พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู ประเทศอินเดีย พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ พระแม่อุมาเทวี

เทวาลัยไม้สมัยคุปตะที่หิมาจัลประเทศ

(บทความจาก วารสารเมืองโบราณ)
เรื่อง : เชษฐ์ ติงสัญชลี
เทวาลัยไม้สมัยคุปตะที่หิมาจัลประเทศ

รูปที่ ๑ กลุ่มเทวาลัยจอราสี หรือกลุ่มเทวาลัย ๘๔ หลัง ที่ภรมอร์

ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าสถาปัตยกรรมในศิลปะอินเดียนั้นมีพื้นฐานมาจาก สถาปัตยกรรมไม้ อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศ รวมถึงเหตุการณ์ทางการเมืองและศาสนา จึงทำให้หลักฐานเกี่ยวกับเทวาลัยไม้ในศิลปะอินเดียที่มีอายุอยู่ในสมัยคุปตะ และสมัยกลางสูญหายไปจนเกือบหมดสิ้น เทวาลัยไม้ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันส่วนมากมักจะเป็นศิลปะพื้นบ้านซึ่งสร้าง ขึ้นในรุ่นหลัง

เทวาลัยสลักไม้ที่ภรมอร์ (Bharmaur) และฉัตราริ (Chatrari) จึงเป็นตัวอย่างเทวาลัยไม้ในศิลปะคุปตะเพียงสองแห่งที่ยังคงรักษาไว้ได้ อย่างค่อนข้างสมบูรณ์

เมืองภรมอร์ (Bharmaur) และฉัตราริ (Chatrari) ตั้งอยู่ในหุบเขาจัมพา (Chamba Valley) ของแม่น้ำรวี (Ravi) และสาขา ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐหิมาจัลประเทศ (Himachal Pradesh)

หุบเขาจัมพามีลักษณะแคบและสูงชัน ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองและศาสนาจากภายนอก เข้าถึงที่ตั้งของเทวาลัยดังกล่าวได้ค่อนข้างยาก

และภูมิอากาศก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เทวาลัยไม้ยังคงปรากฏอยู่จนปัจจุบัน

เมืองภรมอร์และฉัตราริ
เมืองภรมอร์มีชื่อเดิมว่าเมืองพรหมปุระ (Brahmapura) เคยเป็นเมืองหลวงโบราณของอาณาจักรในหุบเขาจัมพา ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาอาณาจักรซึ่งกระจายตัวอยู่ในหุบเขาต่างๆ ของรัฐหิมาจัลประเทศ

หลักฐานความเจริญรุ่งเรืองของเมืองพรหมปุระในอดีตนั้น ปรากฏอยู่ ณ กลุ่มเทวาลัยกลางเมือง หรือที่เรียกกันในภาษาฮินดีว่า “กลุ่มเทวาลัยจอราสี” (Chaurasi Temples) หรือกลุ่มเทวาลัย ๘๔ หลัง (รูปที่ ๑) เทวาลัยสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่เทวาลัยมณีมเหศ (Manimahesh) ที่สร้างอุทิศให้กับพระศิวะ เทวาลัยนรสิงห์ อุทิศให้กับนรสิงหาวตาร และเทวาลัยลักษณาเทวี อุทิศให้กับมหิษาสูรมรรทนี (รูปที่ ๒)

รูปที่ ๒ เทวาลัยลักษณาเทวี ภรมอร์ สร้างอุทิศให้แก่ มหิษาสูรมรรทนี

นอกจากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมแล้ว ยังปรากฏประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่จำนวนมาก เช่น ประติมากรรมรูปมหิษาสูรมรรทนี (รูปที่ ๓) โคนนทิ (รูปที่ ๔) และนรสิงหาวตาร เป็นต้น ประติมากรรมสำริดเหล่านี้มีขนาดเกือบเท่าคนจริง ซึ่งแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของเทคนิคการหล่อสำริดในหุบเขาจัมพา

รูปที่ ๓ ประติมากรรมสำริดรูปมหิษาสูรมรรทนีภายในเทวาลัยลักษณาเทวี ภรมอร์
(ที่มา : K.Deva, Temples of India, vol.2,fig.17.)
รูปที่ ๔ ประติมากรรมสำริดรูปโคนนทิ ซึ่งปรากฏจารึกระบุรัชกาลพระเจ้าเมรุวรมัน

