พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู ประเทศอินเดีย พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ พระแม่อุมาเทวี

นวราตรี – ทุรคาบูชา ณ วัดวิษณุ

(บทความจาก วารสารเมืองโบราณ)
เรื่อง : วิชญดา ทองแดง / ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์


เทวรูปพระแม่ทุรคา (ปางหนึ่งของพระอุมา) ในงานนวราตรี วัดวิษณุ

ตามปฏิทินฮินดูในรอบปีมีเทศกาลงานสำคัญต่างๆ เริ่มจากขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า ไปจนถึงแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ อยู่ ๓๖ งาน หากงานที่ชาวฮินดูในสยามประเทศเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่จนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง คืองานนวราตร

งานนวราตรีจัดขึ้นปีละสองครั้ง คือในช่วงปีใหม่ (ขึ้น ๑ – ๙ ค่ำ เดือนห้า ) และในช่วงกลางปี (ขึ้น ๑ -๙ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด) เรียกว่า สรัททิยะนวราตรี (Shardiya Navaratri) ความเชื่อเก่าแก่ของชาวอินเดียนั้นถือกันว่าในหนึ่งปีประกอบไปด้วยฤดูร้อน และฤดูหนาว ฤดูกาลที่ผลัดเปลี่ยนส่งผลต่อร่างกายและจิตใจมนุษย์ จึงเกิดการบวงสรวงเทพเจ้าผู้คุ้มครองเพื่อขอพลังแห่งชีวิต

ฮินดูในแดนไทย

ร่องรอยการนับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูในดินแดนไทยนั้น ว่ากันว่าเก่าแก่มาแต่ครั้งพระโสณะและพระอุตตระเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในดิน แดนสุวรรณภูมิราวพุทธศตวรรษที่ ๓ มีคณะพราหมณ์ติดตามมาด้วย จารึกสมัยสุโขทัยกล่าวถึงพราหมณ์ในสมัยนั้นเช่นกัน ต่อเนื่องมาในสมัยอยุธยา พราหมณ์มีบทบาทสำคัญในราชสำนักสืบมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีกรมพิธีพราหมณ์ประกอบพิธีสำคัญแห่งแผ่นดิน ซึ่งต่อมาถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ ๗ ปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีพราหมณ์ประกอบพิธีราชสำนัก โดยมีพระครูวามเทพมุนีเป็นหัวหน้าพราหมณ์แห่งศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

หากแต่ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ที่คลี่คลายมาเป็นศาสนาฮินดูนั้น๑ ไม่ได้มีอยู่จำเพาะพราหมณ์ในราชสำนัก มีเรื่องเล่ากันมาว่า พ่อค้าประชาชนและคนทั่วไปที่นับถือศาสนาฮินดูกลุ่มแรกๆ เข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนไทยหลายร้อยปีแล้ว และคงเป็นกลุ่มที่นับถือเทพสตรีเป็นหลัก ด้วยเคยมีเรื่องเล่าถึงศาลไม้ใต้ต้นสะเดาอันเป็นที่ประทับของพระศรีมารี อัมมัน หรือพระอุมาเทวี ตั้งอยู่กลางไร่อ้อยที่กลายมาเป็นบริเวณหัวลำโพงในปัจจุบัน ต่อมากลุ่มพ่อค้าชาวฮินดูเห็นชอบให้ย้ายมาสร้างวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือวัดแขก สีลม ในสมัยรัชกาลที่ ๕

ศรัทธาวัดแขกสีลมในระยะแรกมีชาวอินเดียมาจากหลายถิ่นหลายภาค กลุ่มใหญ่คือชาวทมิฬจากอินเดียใต้ เมื่อชาวภารตะมีจำนวนมากขึ้น กลุ่มชนทางเหนือโดยเฉพาะจากอุตตรประเทศจึงได้แยกไปตั้งสมาคมฮินดูธรรมสภา) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ และริเริ่มสร้างวัดวิษณุ ยานนาวาในปี พ.ศ. ๒๔๖๓

ปัจจุบันองค์กรพราหมณ์ - ฮินดูสำคัญในเมืองไทย มีอยู่ด้วยกัน ๓ แห่ง คือ สํานักพราหมณ์พระราชครู (เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า) สมาคมฮินดูสมาช (วัดเทพมณเฑียร เสาชิงช้า) และสมาคมฮินดูธรรมสภา (วัดวิษณุ ยานนาวา) โดยมีวัดพระศรีอุมาเทวี หรือวัดแขกสีลมขึ้นอยู่กับสมาคมฮินดูธรรมสภา

