น ไม่ติดเพียงเปลือกนอกผลงานการศึกษาและบูรณะปราสาทหินต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นพยานถึงอิทธิพลดังกล่าวได้ดี เพราะข้อมูลที่ได้จากปราสาทหินแต่ละแห่ง จะเกี่ยวข้องกับการศึกษาจารึก รูปแบบและวิวัฒนาการของศิลปกรรม ที่มีการกำหนดอายุอย่างแน่นอนของกษัตริย์สมัยก่อน และหลังเมืองพระนคร การศึกษาลวดลายแกะสลักเรื่องราวจากมหากาพย์รามายณะ มหาภารตะ ตลอดจนเทพในนิกายความเชื่อต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ตามทับหลัง หน้าบัน ประติมากรรมรูปเคารพ หรือการทำความเข้าใจความหมายเชิงปรัชญา ขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่าง ๆ
กล่าวได้ว่า เป็นข้อมูลที่มีมากที่สุด โดยไม่ให้ความสำคัญแก่ผู้คนที่เคยเป็นเจ้าของดินแดนแห่งปราสาทหินเหล่านั้น
สิ่ง ที่เราให้ความสำคัญต่อปราสาทหิน ในแอ่งอารยธรรมอีสานของเราอย่างมากที่สุดก็คือ การสร้าง "อุทยานประวัติศาสตร์" ซึ่งเน้นความสวยงามของภูมิทัศน์รอบ ๆ ตัวปราสาท นับเป็นการหาประโยชน์เฉพาะหน้าเพื่อการท่องเที่ยวอย่างชัดเจน
ปราสาทหินทุกแห่งควรได้รับการพิจารณาในมุมกว้าง ไม่เน้นแต่เฉพาะการเป็นโบราณสถานแต่เพียงอย่างเดียว

----------------------------------------

แอ่งอารยธรรมอีสาน
บริเวณที่ราบสูงภาคอีสานของไทย ได้ชื่อว่าเป็นแอ่งอารยธรรมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ลักษณะทางภูมิศาสตร์แบ่งเป็นสองเขต คือ แอ่งสกลนครทางตอนบน และแอ่งโคราชทางตอนล่าง โดยมีเทือกเขาภูพานคั่นกลาง ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากรทำให้ผู้คนทั้งสองแห่ง มีรายละเอียดทางวัฒนธรรมต่างกันไปด้วย ดังปรากฏจากรูปแบบของภาชนะดินเผาในประเพณีการฝังศพ ตลอดจนลักษณะทางศิลปกรรมภายหลังปรับรับระบบความเชื่อจากภายนอกแล้ว
เมื่ออิทธิพลทางพุทธศาสนา แพร่จากอินเดียเข้าสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำให้ชุมชนดั้งเดิมในภูมิภาคนี้ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไปอย่างเห็นได้ชัด พัฒนาเป็นบ้านเมืองและรัฐ เนื่องในวัฒนธรรมทวารวดี อันมีช่วงเวลาอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ วัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลาง ได้แพร่ข้ามเขตภูมิศาสตร์สู่ดินแดนในแอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร ผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม จนกลายเป็นวัฒนธรรมทวารวดีแบบท้องถิ่น
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน อิทธิพลทางศาสนาจากอินเดีย ได้แพร่เข้าสู่ชุมชนบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงด้วย เกิดลักษณะทางศิลปกรรมทางพุทธศาสนาแบบฟูนัน และฮินดูแบบเจนละอันเป็นต้นเค้าของศิลปกรรมขอม บริเวณเหนือทะเลสาบเขมร