ในบรรดาประติมากรรมสำริดเหล่านี้ ทั้งมหิษาสูรมรรทนี (รูปที่ ๓) และโคนนทิ (รูปที่ ๔) ปรากฏจารึกของพระเจ้าเมรุวรมัน ซึ่งมีระยะรัชกาลอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ กล่าวถึงการหล่อประติมากรรมเหล่านี้ รวมถึงการสร้างเทวาลัยอันประกอบด้วยครรภคฤหะและมณฑป และได้กล่าวถึงนายช่างนามคุคคะ

แม้จะไม่ปรากฏจารึกที่ตัวโบราณสถานโดยตรง แต่เนื่องจากเมื่อศึกษาลวดลายประดับของโบราณสถานในกลุ่มเทวาลัยจอราสีแล้ว พบว่ามีเทวาลัยเพียงแห่งเดียวที่มีลวดลายพอจะเทียบเคียงได้กับลวดลายในยุค พุทธศตวรรษที่ ๑๓ นั่นคือเทวาลัยลักษณาเทวี ดังนั้น นักวิชาการโดยส่วนมากจึงเชื่อว่าเทวาลัยแห่งนี้อาจสร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้า เมรุวรมันด้วย

ส่วนฉัตรารินั้นเป็นหมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองภรมอร์และเมืองจัมพา (Chamba) อันเป็นเมืองหลวงใหม่ของอาณาจักร ในหมู่บ้านแห่งนี้ปรากฏเทวาลัยศักติเทวี อันเป็นเทวาลัยไม้ที่มีลวดลายร่วมสมัยกับเทวาลัยลักษณาเทวีที่ภรมอร์ (รูปที่ ๕) ดังนั้น เทวาลัยแห่งนี้จึงได้รับการกำหนดอายุโดยนักวิชาการว่าควรอยู่ในราวรัชกาลพระ เจ้าเมรุวรมันด้วยเช่นกัน ภายในเทวาลัยแห่งนี้ประดิษฐานประติมากรรมสำริดรูปนางปารวตี

รูปที่ ๕ เทวาลัยศักติเทวี ที่ฉัตราริ

ต่อไปนี้ ขอนำเสนอรายละเอียดการศึกษาด้านรูปแบบศิลปกรรมขององค์ประกอบต่างๆ ของเทวาลัยทั้งสองแห่งนี้ โดยแยกเป็นส่วนๆ ดังนี้

แผนผัง
แผนผังของเทวาลัยลักษณาเทวีที่ภรมอร์ และเทวาลัยศักติเทวีที่ฉัตรารินั้น มีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย คือแม้เทวาลัยทั้งสองจะมีครรภคฤหะและทางประทักษิณรอบครรภคฤหะเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เทวาลัยลักษณาเทวีมีมณฑปทางด้านหน้าของครรภคฤหะด้วย (ดูแผนผัง)

อนึ่ง เทวาลัยแห่งแรกนั้นหันหน้าไปทางทิศเหนือ ส่วนเทวาลัยหลังที่สองหันหน้าไปทิศตะวันตก

เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมไม้โดยทั่วไปที่ได้รับการซ่อมแซมอยู่เสมอ เทวาลัยทั้งสองแห่งนี้น่าจะผ่านการบูรณะหลายครั้ง ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจทราบได้ว่าแผนผังดั้งเดิมจะเป็นดังเช่นที่ปรากฏใน ปัจจุบันหรือไม่ ซึ่งถ้าแผนผังดังกล่าวมีเค้าโครงคล้ายแผนผังดั้งเดิมแล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่าเทวาลัยทั้งสองแห่งนี้อยู่ในระยะแรกของการพัฒนาทางเดิน ประทักษิณรอบครรภคฤหะ และการเพิ่มเติมมณฑปขึ้นด้านหน้าครรภคฤหะ