นวราตรี : พลังอำนาจแห่งอิสตรี


เทวรูปทั้งห้าบนปะรำพิธี ได้แก่ พระแม่ทุรคา (องค์กลาง) พระลักษมี (ซ้ายใน)
พระสรัสวดี (ขวาใน) พระคเณศ (ซ้ายนอก) และพระขันทกุมาร (ขวานอก)

เทพเจ้า ในศาสนาฮินดูมีอยู่เกินคณานับ คัมภีร์ปุราณะต่างฉบับอธิบายความเป็นมาและความสัมพันธ์แตกต่างกัน ส่งผลให้มีลัทธินิกายต่างๆ มายมายตามเทพเจ้าที่นับถือ นิกายใหญ่ๆ ได้แก่ไวษณพนิกาย บูชาพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นหลัก ไศวะนิกาย บูชาพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นมหาเทพ และนิกายศักติ ซึ่งยึดถือศักติ คือพระอุมา-ชายาพระศิวะ และเทพนารีทั้งปวงเป็นสรณะ

ณ แดนภารตะ การจัดงานนวราตรีมีหลายรูปแบบ กอปรด้วยรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันตามภูมิสถาน๒ บางแห่งรู้จักกันในชื่อเทศกาลดูเซร่า (Dussehra-ทศหรา?) หลายพื้นที่ในอินเดียภาคเหนือมักถือเทศกาลนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง วาระยิ่งใหญ่ที่พระรามได้ชัยชนะจากการปราบทศกัณฐ์ จึงมีการทำหุ่นขนาดใหญ่ของทศกัณฐ์พร้อมกุมภกรรณ (Kumbhakarna) น้องชาย และเมฆนาถ (Meghnadh - รณพักตร์หรืออินทรชิตในพากย์ไทย) ขึ้นมา ก่อนเผาไฟในวันที่สิบของเทศกาล เรียกชื่องานช่วงนี้ว่า “ทศหรา”๓ หรือวัน (พระราม) ชนะทศกัณฐ์ ส่วนทางภาคใต้ซึ่งเป็นดินแดนแห่งทศกัณฐ์ ไม่มีประเพณีดังกล่าว เพราะเป็นดินแดนแห่งทศกัณฐ์เฉลิมฉลองสิ่งอื่นแทน เช่นเทศกาลปงกัลของสังคมชาวนา หรือทุรคาบูชา เทศกาลเฉลิมฉลองการปราบมหิษาสูรของพระแม่ทุรคา ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยแห่งการเฉลิมฉลองต่างไปตามแต่ละถิ่น

หลายแห่งในรัฐทมิฬนาฑู อินเดียใต้กำหนดจัดงานนวราตรีเก้าวันเก้าคืน โดยแบ่งเป็นการบูชาเทพนารีสามองค์ คือ พระลักษมี พระสรัสวดี และพระอุมาเทวี องค์ละสามคืนไล่เรียงกันไป

อิทธิพลของเทศกาลนวราตรีที่ส่งมายังแดนไทย ถือเป็นช่วงที่พระแม่อุมาและขบวนเทพจะเสด็จมาสู่พื้นพิภพเพื่อประทานพรแก่ ชาวโลก จึงมีการบูชาพระศรีมหาอุมาเทวีเก้าปางในเก้าคืน คือ

คืนแรก ปางไศลปุตรี ธิดาของหิมพาน ราชาแห่งภูเขา

คืนที่สอง ปางพรหมจาริณี พระแม่เกิดขึ้นเอง ไม่มีพ่อแม่ และอยู่เป็นโสด

คืนที่สาม ปางจันทรฆัณฎา ทรงปราบอสูรด้วยเสียงระฆัง

คืนที่สี่ ปางกูษามาณฑา ทรงปราบอสูร ด้วยอาวุธ (บ้างว่าเป็นปางทุรคา)

คืนที่ห้า ปางสกันทมาตา ทรงเลี้ยงพระขันทกุมาร โอรสผู้เกิดจากพระศิวะ

คืนที่หก ปางกาตยานี ทรงปราบอสูร (บ้างว่าทรงปราบมหิษาสูร)

คืนที่เจ็ด ปางกาลราตรี หรือกาลี ทรงเสวยเลือดอสูร

คืนที่แปด ปางมหาเคารี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งธัญชาติ ทำให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์

คืนที่เก้า ปางสิทธิธาตรี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งความสำเร็จ

ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม ในช่วงนวราตรีเดือนสิบเอ็ดนั้นนอกจากงานบูชาในแต่ละคืนแล้ว สิ่งที่หลายคนรอคอย คือขบวนแห่เทพเจ้าในคืนที่สุดท้าย ขบวนแห่จะเริ่มเคลื่อนไปตามท้องถนนตั้งแต่ราวหนึ่งทุ่ม โดยมีพราหมณ์ประทับทรงพระแม่อุมาทูนหม้อกลศัม บรรจุทราย น้ำ เหรียญ และเครื่องบูชา นำขบวนแห่ออกไปยังท้องถนนในย่านใกล้เคียงเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้กราบไหว้บูชา และเทพเจ้ารับของเซ่นไหว้จากโต๊ะบูชา

นอกจากนี้ยังมีร่างทรงเจ้าแม่กาลี ขันทกุมาร และขบวนราชรถ เมื่อร่างทรงแห่ผ่าน ผู้ศรัทธาจะทุ่มมะพร้าวลงพื้น บ้างว่าเพื่อชำระล้างให้พื้นธรณีเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ บ้างก็ว่ามะพร้าวนี้แทนหัวกะโหลกที่นำมาเซ่นสังเวยพระแม่

เทศกาลนวราตรี – บูชาพระแม่ศรีอุมาเทวี ที่วัดวิษณุ



พิธีวันแรกของงานนวราตรี ณ วัดวิษณุ ยานนาวา เริ่มด้วยการบูชาพระคเณศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ


ณ วัดวิษณุ ยานนาวา ปี ๒๕๕๑ งานเทศกาลนวราตรี เพื่อบูชาองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๐ กันยายน - ๙ ตุลาคม เปิดให้ผู้ศรัทธาสักการะเทวรูปพระแม่และเทพเจ้าองค์อื่นๆได้ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. - ๒๑.๓๐ น. เพื่อขอพรนำสิริมงคลมาสู่ตนและครอบครัวโดยไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา

ในเทศกาลนี้เน้นการรักษาศีล ทำกายใจให้บริสุทธิ์ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ สวดมนต์ และปฏิบัติธรรม ช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับเทศกาลถือศีลกินเจของชาวจีน จึงมีคนไทยเชื้อสายจีนมาร่วมงานด้วย

นายกฤษณะ ดั้ท อุปะเดีย นายกสมาคมฮินดูธรรมสภา – วัดวิษณุ ผู้เป็นแม่งานหลักในการเตรียมงานและจัดงานนี้ เล่าว่า เดิมวัดวิษณุมีพิธีนวราตรีมาเนิ่นนานแล้ว แต่ไม่ได้เป็นงานใหญ่ ด้วยใช้งบประมาณจัดงานแต่ละปีอยู่ในราว ๔ – ๕ หมื่นบาท จนเมื่อตนได้เข้ามาเป็นนายกฯ เมื่อราว ๓ – ๔ ปีก่อน จึงริเริ่มจัดงานนวราตรีให้ยิ่งใหญ่ขึ้น มีค่าใช้จ่ายอยู่ร่วมหก - เจ็ดหลัก ซึ่งล้วนแต่ได้รับบริจาคจากพ่อค้าและคหบดีชาวฮินดูเป็นส่วนใหญ่ ปีที่ผ่านๆ มาได้นำเทวรูปที่ปั้นจากอินเดียมาเป็นประธานในงาน แต่ในปีนี้นับเป็นครั้งแรกในดินแดนไทยที่มีการนำช่างฝีมือจากเมืองกัลกัตตา พร้อมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ ไม้ไผ่ ฟาง ดิน ฯลฯ ที่มีน้ำหนักร่วม ๕๐๐ กิโลกรัมมาจากประเทศอินเดียตั้งแต่ราวกลางเดือนกันยายน เพื่อปั้นและประดับตกแต่งเทวรูปพระแม่ทุรคา พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวดี พระคเณศ และพระขันทกุมาร ขึ้นประดิษฐานบนแท่นบูชาในปะรำพิธี โดยมีพระแม่ทุรคาเป็นเทวรูปประธาน