ดังนั้น ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ลงมา ผู้คนในแถบอีสานจึงมีระบบความเชื่อ ทั้งที่เป็นการนับถือผี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมในชุมชนดั้งเดิม การนับถือพุทธศาสนา และศาสนาฮินดูควบคู่กันไป
วัฒนธรรมขอมจากกัมพูชาส่งผลกระทบทางสังคม และการเมืองต่อชุมชนในเขตอีสาน โดยเฉพาะในแอ่งโคราชช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ เป็นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นจากศาสนสถานต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นในคติความเชื่อทางศาสนาฮินดูและพุทธมหายาน ประติมากรรมรูปเคารพ ตลอดจนข้อความจารึก ลักษณะการวางผังเมืองรูปสี่เหลี่ยม เทคโนโลยีการชลประทาน กล่าวได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของอิทธิพลทางการเมือง จากศูนย์กลางอำนาจที่เมืองพระนคร
อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรขอมอันยิ่งใหญ่แห่งเมืองพระนคร ดังที่มักเข้าใจสับสนกับวิธีการล่าเมืองขึ้น ในสมัยอาณานิคมตลอดมา เพราะพบจารึกในอีสานหลายหลัก ที่เอ่ยพระนามของกษัตริย์ที่ไม่ได้ครองราชย์ในเมืองพระนคร แต่เป็นญาติกับกษัตริย์แห่งเมืองพระนคร กล่าวได้ว่า ขอมในภาคอีสานเป็นเพียงขอมชายขอบนั่นเอง
การ นับถือศาสนาจากภายนอกนี้ น่าจะถูกเผยแพร่ผ่านพระสงฆ์ ฤาษี นักบวช ที่ออกจาริกแสวงบุญเผยแพร่คำสอน ดังปรากฏในตำนานต่าง ๆ กลุ่มชนชั้นที่รับระบบความเชื่อเช่นนี้ได้อย่างรวดเร็ว คือ พวกกษัตริย์และชนชั้นปกครอง ซึ่งคงนับถือศาสนาฮินดูหรือพุทธศาสนาแบบมหายาน เพราะรูปแบบความเชื่อเช่นนี้ ทำให้เกิดการจัดการปกครองแบบนครรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนประชาชนทั่วไปคงนับถือพุทธศาสนา และมีบางส่วนคงนับถือผีตามเดิม

หากเปรียบไปแล้ว ภาพถ่ายจากมุมสูงที่เห็นถึงแผนผังอันใหญ่โตของศาสนสถาน ตลอดจนสภาพแวดล้อมบริเวณรอบ ๆ เสมือนแรงบันดาลใจอันแจ่มชัด ต่อการพิจารณาบริบทแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรมในการเกิดขึ้นของปราสาทหิน มากกว่าการศึกษาศิลปกรรม และประติมานวิทยา*เฉพาะตัวปราสาทดังที่เป็นอยู่
การศึกษาปราสาทหินในมุมสูงทำให้เราได้เห็น...