ประตูเทวาลัย
ทั้งที่เทวาลัยลักษณาเทวี (รูปที่ ๖) และเทวาลัยศักติเทวี (รูปที่ ๗) มีประตูทางเข้าเทวาลัยสลักไม้ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง ประตูทั้งสองมีลักษณะร่วมกัน คือประกอบด้วยกรอบซ้อนหลายชั้น หรือ “ทวารศาขา” ตามระบบประตูในศิลปะอินเดีย

รูปที่ ๖ ประตูภายนอกของเทวาลัยลักษณาเทวี ที่ภรมอร์ รูปที่ ๗ ประตูทางเข้าครรภคฤหะของเทวาลัยศักติเทวี ที่ฉัตราริ

ประตูของเทวาลัยลักษณาเทวีนั้น ประกอบศาขาลายพันธุ์พฤกษา (ปัฏฏวลีศาขา) สลับกับศาขารูปบุคคล โดยมีกรอบนอกสุดเป็นศาขาลายพันธุ์พฤกษาที่นูนออกมาเป็นรูปครึ่งวงกลม (วนมาลาศาขา) ส่วนประตูของเทวาลัยศักติเทวีนั้น มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับประตูเทวาลัยลักษณาเทวี กล่าวคือ จัดกรอบซ้อนสลับกันระหว่างศาขาลายพันธุ์พฤกษากับศาขารูปบุคคล อย่างไรก็ตาม ปรากฏวนมาลาศาขาถึงสองแห่งในประตูที่ฉัตราริ คือที่ศาขาลายพันธุ์พฤกษากรอบกลางและศาขาลายพันธุ์พฤกษากรอบนอก

การจัดองค์ประกอบของทวารศาขาโดยใช้ศาขารูปบุคคลสลับกับศาขาลายพันธุ์พฤกษา นั้น เป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอตั้งแต่ในศิลปะสมัยราชวงศ์คุปตะจนถึงสมัยราชวงศ์ปรา ตีหารตอนต้น เช่น ประตูของเทวาลัยเทวคฤหะในรัฐมัธยประเทศ ศิลปะคุปตะ (รูปที่ ๘) และประตูของเทวาลัยเตลิกามณเฑียร เมืองควาลิเออร์ รัฐมัธยประเทศ ศิลปะปราตีหารตอนต้น (รูปที่ ๙)

รูปที่ ๘ ประตูของเทวาลัยเทวคฤหะ ศิลปะสมัยราชวงศ์คุปตะ
(ที่มา : K.Deva, Temples of India, vol.2,fig.17.)
รูปที่ ๙ ประตูเทวาลัยเตลิกามณเฑียร ศิลปะสมัยราชวงศ์ปราตีหารตอนต้น

ลักษณะเหล่านี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับประตูของบรรดาเทวาลัยในเมืองขชุรโห ศิลปะสมัยราชวงศ์จันเทลละ อันสร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ ลงมา (รูปที่ ๑๐)

รูปที่ ๑๐ ประตูเทวาลัยที่เมืองขชุรโห ศิลปะสมัยราชวงศ์จันเทลละ

ดังนั้น เทวาลัยแห่งนี้จึงไม่ควรสร้างขึ้นภายหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๑๕

อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏศาขารูปเสา (สตัมภศาขา) ทั้งที่เทวาลัยลักษณาเทวีและเทวาลัยศักติเทวี แตกต่างไปจากศิลปะสมัยราชวงศ์คุปตะจนถึงศิลปะสมัยราชวงศ์ปราตีหารตอนต้นใน อินเดียภาคกลาง ซึ่งมักปรากฏสตัมภศาขารองรับหลังคาลาด (กโปตะ) เสมอ