ต่อจากการบูชาพระคเณศ คือพิธีกลัศสถาปนา อัญเชิญเทพเจ้าทั้งปวงมาสถิตตลอดพิธี


พิธีบูชาในแต่ละวันจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๙.๓๐ น. - ๒๑.๓๐ น. ในวันแรกจะเริ่มด้วยพิธีบูชาคณปติ (บูชาพระคเณศ) กลัศสถาปนา อัญเชิญเทพเจ้าต่างๆ มาร่วมงาน มีหม้อกลัศ ตั้งอยู่บริเวณหน้าเทวรูปของเทพทั้ง ๕ พระองค์ไปตลอดงาน ส่วนในวันต่อๆ ไปก็จะบูชาพระแม่ศรีมหาอุมาเทวีในปางต่างๆ ภาคค่ำมีการสวดและร้องเพลงสรรเสริญพระแม่โดยนักร้องจากอุตตรประเทศ ผู้กำลังโด่งดัง และในคืนวันที่ ๗ ตุลาคม จะร้องสวดภชัน (Bhajan) สรรเสริญเทพเจ้าตลอดคืนไปจนฟ้าสาง

วันที่ ๘ ตุลาคม ซึ่งเป็นวันที่เก้าของงาน ตอนสายมีพิธีบูชาไฟ ในศาลาโหมกูณฑ์ ข้างมหามณเฑียร




พิธีบูชาประจำวันตลอดเก้าวันเริ่มตั้งแต่ราวสิบโมงเช้าถึงสามทุ่มครึ่ง ไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา ของผู้มาร่วมงาน

ทุรคาบูชา

ชาวฮินดูเชื่อว่า การบูชาพระแม่ทุรคา –ปางหนึ่งของพระแม่อุมา- อย่างสม่ำเสมอ พระองค์จะประทานพรด้านความกล้าหาญ ชนะศัตรูรอบทิศ รวมถึงดลให้มีบริวารมาก มีความยุติธรรม ตลอดจนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

วันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด เป็นเทศกาลทุรคาบูชา ประเพณีอันเก่าแก่แห่งการนับถือเพศหญิงเป็นใหญ่ ถือเป็นวันบูชาพระอุมาเทวี ในปางทุรคาผู้ได้รับชัยชนะจากการปราบมหิษาสูร เชื่อว่าใครบูชาพระองค์ในวันนี้จะได้ชัยชนะตลอดปี แต่เดิมมาจึงเป็นที่นิยมบูชากันมากในหมู่นักรบและกษัตริย์

ประวัติความเป็นมาของพระแม่ทุรคานั้นมีความพิสดารแตกต่างกัน บางแห่งถึงขนาดมีชื่อเรียกต่างไป คัมภีร์วามนปุราณะกล่าวว่า อสูรตนหนึ่งนามว่า มหิษาสูร มีฤทธิ์มากจนไม่มีเทพยดาองค์ใดปราบลงได้ พระวิษณุจึงขอให้เทพทั้งหลายเปล่งแสงจากความโกรธ จนเกิดร่างนางกาตยานีมีสามเนตร สิบแปดกร มีพลังมหาศาล บรรดาเทพทั้งปวงต่างมอบศาสตราวุธให้เพื่อปราบอสูรร้ายตนนี้ นางกาตยานีทรงขี่สิงห์เข้าต่อสู้ด้วยอาวุธต่างๆ จนปราบมหิษาสูรลงได้สำเร็จ

หลายสถานที่ทุรคาบูชาผนวกรวมหรืออยู่ในช่วงเดียวกับนวราตรี

ในรัฐเบงกอลตะวันตก อันมีกัลกัตตาเป็นเมืองหลวง เทศกาลทุรคาบูชาหรือดูเซร่าจัดขึ้นอย่างคึกคักเป็นประจำทุกปี มีการปั้นเทวรูปพระแม่ทุรคาตกแต่งประดับประดาอย่างงดงามตามจินตนาการขึ้นมา นับหมื่นองค์ พิธีบูชาและภาคฉลองรื่นเริงจัดอย่างยิ่งใหญ่ราวสี่วันสี่คืน ก่อนอัญเชิญพระองค์ไปลอยทะเลส่งเสด็จสู่สวรรค์ในวันสุดท้าย ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นต้นแบบของงานทุรคาบูชาแห่งวัดวิษณุ


ภาคเช้าในวันที่เก้าของงาน พิธีบูชาไฟในศาลาโหมกูณฑ์ มีขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคล

ลอยทะเล : ส่งเสด็จสู่สวรรค์ที่เกาะลอย

หลังจากการบูชาตลอดเทศกาลนวราตรีผ่านพ้น จนเข้าสู่วันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ( ๙ ตุลาคม ๒๕๕๑) วัดวิษณุได้อัญเชิญเทวรูปทั้งหมดขึ้นรถแห่ไปตามท้องถนนจนถึงหน้าวัดแขก สีลม เพื่อให้ศรัทธาวัดทั้งสองได้บูชาร่วมกัน จากนั้นเคลื่อนขบวนต่อไปเพื่อทำพิธีอัญเชิญพระแม่และเทพเจ้าทั้งหลายลอยทะเล กลับสู่สรวงสวรรค์ ณ บริเวณน่านน้ำหน้าเกาะลอย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี


วันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ขบวนอัญเชิญพระแม่เคลื่อนจากวัดวิษณุในตอนสาย แห่ไปยังวัดแขกสีลม
ก่อนเคลื่อนต่อไปยังเกาะลอย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี


ขบวนรถบัสสาม-สี่คันแบ่งแยกชาย-หญิง ติดตามรถแห่เทพเจ้า ต่อด้วยรถยนต์ส่วนตัวอีกจำนวนหนึ่ง จอดลงที่ลานเกาะลอย ในมุมหนึ่งมีผู้ศรัทธาอัญเชิญเทวรูปเทพนารีต่างๆ มาเฝ้ารอต้อนรับ เรือโดยสารข้ามเกาะที่สั่งเตรียมไว้แปรสภาพเป็นศรัทธนาวาบรรทุกเทพเจ้าและ มวลมนุษย์โลกมุ่งหน้าสู่ท้องทะเลกว้างไม่หวั่นสายฝนโปรยปราย

เทวรูปเทพเจ้าผ่านพิธีศักดิ์สิทธิ์มาหลายวันถูกยกลอยลงสู่พื้นน้ำ เบื้องหน้าอย่างปรีดิ์เปรมที่ได้ส่งพระองค์กลับคืนสู่สวรรค์ ดิน ฟาง ไม้ไผ่ที่ประกอบขึ้นเป็นศูนย์รวมศรัทธา คงแปรสภาพย่อยสลายพร้อมเครื่องบูชาทั้งหลายที่ถูกปล่อยลอยไปในไม่ช้า ...สูงสุดคืนสู่สามัญคือหนทางของทุกสรรพสิ่ง หากแต่ช่วงเวลาเดียวกันนี้ในปีนี้ เทพเจ้าผู้เมตตามนุษย์โลกจะเสด็จกลับมาเยือนอีกครั้ง


ศรัทธาชนร่วมส่งพระแม่ทุรคาและเทพเจ้าทั้งปวงกลับคืนสู่สวรรคาลัย ผ่านห้วงสมุทร ณ ที่ซึ่งสรรพสิ่งกลับคืนสู่สามัญ


ขอขอบพระคุณ : วารสารเมืองโบราณ



บทความจาก - อ.ส.ท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ศูนย์รวมโบราณวัตถุ วัฒนธรรมภาคตะวันออก


- หุ่นละครเล็ก ฟื้นฟูชีวิตหุ่นละครเล็ก ณ โรงละครโจหลุยส์

- อรรธนารีศวร ศิลปะชิ้นเยี่ยม
ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี


- พระพิฆเนศทรงช้างเอราวัณ ที่บ้าน ๑๐๐ อัน ๑๐๐๐ อย่าง
ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่


- พระอิศวร มหาเทพนับพันชื่อ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


- โขนชักรอก สมบัติศิลป์ที่เกือบจะสูญสิ้น

บทความจาก - วารสารเมืองโบราณ

- มหาภารตะในอารยธรรมเขมร
และภาพสลักที่ระเบียงคด ปราสาทนครวัด


- สุริยัน จันทรา และราหู ที่ปราสาทพนมรุ้ง
ข้อสังเกตทางโบราณดาราศาสตร์


- ตาควาย - ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ

- มัณฑละเชิงเขาหลวง :
หนึ่งในฐานเศรษฐกิจของรัฐตามพรลิงค์


- ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ กับความเป็นสากล

- บูชาดาวนพเคราะห์ที่ "วัดญวนบางโพ"

- ชุมชนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดทองนาปรัง
ย่านบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี


- วัดวิษณุ - พลิกปูมวัดวิษณุ สมาคมฮินดูธรรมสภา
ศูนย์กลางชุมชนชาวอุตตรประเทศในกรุงเทพมหานคร


- วัดวิษณุ - นวราตรี : ทุรคาบูชา ณ วัดวิษณุ ยานนาวา

- เขายักษ์ - แหล่งภาพสลักพระศิวะกลางป่าตาพระยา

- เทวาลัยไม้สมัยคุปตะที่หิมาจัลประเทศ

- ศาลาแก้วกู่ : มหัศจรรย์สถานแห่งหนองคาย


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.