----------------------------------------

บริเวณที่ตั้งของปราสาทหินหลายแห่ง ปรากฏความต่อเนื่องในการอยู่อาศัย มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เมืองพิมายอยู่ทางตอนบนของลุ่มน้ำมูล ในแอ่งโคราช มีมนุษย์อยู่อาศัยกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในเขตอำเภอโนนสูงและอำเภอพิมายมีลักษณะเป็นที่ราบ เรียกว่า "ทุ่งสัมฤทธิ์" มีชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ค่อนข้างหนาแน่น เรียกกันโดยมากว่า ชุมชนในวัฒนธรรมทุ่งสัมฤทธิ์
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือ "บ้านปราสาท" ห่างจากเมืองพิมายราว ๑๒ กิโลเมตร มีการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่เมื่อราว ๓,๐๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ใช้ภาชนะลักษณะเด่นแบบปากแตร ต่อมาใช้ภาชนะสีดำขัดมันหรือแบบพิมายดำ ซึ่งใช้เรื่อยมาจนถึงสมัยทวารวดีที่แรกรับพุทธศาสนา บริเวณเมืองพิมายก็มีภาชนะแบบพิมายดำอยู่ด้วย
จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ มีการรับพุทธศาสนาแบบมหายาน เข้ามาเป็นศาสนาประจำถิ่น กลายเป็นเมืองศูนย์กลางในลุ่มน้ำมูล เนื่องจากตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมระหว่างภูมิภาค ผ่านไปยังพนมดงรัก ข้ามช่องเขาสู่เขมรต่ำในกลุ่มเมืองพระนคร ขึ้นไปทางเหนือเข้าลุ่มน้ำชีและแอ่งสกลนครและลุ่มน้ำโขง ทางตะวันตกข้ามดงพญาเย็นแถบลำสนธิสู่เมืองศรีเทพและลพบุรี
ต่อมาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้ต่อเติมเปลี่ยนแปลงปราสาทหิน และสร้างอาคารศาสนสถานเพิ่มเติม
เมื่อมีการขยายตัวของชุมชนหนาแน่นขึ้น จากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์กลายเป็นเมืองที่มีความซับซ้อน เป็นเมืองที่มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยการขุดคูน้ำชั้นเดียว มีปราสาทพิมายเป็นศูนย์กลาง ต่อมาได้ขยายเมืองไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นชุมชนเมืองที่จัดสร้างขึ้นตามรูปแบบอิทธิพลจากเมืองพระนคร โอบล้อมด้วยลำน้ำหลายสาย คือ ลำน้ำมูล ลำจักราช และลำน้ำเค็ม ในรัศมี ๒๐ กิโลเมตรของเมืองพิมายแวดล้อมไปด้วยชุมชนบริวารซึ่งเป็นที่ลุ่มทำการเกษตร ได้ดี
เมืองพิมายคือศูนย์กลางแห่งศิลปวัฒนธรรม และการปกครองของกลุ่มบ้านเมืองในลุ่มน้ำมูลตอนบน ที่พัฒนาขึ้นมากจากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนกลายเป็นศูนย์กลางของชุมชน ที่นับถือพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นหลัก ในขณะที่ขอมเมืองพระนครนับถือฮินดู อันแสดงให้เห็นความแตกต่างทางความเชื่อ และทางการเมืองของกลุ่มคนทั้งสองแห่งอย่างชัดเจน

----------------------------------------

ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน กลายเป็นที่ตั้งศาสนสถานบนยอดเขา
มนุษย์มีความเชื่อดั้งเดิมคล้ายคลึงกันทุกกลุ่มชาติพันธุ์ว่า ยอดเขาคือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และสามารถติดต่อกับอำนาจเหนือธรรมชาติได้ ยอดเขาบางแห่งที่สูงและห่างไกล ปกคลุมด้วยหิมะหรือความหนาวเย็นกลายเป็นที่สถิตของเทพเจ้า หลาย ๆ แห่ง คือสถานที่จาริกแสวงบุญของผู้คน ซึ่งเชื่อว่าการไปถึงยอดเขาจะสามารถติดต่อ และใกล้ชิดกับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ได้มากที่สุด
ความเชื่อดั้งเดิมของผู้คนในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เช่นเดียวกัน เมื่อปรับรับระบบความเชื่อทางพุทธศาสนา และศาสนาฮินดูมาเป็นของตน ปรัชญาเกี่ยวกับระบบจักรวาล ที่มีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลางของโลก และยอดเขาคือสถานที่สถิตของเทพเจ้า สอดคล้องกับความเชื่อเดิมในท้องถิ่น ดังนั้นเราจึงพบการคัดเลือกยอดเขาที่มีความสวยงาม หรือแปลกกว่ายอดเขาบริเวณใกล้เคียง และการปรับเปลี่ยนยอดเขาอันศักดิ์สิทธิ์แต่เดิม ให้กลายเป็นศาสนสถานสำคัญของชุมชน
ใน บรรดาศาสนสถานขนาดใหญ่บนยอดเขา ปราสาทพระวิหารมีความโดดเด่นที่สุด ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรักกั้นระหว่างเขตเขมรต่ำกลุ่มเมืองพระนคร และเขมรสูงในภาคอีสานของไทย บริเวณกลุ่มปราสาทหันหน้าสู่เขตเขมรสูงลาดต่ำจากเหนือไปใต้ ความสูงต่างกันราว ๑๒๐ เมตร ลักษณะเป็นที่ราบหน้ากระดานบนยอดเขา บริเวณหน้าผาชันเรียกกันว่า เป้ยตาดี หากชาวขอมโบราณจากเมืองพระนคร ต้องการมาแสวงบุญที่ปราสาทพระวิหาร จะต้องเข้ามาทางช่องเขาบริเวณใกล้เคียง หรือปีนหน้าผาสูงชันที่ช่องบันไดหัก