ประเด็นที่น่าสังเกตก็คือ กรอบนอกสุดของประตูทั้งที่เทวาลัยลักษณาเทวีและเทวาลัยศักติเทวีนั้น มีลักษณะการจัดวางคล้ายรูปตัวที (T) ในภาษาอังกฤษ (รูปที่ ๑๑) ประเด็นนี้ก็สามารถเชื่อมโยงได้กับส่วนเดียวกันของประตูเทวาลัยเทวคฤหะ และประตูของเทวาลัยเตลิกามณเฑียร โดยส่วนที่ยื่นออกไปของประตูเทวาลัยเทวคฤหะนั้นมีประติมากรรมรูปพระคงคาและ ยมุนาประดิษฐานอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอในศิลปะคุปตะ ต่อมารูปพระคงคาและยมุนาได้เลื่อนลงมาอยู่ด้านล่าง ดังปรากฏที่เทวาลัยเตลิกามณเฑียร (รูปที่ ๑๐) ทำให้การจัดวางกรอบรูปตัวทีนั้นไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ส่วนที่ยื่นออกไปของกรอบรูปตัวทีที่ประตูของเทวาลัยเตลิกามณเฑียรจึงมี พื้นที่เล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนเดียวกันของเทวาลัยเทวคฤหะ เป็นส่วนยื่นที่ไม่สามารถจะบรรจุประติมากรรมใดๆ ลงไปได้อีกต่อไป

รูปที่ ๑๑ ส่วนยื่นของกรอบรูปตัวที เทวาลัยศักติเทวี ฉัตราริ ประดับด้วยรูปวยาล

กรอบรูปตัวทีนี้ ต่อมาจะสูญหายไปอย่างสิ้นเชิงในศิลปะสมัยราชวงศ์จันเทลละที่เมืองขชุรโห (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖) (รูปที่ ๑๐)

การที่ส่วนยื่นของกรอบรูปตัวทีของเทวาลัยลักษณาเทวีและเทวาลัยศักติเทวียัง คงมีพื้นที่ขนาดใหญ่ อันเทียบได้กับประตูเทวาลัยเทวคฤหะ ในขณะเดียวกัน รูปพระคงคาและยมุนาได้เลื่อนลงมาอยู่ด้านล่างแล้ว (รูปที่ ๑๒) ตามแบบประตูของเทวาลัยเตลิกามณเฑียร ทำให้อาจกำหนดอายุเทวาลัยแห่งนี้ได้ว่า ควรมีอายุระหว่างเทวาลัยเทวคฤหะ ศิลปะคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๑) และเทวาลัยเตลิกามณเฑียร ศิลปะปราตีหารตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔)

รูปที่ ๑๒ พระคงคา (?) ที่ด้านล่างกรอบประตูเทวาลัยศักติเทวีที่ฉัตราริ

ทั้งหมดนี้ จึงอาจเป็นไปได้ที่เทวาลัยดังกล่าวนี้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าเมรุวรมัน อันมีระยะรัชกาลอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓

น่าสังเกตว่า เนื่องจากได้มีการย้ายตำแหน่งของพระคงคาและยมุนาลงไปไว้ด้านล่างของประตู แล้ว ดังนั้น พื้นที่ว่างของส่วนยื่นของกรอบรูปตัวทีที่เทวาลัยลักษณาเทวีและเทวาลัยศักติ เทวีจึงสลักภาพวยาล (สิงห์มีปีกและมีเขาแพะ) บรรจุลงไปภายในแทน (รูปที่ ๑๑)

ลวดลายประดับก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเมื่อพิจารณาลวดลายพันธุ์พฤกษาของปัฏฏวลีศาขาของประตูเทวาลัยทั้งสองแห่ง แล้ว พบว่ามีลักษณะเป็นกนกผักกูด อันประกอบด้วยกนกม้วนโค้งคล้ายเลข ๑ ไทย ที่ขอบกนกด้านหนึ่งปรากฏกนกรูปม้วนโค้งคล้ายรูปเลขหนึ่งไทยตัวเล็กๆ จำนวนมากประดับอยู่ (รูปที่ ๑๓) ลักษณะทั้งหมดนี้ อาจเปรียบเทียบได้กับลวดลายกนกผักกูดในศิลปะคุปตะจนถึงศิลปะปราตีหารตอนต้น โดยทั่วไป

รูปที่ ๑๓ กนกผักกูดที่ปัฏฏวลีศาขา ประตูเทวาลัยลักษณาเทวี ภรมอร์

ที่ศาขา รูปบุคคลของประตูทั้งสองแห่งนี้ประกอบไปด้วยเทพเจ้าจำนวนมาก เช่น พระอินทร์ พระศิวะ (รูปที่ ๑๔) มหิษาสูรมรรทนี เป็นต้น น่าสังเกตว่า ประติมากรรมทั้งหมดที่ประดับอยู่ ณ กรอบประตูของเทวาลัยทั้งสองแห่งนี้สวมเทริดขนนกซึ่งปรากฏเฉพาะแผ่นสาม เหลี่ยมขนาดใหญ่สามแผ่นหน้า (รูปที่ ๑๒, ๑๔)

เทริดขนนกแบบนี้เป็นที่นิยมในศิลปะกัศมีร์ ในสมัยราชวงศ์การโกตะและอุตปาละ

อนึ่ง การที่พระศิวะ (รูปที่ ๑๔) ทรงผ้านุ่งสั้นข้างหนึ่งยาวข้างหนึ่งนั้น ยังทำให้นึกถึงประติมากรรมหลายชิ้นในศิลปะกัศมีร์อีกด้วย

รูปที่ ๑๔ พระศิวะ ประตูเทวาลัยศักติเทวีที่ฉัตราริ

ลวดลายประดับที่น่าสนใจนั้นรวมถึงลายพวงมาลัยพวงอุบะที่ปรากฏบุคคลอยู่ภายใน (รูปที่ ๑๕) และลายวิทยาธรเชิญมกุฎ ซึ่งประดับอยู่บริเวณคานทับหลังของประตูเทวาลัยลักษณาเทวี โดยที่ลวดลายแบบหลังนี้นิยมในศิลปะคุปตะเป็นอย่างยิ่ง ดังปรากฏที่เทวาลัยเทวคฤหะ รวมถึงเทวาลัยภายในรัฐหิมาจัลประเทศเองซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ ด้วย เช่นเทวาลัยมัสรูร (Masrur) ในหุบเขากางครา (รูปที่ ๑๖)

รูปที่ ๑๕ ลายพวงมาลัยพวงอุบะที่ปรากฏรูปบุคคลอยู่ภายใน (ด้านล่าง) และลายวิทยาธรเชิญมกุฎ (ด้านบน) ที่คานทับหลังของประตูเทวาลัยลักษณาเทวี ภรมอร์ รูปที่ ๑๖ ลายวิทยาธรเชิญมกุฎ ที่คานทับหลังของประตู (?) เทวาลัยมัสรูร หุบเขากางครา

หน้าบัน
หน้าบันทรงหน้าจั่วรูปสามเหลี่ยมนั้น ยังคงปรากฏอยู่ที่ด้านหน้าของเทวาลัยลักษณาเทวี (รูปที่ ๑๗) ในตำแหน่งด้านบนของประตูเทวาลัย หน้าบันนี้มีลักษณะโดยรวมคือเป็นวงโค้งสามวง บรรจุอยู่ในกรอบสามเหลี่ยม รองรับด้วยแถวของลายซุ้มขนาดเล็กที่รองรับด้วยเสา เรียงกันเป็นแนวยาว ประติมากรรมภายในหน้าบันประธานนั้น ได้รับการตีความแล้วว่าเป็นพระไวกูณฐวิษณุทรงครุฑ ส่วนประติมากรรมภายในแถวซุ้มขนาดเล็กนั้น ได้แก่คนแคระในแถวบนและภาพเมถุนในแถวล่าง

รูปที่ ๑๗ หน้าบันของเทวาลัยลักษณาเทวี ภรมอร์

การที่หน้าบันประกอบไปด้วยวงโค้งสามวงบรรจุอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมนั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอิทธิพลศิลปะกัศมีร์ในเทวาลัยแห่งนี้ เนื่องจากหน้าบันแบบดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะกัศมีร์ โดยปรากฏเสมอในทั้งในหน้าบันจริงของเทวาลัยหรือหน้าบันของซุ้มจระนำ ตัวอย่างของหน้าบันแบบกัศมีร์ เช่น เทวาลัยปาณเฑรถัน (Pandrathan) เมืองศรีนคร รัฐกัศมีร์ (รูปที่ ๑๘)

รูปที่ ๑๘ เทวาลัยปาณเฑรถัน เมืองศรีนคร ศิลปะกัศมีร์ ซึ่งปรากฏวงโค้งสามวงบรรจุในหน้าจั่วสามเหลี่ยม
(ที่มา : D.Mitra,Pandrethan Avantipur&Martand,pl.III.)