กล่าวกันว่าปราสาทพระวิหารคือการแสดงอำนาจของกษัตริย์แห่งเมืองพระนคร ที่เน้นความเชื่อเรื่องเทวราชา อันหมายถึงกษัตริย์คืออวตารหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ศูนย์รวมแห่งคติความเชื่อ คือการสร้างมหาปราสาทประดิษฐานศิวลึงค์ อันเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะ และพระมหากษัตริย์ ดังนั้นจึงมีการต่อเติมจากกษัตริย์แห่งเมืองพระนครหลายยุคหลายสมัย
การเติบโตของชุมชนบริเวณใกล้เคียงเขาพระวิหาร สัมพันธ์กับช่องเขาติดต่อระหว่างบ้านเมืองทั้งสองเขต ของเทือกเขาพนมดงรัก เส้นทางผ่านช่องเขา คือมีชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยทวารวดีอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนที่สืบเนื่องจากอิทธิพลขอมสมัยเมืองพระนครไปแล้ว จึงพบปราสาทขนาดใหญ่และเล็กอยู่ทั่วไป ที่สำคัญและมีขนาดใหญ่ เช่น ปราสาทสระกำแพงใหญ่ และ ปราสาทพนมรุ้ง
ปราสาทสระกำแพงใหญ่เป็นปราสาทขนาดใหญ่และฝีมือช่างชั้นสูง สะท้อนให้เห็นว่าน่าจะเป็นปราสาทที่มีความสำคัญระดับภูมิภาค ที่สร้างขึ้นในบริเวณเมืองที่อยู่ในตำแหน่งที่มีความสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในขณะนั้น และควรเป็นปราสาทที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ หรือเจ้านายท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับกษัตริย์แห่งเมืองพระนครอยู่บ้าง จึงมีการซ่อมต่อเติมหลายสมัย อีกทั้งได้พบเทวรูปสำริดขนาดใหญ่ฝีมือคล้ายกับที่พบในเมืองพระนครด้วย
ทางใต้ของแม่น้ำมูลซึ่งเป็นที่ราบลุ่มและที่สูง มีภูเขาขนาดเล็กจำนวนหนึ่งซึ่งเคยเป็นภูเขาไฟในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ บริเวณยอดภูพนมรุ้งเป็นที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งคงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนในท้องถิ่น จึงมีการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่บนยอดภูเขาไฟซึ่งดับแล้ว

ปราสาทพนมรุ้งเป็นปราสาทที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ มีความงามเทียบเท่าฝีมือช่างจากศูนย์กลางที่เมืองพระนคร จึงคงไม่เป็นเพียงศาสนสถานภายในท้องถิ่นเท่านั้น แต่มีความสัมพันธ์กับกษัตริย์จากเมืองพระนคร เพราะพนมรุ้งคือแหล่งกำเนิดผู้นำท้องถิ่นสำคัญ ซึ่งจารึกระบุว่าเป็นพระญาติผู้ใหญ่ของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ผู้สร้างปราสาทนครวัด
ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่นจึงเปลี่ยนแปลงฐานะกลายเป็นเทวาลัยของพระศิวะในที่สุด
ที่ ตั้งของปราสาทอยู่ในตำแหน่งสูงสุดของภูเขา ต่ำลงไปเป็นบริเวณแอ่งซึ่งคือปากปล่องภูเขาไฟ ส่วนหนึ่งคืออ่างเก็บน้ำ มีลำน้ำที่ไหลลงจากเขาสู่ที่ราบลุ่มสู่ชุมชนซึ่งมีศาสนสถาน ไร่นา สระน้ำ และอ่างเก็บน้ำกระจายอยู่ทั่วไป มีแนวคันชักน้ำไปที่ปราสาทเมืองต่ำ ซึ่งขุดบารายขนาดใหญ่รอรับน้ำที่ไหลมาจากภูพนมรุ้ง
นอก จากนี้ ภูอังคารและภูปลายบัต ซึ่งเป็นภูเขาในบริเวณใกล้เคียง ก็มีศาสนสถานอยู่บนเขาเช่นเดียวกัน เพียงแต่ไม่ใหญ่และงดงามเท่าภูพนมรุ้ง
กลุ่ม ปราสาทตาเมือนอยู่ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้ช่องตาเมือน อันเป็นช่องเขาติดต่อระหว่างเขตเขมรสูงกับเขมรต่ำ ประกอบด้วยปราสาทสามกลุ่ม คือ ปราสาทตาเมือน คือธรรมศาลาหรือที่พักคนเดินทาง และปราสาทตาเมือนโต๊ดลักษณะเป็นอโรคยศาล ซึ่งปราสาททั้งสองกลุ่มสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ส่วนปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุด สร้างบนพื้นของภูเขาในส่วนที่เป็นพื้นหินธรรมชาติ
สิ่งที่ทำให้ปราสาทตาเมือนธมเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนได้ คือภายในปราสาทประธานประดิษฐานศิวลึงค์ ที่ใช้แท่งหินทรายธรรมชาติ ซึ่งชี้ให้เห็นความสำคัญของการเลือกพื้นที่ในการสร้างศาสนสถานได้อย่างดี