ส่วนลวดลายด้านล่างที่มีลักษณะเป็นแถวของลายซุ้มขนาดเล็กที่รองรับด้วยเสา เรียงกันเป็นแนวยาวนั้นทำให้นึกถึงลวดลายประดับแบบเดียวกันซึ่งเป็นที่นิยม ในศิลปะคันธาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณฐานสถูป (รูปที่ ๑๙)

รูปที่ ๑๙ แถวของลายซุ้มขนาดเล็กที่รองรับด้วยเสา เรียงกันเป็นแนวยาว ในสถูปที่พิพิธภัณฑ์เมืองจัณฑีคัฒ

เสาและเพดาน
นอกจากประตูและหน้าบันด้านหน้าเทวาลัยแล้ว ภายในเทวาลัยทั้งสองแห่งก็ปรากฏลวดลายสลักไม้สมัยคุปตะที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเสาและเพดาน

เสาของเทวาลัยทั้งสองนี้ (รูปที่ ๒๐) มีลักษณะที่อาจเปรียบเทียบได้กับศิลปะปราตีหารตอนต้นในอินเดียภาคกลางและภาค ตะวันตกโดยทั่วไป กล่าวคือประกอบด้วยต้นเสาสี่เหลี่ยมสูงขึ้นมาเกินครึ่งหนึ่งของเสา ถัดมาเสาอยู่ในผังกลม ประกอบด้วยดอกกลม ลายพวงมาลัย ลายอมลกะ หัวเสารูปปูรณฆฏะ และเท้าแขน รูปแบบการจัดลำดับวงแหวนของเสาดังกล่าวคล้ายคลึงกับเสาของเทวาลัยที่เมืองโอ เสียน รัฐราชสถาน ศิลปะปราตีหารตอนต้น เช่น เสาของเทวาลัยปีปลเทวี (รูปที่ ๒๑)

รูปที่ ๒๐ เสาของเทวาลัยลักษณาเทวี ภรมอร์ รูปที่ ๒๑ เสาของเทวาลัยปิปลเทวี เมืองโอเสียน รัฐราชสถาน ศิลปะสมัยราชวงศ์ปราตีหารตอนต้น

ในส่วนของเพดาน เพดานของเทวาลัยทั้งที่ภรมอร์ (รูปที่ ๒๒) และฉัตราริล้วนมีลักษณะที่เรียกกันในการศึกษาสถาปัตยกรรมอินเดียว่าเพดานแบบ Lantern เพดานแบบนี้ประกอบด้วยกรอบสี่เหลี่ยมหลายกรอบซ้อนกัน โดยที่กรอบสี่เหลี่ยมด้านในสุดถูกล้อมรอบด้วยกรอบสี่เหลี่ยมด้านนอกที่จัด วางอยู่ในลักษณะตะแคง

รูปที่ ๒๒ เพดานของเทวาลัยลักษณาเทวี ภรมอร์

ระบบการออกแบบเพดานดังกล่าวนี้ปรากฏมาก่อนแล้วในศิลปะเฮเลนิสติคในเอเชีย ตะวันตก เช่น เพดานสุสานของมายลาซา (The Mausoleum of Mylasa) ในประเทศตุรกี (รูปที่ ๒๓) ต่อมา ได้ปรากฏแพร่หลายในศิลปะอินเดียภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศิลปะกัศมีร์ เช่นเพดานของเทวาลัยปาณเฑรถัน เมืองศรีนคร (รูปที่ ๒๔)

รูปที่ ๒๓ เพดานสุสานของมายลาซา (The Mausoleum of Mylasa) ประเทศตุรกี ศิลปะเฮเลนิสติค
(ที่มา : H.Stierlin, Hindu India: From Khajuraho to the Temple City of Madurai,p.73.)
รูปที่ ๒๔ เพดานเทวาลัยปาณเฑรถัน เมืองศรีนคร ศิลปะกัศมีร์
(ที่มา : D.Mitra,Pandrethan Avantipur&Martand, pl.IV B.)

การปรากฏเพดานดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงการส่งผ่านอิทธิพลศิลปกรรมจากศิลปะเฮเลนิสติคมาสู่ศิลปะกัศมีร์และศิลปะในแถบเทือกเขาหิมาลัย

ทั้งนี้ น่าเชื่อว่ากระบวนการดังกล่าวคงเกิดขึ้นโดยผ่านศิลปะคันธาระ

โดยสรุปแล้ว เทวาลัยลักษณเทวีที่ภรมอร์ และเทวาลัยศักติเทวีที่ฉัตราริเป็นสถาปัตยกรรมไม้ในศิลปะคุปตะและหลังคุปตะ ระยะแรกที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในด้านการศึกษาสถาปัตยกรรมไม้ในสมัยคุปตะซึ่งได้สูญหายไปหมดแล้วใน ส่วนอื่นๆ ของประเทศอินเดีย

นอกจากนี้ การศึกษาเทวาลัยทั้งสองยังอาจมีประโยชน์ในการเพิ่มความกระจ่างขึ้นบ้าง เกี่ยวกับเค้าโครงของสถาปัตยกรรมไม้ในศิลปะทวารวดีอันเป็นศิลปะร่วมสมัยที่ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะคุปตะ

บรรณานุกรม
Deva, K. Temples of India .New Delhi: Aryans Books International,1995.
Huntington, S.L. The Art of Ancient India.New York: Whether Hill,1999.
Mitra, D. Pandrethan Avantipur&Martand.New Delhi: Archaeological Survey of India,1993.
Stierlin, H. Hindu India: From Khajuraho to the Temple City of Madurai.Italy:Taschan,1998.
Thakur, L.S. The Architectural Heritage of Himachal Pradesh: Origin and Development of Temple Styles.New Delhi: Munshiram Manoharlal Publisher,1996.


แผนผัง
แผนผังของเทวาลัยลักษณาเทวี ที่ภรมอร์ (ซ้าย) และ เทวาลัยศักติเทวี ที่ฉัตราริ (ขวา)
(ที่มา : L.S.Thakur, The Architectural Heritage of Himachal Pradesh: Origin and Development of Temple Styles,p.89,92.)


ขอขอบพระคุณ : วารสารเมืองโบราณ



บทความจาก - อ.ส.ท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ศูนย์รวมโบราณวัตถุ วัฒนธรรมภาคตะวันออก


- หุ่นละครเล็ก ฟื้นฟูชีวิตหุ่นละครเล็ก ณ โรงละครโจหลุยส์

- อรรธนารีศวร ศิลปะชิ้นเยี่ยม
ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี


- พระพิฆเนศทรงช้างเอราวัณ ที่บ้าน ๑๐๐ อัน ๑๐๐๐ อย่าง
ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่


- พระอิศวร มหาเทพนับพันชื่อ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


- โขนชักรอก สมบัติศิลป์ที่เกือบจะสูญสิ้น

บทความจาก - วารสารเมืองโบราณ

- มหาภารตะในอารยธรรมเขมร
และภาพสลักที่ระเบียงคด ปราสาทนครวัด


- สุริยัน จันทรา และราหู ที่ปราสาทพนมรุ้ง
ข้อสังเกตทางโบราณดาราศาสตร์


- ตาควาย - ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ

- มัณฑละเชิงเขาหลวง :
หนึ่งในฐานเศรษฐกิจของรัฐตามพรลิงค์


- ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ กับความเป็นสากล

- บูชาดาวนพเคราะห์ที่ "วัดญวนบางโพ"

- ชุมชนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดทองนาปรัง
ย่านบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี


- วัดวิษณุ - พลิกปูมวัดวิษณุ สมาคมฮินดูธรรมสภา
ศูนย์กลางชุมชนชาวอุตตรประเทศในกรุงเทพมหานคร


- วัดวิษณุ - นวราตรี : ทุรคาบูชา ณ วัดวิษณุ ยานนาวา

- เขายักษ์ - แหล่งภาพสลักพระศิวะกลางป่าตาพระยา

- เทวาลัยไม้สมัยคุปตะที่หิมาจัลประเทศ

- ศาลาแก้วกู่ : มหัศจรรย์สถานแห่งหนองคาย


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.