----------------------------------------

ปราสาทหินคือศูนย์กลางของเมือง ที่มีระบบชลประทานชั้นยอดในเขตแห้งแล้ง
ระบบชลประทานที่เป็นการขุดสระน้ำขนาดใหญ่รับอิทธิพลมาจากอินเดียใต้และศรี ลังกา เป็นแม่แบบให้อารยธรรมขอมและส่งอิทธิพลต่อมาสู่ดินแดนในภาคอีสาน ความแตกต่างคือบารายในกัมพูชา และเมืองไทยเห็นได้ชัดว่าควบคุมโดยรัฐ แต่ในอินเดีย และศรีลังกาควบคุมด้วยชุมชนท้องถิ่น เพราะเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมในชุมชนด้วย
พื้นที่บริเวณอีสานส่วนใหญ่เป็นเขตที่ขาดแคลนน้ำธรรมชาติในช่วงหน้าแล้ง ความต้องการน้ำใช้ตลอดทั้งป ีทำให้วิธีการกักเก็บน้ำเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐาน ในยุคแรก จะอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น สระ ลำห้วยแม่น้ำ ภายหลังจึงมีการขุดคูน้ำล้อมรอบศาสนสถานหรือชุมชน ต่อมาจึงสามารถจัดการน้ำโดยการขุดสระขนาดใหญ่กักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ ลักษณะดังกล่าวแสดงถึงพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมได้อย่างดี
สระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า บาราย สัมพันธ์อย่างชัดเจนกับอิทธิพลวัฒนธรรมขอมจากเมืองพระนคร โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ บารายหรือสระน้ำขนาดใหญ่ จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีเมือง หรือที่เรียกว่าปุระตั้งอยู่ด้วย เพราะต้องอาศัยกำลังคนจำนวนมากในการขุดสระ เพื่อรองรับประชากรจำนวนมากในระดับเมือง หรือปุระนั่นเอง ดังนั้นจึงต้องได้รับการอุปถัมภ์หรือควบคุมโดยกษัตริย์หรือชนชั้นสูง

ชุมชนเมืองขนาดใหญ่ที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมขอม สามารถพัฒนาการตั้งถิ่นฐานในเขตแห้งแล้งได้ทั้งปี โดยการกักเก็บน้ำไว้ในบาราย อ่างเก็บน้ำหรือบารายขนาดใหญ่ที่สุดในเขตอีสานขนาดราว ๑,๒๐๐ x ๗๐๐ เมตร
สระน้ำขนาดเล็กในบริเวณศาสนสถาน คือสัญลักษณ์ของมหาสมุทรทั้งสี่ทิศที่มีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง ไม่ใช่บารายซึ่งเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ สำหรับใช้เพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภคของผู้คนทั้งชุมชน
จากภูพนมรุ้งมีแนวคันชักน้ำไปที่บารายรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ใกล้กับปราสาทเมืองต่ำ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ราบไม่ไกลจากพนมรุ้งนัก เป็นศาสนสถานที่อยู่ในคติความเชื่อเดียวกัน ปราสาทเมืองต่ำมีแผนผังที่งดงามสมมาตร และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาล

ศาสนสถานเนื่องในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา สร้างตามปรัชญาความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาล ดังนั้นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม จึงเป็นสัญลักษณ์แทนความเชื่อเรื่องจักรวาล การสร้างปราสาทหินมีปราสาทประธานแทนเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลางของโลก สระน้ำทั้งสี่ทิศแทนมหานทีสีทันดร มีการแกะสลักสัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ตามเชิงเขาพระสุเมรุประกอบตามที่ต่าง ๆ
บารายหรืออ่างเก็บน้ำของปราสาทสระกำแพงใหญ่ อยู่ทางด้านตะวันออกของตัวปราสาท น่าเสียดายที่ขอบด้านหนึ่งถูกทางรถไฟตัดไป แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งพ้องกับฝีมือช่างชั้นเยี่ยมในการสร้างปราสาท และโบราณวัตถุสำคัญที่พบ

อย่างไรก็ตาม บารายในสมัยโบราณได้กลายเป็นอ่างเก็บน้ำ ที่ยังคงใช้กันมาถึงปัจจุบัน แม้บางแห่งจะถูกทำให้เป็นอ่างเก็บน้ำยุคใหม่ทับซ้อนบารายเดิม บางแห่งขุดขยายเพิ่มเติมจนไม่ใช่รูปสี่เหลี่ยมไปบ้าง
แต่ก็ทำให้เห็นว่า ความสำคัญของการกักเก็บน้ำในภาคอีสานยังคงมีความจำเป็นเสมอมา
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของบริบทในการศึกษาสังคมวัฒนธรรมของผู้สร้างปราสาทหิน ที่ไม่ได้ถูกนำมาคิดมามองเท่าไรนัก หากเราพยายามทำความเข้าใจโบราณสถาน โดยปราศจากอคติครอบงำทางความคิด ที่เวียนวนแต่เฉพาะความงาม ลักษณะทางศิลปกรรม และประติมานวิทยาเพียงอย่างเดียว เราจะพบว่า มิติในการศึกษาจากมุมสูง ที่เข้าใจไปถึงสังคมและวัฒนธรรมของผู้สร้าง จะเปลี่ยนมุมมองที่เคยเห็นไปได้อย่างกว้างไกลและคาดไม่ถึงทีเดียว
เมื่อถึงเวลาใช้งานจะได้รู้เท่าทัน และไม่กลายเป็นเบี้ยให้คนอื่นเขาจับเดินอยู่ร่ำไป

----------------------------------------

*ประติมานวิทยา (Iconography) การศึกษาลักษณะเรื่องราว รูปภาพ รูปเคารพ ที่เป็นงานศิลปะ โดยการพิสูจน์ พรรณนา ตีความ แยกแยะ ประวัติ และความหมายของวัตถุ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องทางศาสนา และวัฒนธรรม เช่น การศึกษาสัญลักษณ์ และความหมาย ในงานศิลปะทางศาสนา ของประติมากรรม และสถาปัตยกรรมโบราณ เป็นต้น

----------------------------------------

บรรณานุกรม : ศรีศักร วัลลิโภดม. แอ่งอารยธรรมอีสาน สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ, ๒๕๓๓



ขอขอบพระคุณ : นิตยสารสารคดี


บทความจาก - นิตยสารสารคดี

- แรกนาขวัญ : สร้างขวัญและกำลังใจชาวไร่ชาวนา

- ความลับของนางระบำหน้าท้อง (ที่เกี่ยวกับพระศิวะ)


- จาริกบุญ ณ ขุนเขาศรีปาทะ ประเทศศรีลังกา

- มองปราสาทหินจากมุมสูง

- พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ กับศรัทธาของผู้สร้าง


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา

 

ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.